ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วิธีการเสียอากร?, วิธีการเสียอากร? หมายถึง, วิธีการเสียอากร? คือ, วิธีการเสียอากร? ความหมาย, วิธีการเสียอากร? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

วิธีการเสียอากร?

วิธีการเสียอากร มีขั้นตอนอย่างไรบ้างค่ะ

คำตอบ

วิธีการเสียอากรแสตมป์สำหรับการทำตราสาร เรียกว่า “ ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ” ซึ่งหมายความว่า       1 ในกรณีแสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษก่อนกระทำหรือใน ทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว หรือ         2   ในกรณีแสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสีย และขีดฆ่าแล้ว หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว หรือ         3   ในกรณีชำระเป็นตัวเงิน คือการได้เสียอากรเป็นตัวเงิน เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียตาม บทบัญญัติในหมวดอากรแสตมป์ หรือตามระเบียบที่อธิบดีจะได้กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี         การปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามข้อ 1 และ 2 ดังกล่าวข้างต้น อธิบดีมีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติตาม ที่กำหนดในข้อ 3 แทนได้ คือ กำหนดให้เสียอากรเป็นตัวเงิน เช่น กรณีตั๋วแลกเงิน เช็ค ใบรับรางวัลฉลากกินแบ่ง ใบรับเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ ใบรับเกี่ยวกับยานพาหนะ ตราสารตั๋วสัญญาใช้เงินเฉพาะที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออกตั๋ว จ้างทำของ เฉพาะที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาลเป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200 000 บาทขึ้นไป กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร กรมธรรม์ประกันภัย ตั๋วสัญญาใช้เงิน เลตเตอร์ออฟเครดิต ฯลฯ การขอเสียอากรเป็นตัวเงิน       การขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ก็เพื่อความสะดวกในการเสียอากร ที่มีค่าอากรแสตมป์เป็นจำนวนมาก ไม่สะดวกในการใช้ดวงแสตมป์อากรปิดบนตราสารหรือในกรณีไม่สะดวกในการชำระค่าอากร โดยใช้แสตมป์ดุน การขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ปฏิบัติดังนี้         1   การขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ใช้แบบ อ ส 4 แบบขอและอนุมัติให้เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ยื่นต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยแนบตราสารที่ขอเสียอากรไปด้วย ให้ยื่นต่อสำนักงานสรรพากรอำเภอ       2   สำหรับตราสารที่เป็น                 2 1   ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงินเฉพาะที่ธนาคารประกอบกิจการ ในราชอาณาจักรเป็นผู้สั่งจ่าย ตามลักษณะแห่งตราสาร 9 1 และใบรับฝากเงินประเภท ประจำของธนาคารโดยมี ดอกเบี้ย ตามลักษณะแห่งตราสาร 13               2 2   เช็คที่ออกในราชอาณาจักร ตามลักษณะแห่งตราสาร 12                 2 3   เช็คสำหรับผู้เดินทางที่ออกหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ตามลักษณะแห่งตราสาร 15 มีวิธีการเสียอากรเป็นตัวเงินดังนี้                     -   ตราสารตามข้อ 2 1 ให้ธนาคารผู้สั่งจ่ายหรือผู้รับฝาก แล้วแต่กรณีชำระอากรเป็นตัวเงิน แทนการปิดแสตมป์                   -   ตราสารตามข้อ 2 2 และ 2 3 ให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนแรกชำระอากรเป็นตัวเงินแทน การปิดแสตมป์ โดยชำระไว้ต่อธนาคาร                     -   ตราสารตามข้อ 2 3 ที่ธนาคารเป็นผู้ออก ให้ธนาคารชำระอากรเป็นตัวเงินแทน การปิดแสตมป์                     -   ธนาคารผู้ชำระเงินหรือรับชำระเงินค่าอากร ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร นำเงินค่าอากรที่มีหน้าที่ต้องชำระ หรือได้รับชำระไว้ใปยื่นขอชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อากรแสตมป์ ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ โดยใช้แบบ อ ส 4ก แบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารเช็คหรือตั๋วแลกเงิน พร้อมชำระเงิน ส่วนธนาคารที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในท้องที่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นชำระเงิน ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ หรือกิ่งอำเภอท้องที่       3   ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใดๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตามลักษณะแห่งตราสาร 28 ข ให้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรมที่ดิน         4   ใบรับเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล กำหนดให้ชำระอากรเป็นตัวเงินต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การขีดฆ่าอากร         คำว่า “ ขีดฆ่า ” หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับ ได้ลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษ และลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ในกรณีแสตมป์ดุนได้เขียนบนตราสารหรือยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับ แสตมป์ดุน ให้แสตมป์ปรากฏอยู่ในด้านหน้าของตราสารนั้น ข้อมูลจาก กรมสรรพากร The Revenue Department

วิธีการเสียอากร, วิธีการเสียอากร หมายถึง, วิธีการเสียอากร คือ, วิธีการเสียอากร ความหมาย, วิธีการเสียอากร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu