บูมเมอแรง?
ช่วยอธิบายด้วยว่าการที่บูมเมอแรงสามารถกลับสู่มือผู้ขว้างได้นั้น nbsp มีหลักการอย่างไร บุญเลิศ กรุงเทพฯ
ช่วยอธิบายด้วยว่าการที่บูมเมอแรงสามารถกลับสู่มือผู้ขว้างได้นั้น nbsp มีหลักการอย่างไร บุญเลิศ กรุงเทพฯ
บูมเมอแรง boomerang เป็นชื่อเครื่องมือที่ชนพื้นเมืองอะบอริจินในออสเตรเลียคิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ พัฒนามาจากอาวุธล่าสัตว์ที่เรียกว่า killer stick หรือ ท่อนไม้พิฆาต ใช้ขว้างสัตว์แต่ไม่สามารถวกกลับคืนมาสู่เจ้าของได้เช่น บูมเมอแรง พวกอะบอริจินใช้บูมเมอแรงในการล่านก และใช้ขว้างแข่งกันเพื่อดูว่า บูมเมอแรงของผู้ใดจะกลับคืนสู่มือเจ้าของได้เร็วกว่ากัน บูมเมอแรงยุคแรก ๆ ทำจากรากไม้และกิ่งไม้ แต่ปัจจุบันไม้หายาก จึงเปลี่ยนมาใช้พลาสติกเป็นวัสดุแทน บางทีก็ทำจากไม้อัด แต่วัสดุไม่มีผลต่อการพุ่งของบูมเมอแรง หลักใหญ่อยู่ที่มุมและความหนาของตัวบูมเมอแรงเท่านั้น ถ้าทำมุมไม่พอเหมาะบูมเมอแรงอาจไม่วกกลับมายังผู้ขว้าง เคล็ดการแหวกอากาศของบูมเมอแรงเป็นหลักเดียวกับที่ทำให้เครื่องบินบินได้ คือ ด้านบนปีกทั้งสองข้างหนา ส่วนด้านล่างแบนราบ อากาศที่ผ่านตรงส่วนที่หนาจะเดินทางได้ไกลและเร็วกว่า ความกดอากาศจึงน้อยกว่าด้านล่างซึ่งบางกว่า ดังนั้นความกดที่สูงกว่าจึงยกบูมเมอแรงให้ลอย ส่วนการหมุนกลับมายังผู้ขว้างนั้น อยู่ที่เทคนิคในขณะขว้าง ผู้ขว้างจะต้องบิดข้อมือให้ได้จังหวะเพื่อให้บูมเมอแรงหมุนติ้ว แล้ววกกลับมายังที่เดิมคนที่ขว้างบูมเมอแรงเก่ง ๆ สามารถขว้างให้มันหมุนติ้วตีวงถึงสี่ห้าวงกลางอากาศ ก่อนจะวกกลับมาสู่มือเจ้าของอีกครั้ง ทุกวันนี้บูมเมอแรงเป็นของเล่นที่นิยมเล่นกันทั่วโลก โดยเฉพาะเด็ก ๆ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เล่นเบสบอล การขว้างบูมเมอแรงก็คล้ายกับการขว้างลูกเบสบอล พวกเด็ก ๆ เหล่านี้จึงทำบูมเมอแรงเป็นรูปทรงต่าง ๆ เพื่อให้บูมเมอแรงของตนพุ่งไปได้ไกลที่สุด และใช้เวลาเดินทางสั้นที่สุด สถิติการขว้างบูมเมอแรงที่แข่งขันกันในสหรัฐอเมริกานั้นระยะทางไกลที่สุดที่มีผู้ขว้างได้คือ ๑๔๕ เมตร ประมาณเท่าครึ่งของความยาวสนามฟุตบอล ส่วนเวลาที่สั้นที่สุด คือ ๒ นาที ๕๙ วินาที “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!