ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

อัยการเป็นใคร?, อัยการเป็นใคร? หมายถึง, อัยการเป็นใคร? คือ, อัยการเป็นใคร? ความหมาย, อัยการเป็นใคร? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 3
คำถาม

อัยการเป็นใคร?

nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp จากข่าวคราวเรื่องอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องคดี สปก ทำให้อยากรู้ว่าอัยการมีบทบาทหน้าที่อะไร nbsp ความจริงเรื่องนี้สงสัยมานานแล้ว อิสรา ภู่หนู กรุงเทพฯ

คำตอบ

                  องค์กรต่าง   ๆ   ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทนายความ ผู้พิพากษาหรือราชทัณฑ์ประชาชนส่วนมากจะรู้จัก ทั้งยังเข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ของบุคคลเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องเป็นส่วนมาก แต่เมื่อเอ่ยถึง “ อัยการ quot   ส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าเป็นข้าราชการสังกัดกรมไหน   กระทรวงไหนโดยเฉพาะเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของอัยการ   มีบุคคลเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะรู้และเข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ได้อย่างถูกต้องแท้จริง   ทั้งที่กรมอัยการได้ก่อตั้งมานาน ๑๐๐ ปีเศษแล้ว ประชาชนส่วนมากมักจะรู้เพียงว่า   อัยการมีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาในคดีอาญาเท่านั้น โดยมักพูดกันอยู่เสมอว่า “ อัยการมีหน้าที่เอาคนเข้าคุก quot   อันหมายถึง ลงโทษจำคุกจำเลย   ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีกฎหมายฉบับใดที่จะให้อำนาจอัยการเอาคนเข้าคุก   การที่จำเลยคนใดจะถูกลงโทษจำคุกหรือไม่   ต้องเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น                   อำนาจหน้าที่ของอัยการ นอกจากฟ้องผู้ต้องหาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว อัยการยังมีหน้าที่คุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินในฐานะทนายแผ่นดิน และยังคุ้มครองเอื้ออำนวยผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนและสังคมตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น ๆ อีกมากมายหลายประการ                 อำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญา เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการอันถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมอย่างหนึ่ง เพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมและถือเป็นงานหลักของอัยการที่ได้มีการปฏิบัติกันมากที่สุดเป็นประจำวัน   ซึ่งได้แก่การตรวจวินิจฉัยสำนวนการสอบสวน   และการดำเนินคดีในศาล   ซึ่งอำนาจหน้าที่ของอัยการจะเริ่มต้นตั้งแต่ได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน   โดยสำนวนดังกล่าวอัยการไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องมาก่อนเลย เป็นสำนวนที่พนักงานสอบสวนเป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นทั้งสำนวน   กล่าวคือ   เมื่อมีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น หน้าที่เริ่มแรกเป็นของพนักงานสอบสวน ที่จะต้องสอบสวนสืบสวนถึงข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ ในคดีนั้น   รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้รู้ตัวว่าใครเป็นผู้กระทำผิด และติดตามจับกุมผู้กระทำผิด   เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วพนักงานสอบสวนก็จะสรุปสำนวน   ทำความเห็น   ถ้าเป็นกรณีไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กระทำผิด   พนักงานสอบสวนก็จะเห็นควรให้งดการสอบสวน   ถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิด   พนักงานสอบสวนจะเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา แล้วส่งสำนวนการสอบสวนไปให้อัยการ                   เมื่ออัยการได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนแล้ว อัยการมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจวินิจฉัยสำนวนการสอบสวน แล้วทำความเห็นสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้                   ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวน หรือให้สอบสวนต่อไปก็ได้                   ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่รู้ตัวว่าใครเป็นผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะจับผู้ต้องหาได้หรือไม่ และพนักงานสอบสวนจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องก็ตาม อัยการมีอำนาจที่จะสั่งสำนวนได้ดังนี้ ก   ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนยังไม่ชัดแจ้ง อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม หรือให้ส่งพยานมาพบอัยการเพื่อซักถามก็ได้ ข   ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานในสำนวนไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะรับฟังว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำผิด หรือการกระทำของผู้ต้องหาไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย หรือคดีขาดอายุความเป็นต้น อัยการก็มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ค   ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนรับฟังได้ว่า   ผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำผิด อัยการก็มีอำนาจสั่งฟ้องผู้ต้องหา โดยอัยการจะทำคำฟ้องแล้วยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล หลังจากฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลแล้ว ผู้ต้องหาจะถูกเรียกเป็นจำเลย   ถ้าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด หรือจำเลยรับสารภาพ แต่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไปอัยการต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยต่อศาล   ถ้าในระหว่างสืบพยานก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี   ถ้าปรากฏพยานหลักฐานใหม่แน่ชัดว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด อัยการมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอถอนฟ้องคดีนั้นได้   เมื่อศาลได้พิพากษาคดีอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว   อัยการมีอำนาจที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไป เว้นแต่กรณีกฎหมายห้ามมิให้อุทธรณ์หรือฎีกา หรือไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกาก็ได้ หรืออุทธรณ์ ฎีกา แล้วร้องขอถอนอุทธรณ์หรือถอนฎีกาก็ได้ ง   ถ้าอัยการพิจารณาสำนวนแล้วเห็นว่า คดีนั้นเป็นความผิดซึ่งอาจเปรียบเทียบได้   เช่น   ความผิดลหุโทษ   อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบคดีนั้น   หรือจะสั่งให้พนักงานสอบสวนอื่นที่มีอำนาจจัดการเปรียบเทียบให้ก็ได้                   นอกจากจะมีอำนาจในการวินิจฉัยสั่งสำนวน   และดำเนินคดีในศาลดังกล่าวแล้ว อัยการยังมีอำนาจหน้าที่อย่างอื่นอีก เช่น   เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย หรือถูกจำคุกผิดจากคำพิพากษาของศาล อัยการมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยผู้นั้นได้ หรือกรณีบุคคลตายโดยผิดธรรมชาติหรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน   อัยการมีหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ไต่สวนได้                   นอกจากนี้อัยการยังมีอำนาจหน้าที่อื่นๆ อีก สนใจหาอ่านได้จากหนังสือ   “ รวมกฎหมายที่ประชาชนควรรู้ quot   โดย สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน กรมอัยการ   “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

อัยการเป็นใคร, อัยการเป็นใคร หมายถึง, อัยการเป็นใคร คือ, อัยการเป็นใคร ความหมาย, อัยการเป็นใคร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu