ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย?, ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย? หมายถึง, ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย? คือ, ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย? ความหมาย, ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย?

ดิฉันไปเที่ยวงานสัปดาห์หนังสือ เห็นว่าปีสองปีมานี้มีตำรากับข้าวพิมพ์ขายมากมายให้เลือกซื้อไม่หวาดไม่ไหวจึงอยากรู้ขึ้นมาทันทีว่า ในเมืองไทย ใครเป็นผู้เขียนตำรากับข้าวขึ้นเป็นคนแรก ศรีกุล จ นนทบุรี

คำตอบ

ตำรากับข้าวเล่มแรกของเมืองไทยพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕   หรือเมื่อ ๙๐ กว่าปีมาแล้ว คือ ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดย ท่านผู้หญิงเปลี่ยน   ภาสกรวงศ์ ภริยาของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ พร บุนนาค พิมพ์จำหน่ายเป็นระยะ ๆ มีราวห้าเล่ม ต้นเล่มมีคำนมัสการนอบน้อมพระรัตนตรัย และไหว้ครู   ซึ่ง   “ ซองคำถาม ” เห็นว่าเป็นธรรมเนียมที่น่าซาบซึ้งใจนัก เนื้อหาในเล่มสอนวิธีทำกับข้าวสารพัด ฟังชื่อแล้วน่ากินตัวอย่างมีเช่น หมูแนมไทย ม้าอ้วน นกกระจาบยัดไสัทอด ต้มยำเขมร เจ่าแมงตา หมูตั้งสด น้ำพริกนางลอย   ปลาแดงหลน ขนมแชงม้า ขนมลำเจียก ข้าวแดกงา ฯลฯ ทั้งยังสอนวิธีเลือกชื้ออาหารและพูดถึงความสะอาดในครัว เรียกว่ามีเนื้อหาละเอียดครบถ้วนไม่แพ้ตำรากับข้าวสมัยนี้ ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ เป็นหนังสือเก่าหายาก “ ซองคำถาม ” เคยเห็นฉบับถ่ายสำเนาขายในร้านหนังสือเก่า ราคาเล่มละกี่บาทก็ลืมแล้ว “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย, ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย หมายถึง, ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย คือ, ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย ความหมาย, ตำรากับข้าวเล่มแรกของไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu