พินัยกรรม?
ผมสามารถเขียนพินัยกรรมโดยไม่ต้องมีพยานรู้เห็นได้หรือไม่ครับ ลายเซ็นอ่านไม่ออก จ สมุทรปราการ
ผมสามารถเขียนพินัยกรรมโดยไม่ต้องมีพยานรู้เห็นได้หรือไม่ครับ ลายเซ็นอ่านไม่ออก จ สมุทรปราการ
ได้ ถ้าคุณมีคุณสมบัติตามกฎหมาย คือ มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไร้ความสามารถในขณะทำพินัยกรรมมี หลายแบบ ดังนี้ แบบที ๑ ทำเป็นหนังสือ ลงวันเดือนปีที่ทำ แล้วระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินและสาระสำคัญว่า จะแบ่งทรัพย์นั้นให้ใครบ้าง จำนวน เท่าใด แล้วเจ้าพินัยกรรมนั้นก็ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน เป็นการรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมแบบนี้ผู้ทำไม่จำเป็นต้องเขียนหรือทำขึ้นเองจะให้บุคคลใดทำให้ก็ได้ และหากต่อมาภายหลังเจ้าพินัยกรรมต้องการ เปลี่ยนแปลงข้อความในพินัยกรรม ก็จะต้องลงชื่อกำกับไว้ต่อหน้าพยานสองคนเช่นเดียวกัน มิฉะนั้นจะไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แบบที่ ๒ ทำโดยผู้ทำพินัยกรรมเป็นคนเขียนขึ้นเองทั้งฉบับกล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมด้วยลายมือของตัวเองทั้ง หมด โดยลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม และลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับไว้ หากมีการแก้ไขข้อความในพินัยกรรม เจ้าพินัยกรรม ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ พินัยกรรมแบบที่ ๒ นี้ เป็นแบบที่ทำได้ง่ายที่สุด สามารถเก็บข้อความในพินัยกรรมไว้เป็นความลับโดยไม่มีผู้ใดรู้เห็นได้ดีที่สุด แบบที่ ๓ เป็นพินัยกรรมแบบ เอกสารฝ่ายเมือง ซึ่งอาจจะยุ่งยากอยู่บ้าง แต่ได้ผลในแง่ความถูก ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ลงไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอ โดยมีพยานสองคนจากนั้น กรมการอำเภอ ซึ่งอาจเป็นปลัดอำเภอ นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต ก็จะจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ แล้ว อ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟังเมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้ว ผู้ทำพินัยกรรมและพยานก็ลงชื่อไว้ในพินัยกรรม สุดท้าย นายอำเภอจะลงลายมือชื่อพร้อมวันเดือนปีและประทับตราตำแหน่งไว้ด้วย แบบที่ ๔ เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับ วิธีการทำก็โดยการนำพินัยกรรมซึ่งตนได้ทำขึ้น อาจเขียนเองหรือให้ผู้อื่นเขียนก็ได้ ใส่ชองปิดผนึก แล้วลงชื่อตามรอยผนึกนั้น แล้วนำไปมอบให้แก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานสองคน พร้อมทั้งให้ถ้อยคำว่าเป็นพินัยกรรมขอตน ถ้าพินัยกรรมให้ผู้อื่นเขียนให้ ก็แจ้งชื่อผู้เขียนลงไปด้วย จากนั้นกรมการอำเภอจะบันทึกถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมเอาไว้ ลงวัน เดือนปีที่ทำพินัยกรรม แล้วลงชื่อพร้อมประทับตราตำแหน่ง และผู้ทำพินัยกรรมกับพยานต้องลงชื่อไว้บนซองพินัยกรรมนั้นด้วย การทำพินัยกรรมยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก หากไม่อยากให้เกิดความยุ่งยากแก่ลูกหลานในภายหลัง ก็น่าจะปรึกษากับผู้รู้ กฎหมายเสียก่อน “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!