เหตุใดโตเกียวจึงรอดพ้นจากระเบิดปรมาณู?
ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ เหตุใดสหรัฐอเมริกาจึงเลือกทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ทำไมไม่ทิ้งระเบิดที่โตเกียว- เมืองหลวง ซึ่งน่าจะบีบบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามได้ง่ายกว่า ไม่ลงชื่อ กรุงเทพฯ
ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ เหตุใดสหรัฐอเมริกาจึงเลือกทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ทำไมไม่ทิ้งระเบิดที่โตเกียว- เมืองหลวง ซึ่งน่าจะบีบบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามได้ง่ายกว่า ไม่ลงชื่อ กรุงเทพฯ
แม้โตเกียวจะเป็นนครที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เป็นที่ตั้งรัฐบาลและกองบัญชาการเหล่าทัพต่าง ๆ ของญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ถูกเลือกเป็นเป้า หมายแรกของการทิ้งระเบิด อาจเป็นเพราะผู้บังคับบัญชาการรบบางนายรู้พิษสงของระเบิดปรมาณูดี และคิดว่าไม่น่าจะทำลายเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและศาสนาของญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังมีข้อมูลว่า ในวันที่ ๙ มีนาคม ๑๙๔๕ นายพล เคอร์ติส ลีเมย์ ได้สังเครื่องบินแบบบี ๒๙ ประมาณ ๒๐๐ ลำให้ไป ทำลายโตเกียว การทิ้งระเบิดเพลิงในระดับต่ำครั้งนั้นได้เผาทำลายเนื้อที่เป็นบริเวณ ๑๖ ตารางไมล์ สังหารชีวิตชาวญี่ปุ่น ๘๖ ๐๐๐ คน นายพลลีเมย์ได้สั่งให้มีการโจมตีทำนองเดียวกันนั้นอีกในวันที่ ๒๕-๒๖ พฤษภาคม ด้วยเครื่องบินแบบบี ๒๙ จำนวน ๔๖๔ ลำ อัน ทำให้ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตมากขึ้นเมืองที่เสียหายไปบ้างแล้วอย่างโตเกียวจึงไม่คุ้มค่าที่จะไปทิ้งระเบิดปรมาณูซ้ำอีก เมืองใหญ่อื่น ๆ อีกสี่เมืองจึงอยู่ในข่ายการพิจารณา ได้แก่ ฮิโรชิมา โกกุระ นิคิกาตะ และนางาชากิ ฮิโรชิมาถูกเลือกเป็นเป้าหมายแรก อันเนื่องมาจากการรายงานของสายลับ ซึ่งปรากฏว่าไม่ถูกต้องทั้งหมด บอกว่าเป็นเมืองเดียวในสี่ เมืองที่ว่านั้น ที่ไม่มีค่ายกักกันเชลยศึกของกลุ่มพันธมิตรตั้งอยู่ที่นั่น เมื่อการทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมาเมื่อวันที่๖ สิงหาคม ๑๙๔๕ ไม่ทำให้ ญี่ปุ่นตื่นตกใจและยอมจำนนได้ ฮิโรชิมาเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ ๗ ของญี่ปุ่น ขณะที่ฮิโรชิมาถูกระเบิดนั้น มีคนอยู่ ประมาณ ๕ แสนคน มีผู้เสียชีวิตราว ๑๓๐ ๐๐๐ คน อีกสามวันต่อมา จึงได้มีการทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่ ๒ ที่นางาชากิ โชคดีที่ จักรพรรดิฮิโรฮิโตได้สั่งให้กองทัพญี่ปุ่นหยุดการสู้รบในวันที่ ๑๖ สิงหาคม หากพระองค์ไม่ประกาศยอมแพ้ อเมริกาก็คงจะทิ้ง ระเบิดปรมาณูลูกที่ ๓ ที่โตเกียวตามคำแนะนำของนายพลคาร์ล สปาตช์ ผู้บัญชาการกองทัพอากาศยุทธศาสตร์ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!