ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หลังการจัดฟัน?, หลังการจัดฟัน? หมายถึง, หลังการจัดฟัน? คือ, หลังการจัดฟัน? ความหมาย, หลังการจัดฟัน? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

หลังการจัดฟัน?

 หลังการจัดฟัน หรือระหว่างการจัดฟัน จะมีปัญหาหรือโรคแทรกซ้อนอะไรบ้างค่ะ

คำตอบ

            การรักษาต่าง ๆ ไม่ว่าในทางการแพทย์หรือทางทันตกรรม ย่อมมีปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นก่อนตัดสินใจรับการรักษาผู้ป่วย จึงควรรับทราบและพิจารณาผลเสียต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นดังต่อไปนี้             1 การเกิดฟันผุ โรคเหงือก และการเกิดจุดด่างขาว decalcification บนผิวเคลือบฟัน ผลเหล่านี้จะเกิดในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มี น้ำตาลมากเกินไป และ หรือไม่ทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธีและอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปัญหานี้ก็เกิดขึ้นได้ตามปกติแม้จะไม่ได้รับการจัดฟัน แต่การจัดฟันก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้มากขึ้น             2 ในผู้ป่วยบางราย อาจทำให้ความยาวของรากฟันลดลงในขณะที่จัดฟัน ซึ่งโอกาสที่จะเกิดนั้นมีไม่เท่ากันในแต่ละราย ส่วนใหญ่มักเกิดอย่าง ไม่มีนัยสำคัญ และจะไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการ บดเคี้ยวอาหาร             3 การเคลื่อนฟัน อาจมีผลต่อสุขภาพของกระดูกและเหงือกที่รองรับฟันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีรอยโรคเดิมอยู่แล้ว ในผู้ป่วยที่มีการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ การจัดฟันจะช่วยลดการสูญเสียฟัน หรือการเกิดเหงือกอักเสบได้ ส่วนการเกิดเหงือกอักเสบหรือการเกิดการละลายตัวของกระดูกเบ้าฟัน จะเกิดได้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำ ความสะอาดฟันเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ออกจากฟันได้หมด               4 ภายหลังการจัดฟันเสร็จแล้ว ฟันอาจมีการเคลื่อนไปจากตำแหน่งที่จัดไว้ได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้เล็กน้อย และเราสามารถลดการเกิดกรณีดัง กล่าวได้ โดยการใส่เครื่องมือคงสภาพฟันอย่างสม่ำเสมอและเป็นเวลานานเพียงพอ โดยปกติฟันสามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปในลักษณะที่ ไม่ต้องการได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขึ้นของฟันคุด การเจริญเติบโต และ หรือการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ การหายใจทางปาก การ เล่นเครื่องดนตรีบางชนิด และนิสัยผิดปกติบางอย่างในช่องปาก ซึ่งปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยที่ทันตแพทย์ไม่สามารถควบคุมได้             5 ในบางกรณี อาจมีปัญหาเกิดขึ้นที่ข้อต่อขากรรไกร อันมีผลให้เกิดการปวดที่ข้อต่อดังกล่าว ปวดศีรษะ หรือภายในหู ซึ่งปัญหานี้อาจจะเกิด ขึ้นได้แม้จะไม่ได้รับการจัดฟัน ดังนั้น ถ้าเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น ผู้ป่วยควรจะรีบแจ้งให้กับทันตแพทย์ทราบ             6 ในบางกรณี สำหรับฟันซี่ที่เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อน หรือเคยผุลึกมาก ๆ การเคลื่อนฟันอาจมีผลต่อเส้นประสาทที่มาหล่อเลี้ยงฟัน ทำให้มี อาการมากขึ้นจนต้องทำการรักษาคลองรากฟัน             7 ในบางกรณี เครื่องมือจัดฟันอาจหลุด และคนไข้อาจกลืนลงไปด้วยความบังเอิญ ซึ่งจะออกจากร่างกายโดยการขับถ่าย นอกจากนี้เครื่องมือ จัดฟันอาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรือเกิดแผลบริเวณเหงือก แก้ม และริมฝีปากได้ ปกติแล้ว ภายหลังจากการพบทันตแพทย์เพื่อทำการปรับ เครื่องมือในแต่ละครั้ง มักจะทำให้เกิดอาการตึงหรือปวดฟันบ้าง โดยที่ช่วงเวลาและระดับความรู้สึกดังกล่าวจะไม่เท่ากันในแต่ละราย โดยทั่ว ไป ความรู้สึกปวดหรือตึงฟันมักจะค่อย ๆ ลดลงไปภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังจากการปรับเครื่องมือ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ หรือมีเครื่องมือหัก หลุดเกิดขึ้น ผู้ป่วยควรจะแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบโดยเร็วเพื่อแก้ไข หรือป้องกันมิให้เครื่องมือที่หลวมหลุดเข้าคอ             8 ในบางกรณี ซึ่งเกิดขึ้นน้อยราย การใช้เครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟัน อาจทำให้เกิดแผลในช่องปาก หรือเกิดการกระทบกระแทกต่อฟันได้ บ้าง ส่วนการสึกของฟันที่ผิดปกติอาจเกิดขึ้นเองได้ ถ้าผู้ป่วยมีการบดเคี้ยวที่รุนแรงกว่าปกติ               9 การใช้เครื่องมือจัดฟันชนิดนอกช่องปาก เช่น headgear เป็นต้น อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อใบหน้า หรือตาจนถึงขั้นตาบอดได้ถ้าใช้โดยขาด ความระมัดระวัง เช่นการที่ผู้ป่วยใส่เครื่องมือนอกช่องปากนั้นใน ขณะเล่นกีฬาที่เป็นการแข่งขัน จึงห้ามไม่ให้ใส่ในขณะเล่นกีฬาดังกล่าว เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ แม้เครื่องมือจะมีระบบความปลอดภัยไว้แล้วก็ตาม             10 โดยมากการจัดฟันเพื่อแก้ไขการมีฟันซ้อนเก มักจะต้องมีการถอนฟันบางซี่ หรือในการแก้ไขการไม่สมดุลของโครงสร้างขากรรไกรบนและ ล่าง อาจต้องอาศัยการผ่าตัดร่วมด้วย ผู้ป่วยจึงควรสอบถามถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับการบำบัดรักษาดังกล่าวจากทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาก่อนการตัดสินใจ             11 รูปร่างของฟันที่ผิดปกติ หรือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของขากรรไกร อาจจะทำให้ผลการรักษาที่ได้รับถูกจำกัดมากขึ้น เช่น ในกรณีที่การเจริญเติบโตของขากรรไกรมีความไม่สมดุลกันในระหว่าง หรือหลังการ รักษา หรือมีการขึ้นของฟันที่ช้าผิดปกติ อาจทำให้การสบฟันเปลี่ยนไป ทำให้อาจต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม หรือบางครั้งอาจต้องจัดฟันร่วม กับการผ่าตัด การที่ผู้ป่วยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติไม่สมดุลกันหรือมีการสร้างของฟันที่ผิดปกติเหล่านี้ เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่ ทันตแพทย์ไม่สามารถควบคุมได้ และการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตภายหลังจากการจัดฟัน อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลการ รักษา             12 ระยะเวลาทั้งหมดที่ต้องใช้ในการจัดฟันนั้น อาจไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน การมีการเจริญเติบโตของกระดูกที่น้อยหรือมากกว่าปกติ การให้ความร่วมมือที่ไม่ดีพอในการใส่เครื่องมือในแต่ละวัน การไม่รักษาความสะอาดภายในช่องปาก การทำเครื่องมือหลุด และการผิดนัด กับทันตแพทย์ ล้วนมีผลให้ระยะเวลาในการรักษาเพิ่มขึ้น และจะมีผลต่อผลการรักษาที่จะได้รับ             13 เนื่องจากขนาดและรูปร่างของฟัน มีความแตกต่างกันอย่างมาก บางครั้งเพื่อให้ได้ผลในการจัดฟันที่ดี เช่น การปิดช่องว่างระหว่างฟัน ทันตแพทย์จำเป็นต้องใช้การบูรณะฟันเข้าช่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักได้แก่การอุดฟัน การทำครอบฟันหรือ สะพานฟัน และ หรือการรับการรักษาทางศัลย์ปริทันต์ ผู้ป่วยสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาดังกล่าว             14 การมีโรคประจำตัวบางอย่างอาจมีผลต่อการจัดฟัน ผู้ป่วยควรแจ้งแก่ทันตแพทย์ทราบในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพเกิดขึ้น ข้อมูลจาก

หลังการจัดฟัน, หลังการจัดฟัน หมายถึง, หลังการจัดฟัน คือ, หลังการจัดฟัน ความหมาย, หลังการจัดฟัน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu