กำเนิดพิพิธภัณฑสถาน?
การนำข้าวของมีค่ามาเก็บรวบรวมไว้และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมในลักษณะ ldquo พิพิธภัณฑ์ rdquo เกิดขึ้นมานานแล้วหรือยัง และอยากให้ตอบด้วยว่า พิพิธภัณฑสถานของไทยก่อตั้งมากี่ปีแล้ว ไม่ลงชื่อ จ บุรีรัมย์
การนำข้าวของมีค่ามาเก็บรวบรวมไว้และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมในลักษณะ ldquo พิพิธภัณฑ์ rdquo เกิดขึ้นมานานแล้วหรือยัง และอยากให้ตอบด้วยว่า พิพิธภัณฑสถานของไทยก่อตั้งมากี่ปีแล้ว ไม่ลงชื่อ จ บุรีรัมย์
พิพิธภัณฑสถานเป็นสถาบันถาวรที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ เพื่อการศึกษา ค้นคว้า และเพื่อประเทืองปัญญา และอารมณ์ คำ museum มาจากคำว่า mousion ในภาษากรีก ซึ่งใช้เรียกสถานบูชากลุ่มเทพธิดามิวส์ Muses ซึ่งเป็นที่สะสมผลงานศิลปะด้วย ต่อมาได้นำมาใช้เรียกสถานที่ศึกษาวรรณกรรมและศิลปศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานที่มีชื่อเสียงมากในยุคโบราณได้แก่สถาบันวรรณกรรมแห่งเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ซึ่งพระเจ้าปโตเลมีที่ ๒ ทรงก่อตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๒ ต่อมา เมื่อเกิดความนิยมสะสมงานศิลปกรรม โดยเฉพาะผลงานชิ้นเยี่ยมในอดีต คำ museum จึงได้นำมาใช้เรียกสถานสะสมผลงานศิลปะ ทั้งที่เป็นจิตรกรรม ประติมากรรม อัญมณีเหรียญ พระคัมภีร์ อักษรจารึก ฯลฯ ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้ใช้สถานที่เช่นนี้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของเหล่าบัณฑิต และเหล่าเจ้าครองนครรัฐต่าง ๆ ครั้นเมื่อเกิดการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสเมื่อ พ ศ ๒๓๓๖ อุดมการณ์ทางลัทธิประชาธิปไตยได้มีบทบาทเปลี่ยนแปลงสภาพ สังคม พิพิธภัณฑสถานซึ่งเคยเป็นสถานสะสมผลงานศิลปกรรมของชนชั้นสูง ก็ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายเป็นเพื่อสาธารณชน เช่น ในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้เปิดพิพิธภัณฑสถานลูฟร์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม การเปลี่ยนพิพิธภัณฑสถานที่เคยเป็นสถานสะสมศิลปวัตถุของชนชั้นสูง มาเป็นของสาธารณชนนั้น ได้เกิดขึ้นทั่วไปในทวีปยุโรป และกลายเป็นแบบอย่างแก่การก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานทั่วโลกด้วย สำหรับประเทศไทย ความคิดเรื่องการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บข้าวของที่ทรงรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นที่หอคองคอเดียหรือศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ อัครราชทูต กงสุลต่างประเทศ เข้าชมพิพิธภัณฑ์เป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ ๑๙ กันยายน พ ศ ๒๔๑๗ วันที่ ๑๙ กันยายนของทุกปีถือเป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย ถึงปี พ ศ ๒๔๓๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑ์ไปที่พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ในสมัยรัชกาลที่ ๗ มีการปรับปรุงรวบรวมสิ่งของ จัดตั้งเป็น quot พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร quot จัดระบบบริหารงานแบบยุโรป แบ่งงานรับผิดชอบเป็นแผนกต่าง ๆ มีภัณฑารักษ์และผู้ช่วยรับผิดชอบ มีการจ้างฝรั่งมาเป็นที่ปรึกษาดำเนินการด้วย แม้พิพิธภัณฑสถานของไทยจะมีอายุร้อยกว่าปีแล้ว แต่ก็ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรในแง่การจัดแสดง ประชาชนคนไทยจึงไม่ค่อยนึกอยากไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์กันเท่าไร “ ซองคำถาม ” อ่านหนังสือพบว่า ครั้งหนึ่งเคยมีการเชิญครูเข้ารับการอบรมเรื่องพิพิธภัณฑ์ มุ่งหมายให้ครูไปชักนำให้ลูกศิษย์ลูกหาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ปรากฏว่ามีครูส่วนหนึ่งอยู่อบรมไม่จบรายการ แต่ “ โดด ” หนีหายไปในตอนบ่ายหรือว่าพิพิธภัณฑสถานของไทยน่าเบื่อเสียจริง ๆ ก็ไม่รู้ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!