จุฬาราชมนตรีตำแหน่งแต่งตั้ง หรือเลือกตั้ง?
จุฬาราชมนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำศาสนาอิสลามนั้นเขามีการคัดเลือกกันอย่างไร ต้องมีการสมัครรับเลือกตั้งเหมือนผู้แทนราษฎร หรือเปล่า หรือว่าเป็นตำแหน่งแต่งตั้งครับ สิทธิพงศ์ จ ปทุมธานี
จุฬาราชมนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำศาสนาอิสลามนั้นเขามีการคัดเลือกกันอย่างไร ต้องมีการสมัครรับเลือกตั้งเหมือนผู้แทนราษฎร หรือเปล่า หรือว่าเป็นตำแหน่งแต่งตั้งครับ สิทธิพงศ์ จ ปทุมธานี
การพิจารณาเลือกสรรบุคคลเข้าตำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีนั้น พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามได้กำหนดที่มาของจุฬาราชมนตรีไว้ตามมาตรา ๖ ซึ่งบัญญัติว่า “ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ให้นายกรัฐมนตรีนำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ ขึ้นทูลเกล้าฯถวายภายในกำหนด ๓๐ วัน เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี ” จะเห็นได้ว่าที่มาของจุฬาราชมนตรีมีการกลั่นกรองและพิจารณาอย่างกว้างขวางจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดใดมีพลเมืองนับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก ก็ให้ จัดตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดขึ้น ปัจจุบันทั่วประเทศมีอยู่ ๒๙ จังหวัด ตามกฎหมายใหม่มีกรรมการอิสลามจังหวัดละ ๙-๑๓ คน ขณะนี้มีกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรวมทั้งสิ้นเกือบ ๔๐๐ คน “ ซองคำถาม ” อ่านข่าวการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนใหม่ แทนนายประเสริฐ มะหะหมัด ที่ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ ทราบว่า ได้กำหนดให้กรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศมาคัดเลือกจุฬาราชมนตรีที่วิทยาลัยการปกครอง จ ปทุมธานี เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๐ มีตัวแทนจากสถานทูตและชาวไทยมุสลิมเกือบ ๒ ๐๐๐ คน เข้าร่วมสังเกตการณ์ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเสนอชื่อผู้เหมาะสมเก้าคน ผลการลงคะแนนปรากฏว่า นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ ๑๗ ของไทย ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในประเทศไทย เริ่มมีครั้งแรกในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนแรกของไทย คือ พระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี ชาวอิหร่านซึ่งเข้ามาตั้งรกรากทำมาค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยา “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!