สลีปปิงเบรก?
ldquo ซองคำถาม rdquo เคยได้ยินคำว่า nbsp ldquo สลีปปิงเบรก rdquo nbsp sleeping break nbsp ไหม nbsp อยากขอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ วารินทร์ กรุงเทพฯ
ldquo ซองคำถาม rdquo เคยได้ยินคำว่า nbsp ldquo สลีปปิงเบรก rdquo nbsp sleeping break nbsp ไหม nbsp อยากขอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ วารินทร์ กรุงเทพฯ
สลีปปิงเบรก หรือการงีบหลับในยามบ่าย ไม่อาจถือเป็นธรรมเนียมที่ควรปฏิบัติสำหรับผู้ทำงาน เพราะอาจถูกเจ้านายเพ่งเล็ง แต่เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า มันเป็นธรรมชาติที่ทุกคนอาจเกิดอาการดังกล่าวได้ ผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันจิตเวชศาสตร์ ในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนีพบว่า อันที่จริงแล้ว วัฏจักรการง่วงของคนจะเกิดขึ้นในทุกช่วงเวลาของวัน คือ อาการง่วงหลังอาหารเช้าประมาณ ๙ โมงเช้าหลังอาหารมื้อเที่ยงประมาณบ่ายโมง และตอนบ่ายแก่ ๆ ประมาณ ๕ โมงเย็น สรุปได้ว่าอาการง่วงจะเกิดทุก ๔ ชั่วโมง ซึ่งการง่วงนี้จะไม่ขึ้นอยู่กับการนอนเต็มที่ในเวลากลางคืนเลยเพราะเด็กเล็ก ๆ ซึ่งนอนเต็มที่ในเวลากลางคืนแล้วก็ยังนอนเป็นช่วงในเวลากลางวันอีก ๓ เวลา คือทุก ๔ ชั่วโมง อีกด้วยจากการค้นคว้ายังพบอีกว่า ในช่วงเวลาทั้งสาม ผู้หลับจะหลับสนิทและมีสิทธิฝันเหมือนการนอนหลับกลางคืนด้วย “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!