มัคนายก กับ ไวยาวัจกรต่างกันอย่างไร?
มีความสับสนระหว่าง มัคทายก กับ มัคนายก สะกดอย่างไหนจึงถูกต้อง หงสา นุตตะปกรณ์ จ นครพนม
มีความสับสนระหว่าง มัคทายก กับ มัคนายก สะกดอย่างไหนจึงถูกต้อง หงสา นุตตะปกรณ์ จ นครพนม
คำนี้ต้องสะกด มัคนายก แต่คนส่วนใหญ่มักใช้ผิด คงเป็นเพราะคุ้นกับคำว่า “ มัคทายก ” มานานจนคิดว่าเป็นคำที่ถูกต้องหากเปิดพจนานุกรมดู จะพบว่าคำนี้เขียนได้สองแบบ ถ้าเขียนแบบบาลี สะกด มัคนายก เขียนแบบสันสกฤต สะกด มรรคนายก ทั้งสองแบบมีความหมายว่า ผู้นำทาง คือผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญ เหตุที่คนส่วนใหญ่ใช้คำ “ มัคทายก ” อาจเพราะนำไปสับสนกับคำ “ ทายก-ทายิกา ” ซึ่งหมายถึง ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ ภิกษุสามเณร นอกจากนั้นแล้ว ยังมีคำที่ใช้เรียกบุคคลที่ทำงานอยู่ในวัดอีกคำหนึ่ง คือ “ ไวยาวัจกร ” พจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า ผู้ทำหน้าที่แทนสงฆ์เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน ทั้งสองคนนี้ทำหน้าที่ต่างกัน มัคนายก เป็นเพียงผู้ช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ มักจะเกี่ยวข้องกับพวกอุบาสกอุบาสิกามากกว่า คล้าย ๆ เป็นตัวกลางหรือผู้ประสานงานระหว่างพระกับอุบาสกอุบาสิกา บางครั้งอาจรับใช้พระด้วย แต่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง ส่วนไวยาวัจกร เป็นบุคคลที่คอยรับใช้ทำกิจต่าง ๆ แทนพระ พระจะเป็นผู้ใช้ให้ทำ บางท่านกล่าวว่า ไวยาวัจกรทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน คล้ายกับเป็นสมุห์บัญชี “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!