พระชนมพรรษาพระชนมายุ พระชันษาใช้ต่างกันอย่างไร?
สับสนเรื่องคำราชาศัพท์อีกแล้ว คำพระชนมพรรษากับ พระชนมายุใช้ต่างกันอย่างไร อ้อ ดูเหมือนจะมี พระชันษา nbsp อีกคำหนึ่ง นิสิต จ นนทบุรี
สับสนเรื่องคำราชาศัพท์อีกแล้ว คำพระชนมพรรษากับ พระชนมายุใช้ต่างกันอย่างไร อ้อ ดูเหมือนจะมี พระชันษา nbsp อีกคำหนึ่ง นิสิต จ นนทบุรี
ม ร ว แสงสูรย์ ลดาวัลย์ ได้ตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ไว้ว่า quot พระชนมพรรษา พระชนมายุ พระชันษา เป็นราชาศัพท์ แปลว่า |อายุ| ทั้ง ๓ คำ เวลานี้ดูจะใช้ปะปนกันไปหมด ไม่ว่าในหลวง สมเด็จพระบรมราชินี พระราชวงศ์ใหญ่น้อย เรามักจะใช้ พระชนมายุ กันทั้งนั้น ซึ่งไม่ถูกต้องเลย ประเพณีการใช้ถ้อยคำแต่ก่อนท่านกำหนดให้ใช้ต่างกันตามลำดับพระอิสริยศักดิ์ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้คำว่า |พระชนมพรรษา|แทนคำว่า |อายุ| และใช้คำว่า |พรรษา| แทนคำว่า |ปี| สมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระอนุชาธิราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เจ้านายทั้ง ๖ ตำแหน่งนี้จึงใช้คำว่า |พระชนมายุ| แทน |อายุ| และใช้คำว่า |พรรษา| แทน |ปี| เช่นเดียวกัน ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์นอกจากที่กล่าวถึงข้างต้นแล้วใช้คำว่า |พระชันษา| แทนคำว่า |อายุ| และจำนวน |ปี| ไม่เปลี่ยนเป็น |พรรษา| ที่กล่าวมานี้เป็นหลักที่ใช้กันมา แต่ในปัจจุบันพระบรมวงศานุวงศ์มีน้อยพระองค์ หากจะเทิดพระเกียรติด้วยการใช้ถ้อยคำให้สูงขึ้น ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้าลูกหลวง จะใช้ |พระชนมายุ| ด้วยก็สมควร แต่พระราชวงศ์ชนพระองค์เจ้าหลานหลวง ควรใช้ |พระชันษา| เช่นเดิม quot “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!