การรักษาฟันยุคโบราณ?
nbsp nbsp nbsp nbsp คนยุคโบราณ ก่อนมีทันตกรรมสมัยใหม่ เช่นการอุดฟัน การฉีดยาชาก่อนถอนฟัน พวกเขาแก้ปัญหาฟันผุหรือปวดฟันอย่างไร และ อยากทราบวิวัฒนาการของทันตกรรม ระบิน กรุงเทพ
nbsp nbsp nbsp nbsp คนยุคโบราณ ก่อนมีทันตกรรมสมัยใหม่ เช่นการอุดฟัน การฉีดยาชาก่อนถอนฟัน พวกเขาแก้ปัญหาฟันผุหรือปวดฟันอย่างไร และ อยากทราบวิวัฒนาการของทันตกรรม ระบิน กรุงเทพ
จากการศึกษาทางโบราณคดี เชื่อกันว่ามนุษย์คงจะมีปัญหาเกี่ยวกับฟันของตนมานานแล้ว และพยายามหาวิธีการแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งตามความรู้ที่มีจำกัด และตามความเหมาะสมจากสิ่งแวดล้อมที่ตนดำรงอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดไม่พ้น หลักฐานที่ขุดพบบริเวณลุ่มแม่น้ำยูเฟรตีส แสดงว่าเมื่อประมาณ ๕ ๐๐๐ ปีก่อน มนุษย์เชื่อว่าการปวดฟันเกิดจากหนอนที่อยู่ภายในฟัน คัมภีร์อายุรเวทของชาวฮินดูเมื่อ ๓ ๐๐๐-๔ ๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช พบว่ามีข้อความกล่าวถึงการทำความสะอาดฟันด้วยกิ่งไม้ และยังกล่าวถึงการขูดเอาหินปูนออกจากฟัน การถอนฟัน ตลอดจนการรักษาโรคเหงือกเป็นหนอง นอกจากนี้ยังพบว่าชาวฮินดูนิยมประดับฟันหน้าด้วยทองหรือเพชรพลอยเพื่อความสวยงาม เมื่อ ๒ ๗๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวจีนรักษาโรคด้วยวิธีเอาเข็มแทงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อชักเข็มออกแล้วก็ทำให้เกิดความร้อนบริเวณนั้นโดยการเผาสำลีวางบนเหรียญซึ่งทับอยู่บนรอยที่แทง เชื่อว่าความร้อนจะดึงเอาของเหลวในร่างกายที่ทำให้เจ็บปวดออกมา ชาวจีนใช้วิธีดังกล่าวนี้แก้อาการปวดฟันด้วย ในศตวรรษแรกของคริสต์ศักราช คอร์เนเลียส เซลซัส Cornelius Celsus แพทย์ชาวโรมันได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิทยาการทางทันตกรรมไว้มากพอสมควร ได้กล่าวถึงการรักษาแผลในปากด้วยสารส้ม ฝีเรื้อรังที่เหงือกให้ถอนฟันออก ถ้ามีการรุกรานของโรคอยู่ที่กระดูกรอบ ๆ ซี่ฟัน ให้ขูดทำความสะอาดบริเวณนั้น ๆ แล้วทายาสมานทำให้เหงือกรัดตัวเพื่อฟันจะได้แน่นขึ้น อาณาจักรโรมันในยุครุ่งเรือง ดูเหมือนชาวโรมันจะเอาใจใส่เรื่องฟันกันมาก มีการกล่าวถึงการทำความสะอาดฟันด้วยไม้จิ้มฟัน การใช้ยาสีฟันกับยาอมบ้วนปากต่าง ๆ มีหลักฐานปรากฏว่าชนชั้นสูงนิยมหาทาสไว้ใช้ให้ทำความสะอาดฟัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใส่ฟันแบบติดแน่นโดยใช้ลวดทอง หรือ ครอบฟันทองเป็นตัวยึดฟันปลอมที่ทำขึ้นจากกระดูกหรืองาช้าง ในปลายยุคต้นและเริ่มเข้ายุคกลางของประวัติทันตแพทยศาสตร์ ประวัติทันตแพทยศาสตร์อาจแบ่งได้เป็นสาม ยุค คือยุคต้นซึ่งเริ่มแต่โบราณกาลก่อนที่จะมีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ มาสิ้นสุดลงเมื่อ ค ศ ๑ ๐๐๐ ต่อจากนั้นมาอีกประมาณ ๗๐๐ ปีนับว่าอยู่ในยุคกลาง และยุคปัจจุบันของทันตแพทยศาสตร์มักถือกันว่าเริ่มใน ค ศ ๑๗๒๘ เป็นเวลาที่อาณาจักรโรมันเสื่อมลง เริ่มเข้าสู่ยุคมืดของทวีปยุโรป ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและวิทยาการต่าง ๆ ย้ายไปอยู่ในกลุ่มประเทศอาหรับ บุคคลที่มีความสำคัญทางทันตกรรมที่สมควรกล่าวถึงเช่น ราซีส Rhazes ค ศ ๘๕๐-๙๒๓ ได้แนะให้ใช้ยางไม้ผสมกับสารส้มอุดในโพรงฟันที่ผุ และสนับสนุนการใช้สารหนูทำให้ฟันโยกคลอนก่อนที่จะถอน แพทย์ชาวอาหรับอีกคนหนึ่ง คืออัลบูคาซิส AIbucasis ค ศ ๑๐๕๐-๑๑๒๒ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมาก และได้วางรากฐานที่มีความสำคัญต่อวงการทันตแพทย์ เขาเขียนหนังสือว่าด้วยการผ่าตัดฟัน และเป็นผู้ตัดแปลงเครื่องมือถอนฟันให้ดีขึ้น ได้ใช้ลวดทองผูกฟันที่โยกเพื่อรักษาให้กลับแน่นเข้า และให้ผูกยึดขากรรไกรที่หักให้ติดกันด้วย อัลบูคาซิสสามารถผ่าตัดแก้ปากแหว่งได้สำเร็จ นอกจากนั้นสิ่งสำคัญที่จะเว้นกล่าวถึงมิได้ ก็คือการออกแบบเครื่องมือขูดหินปูนทำความสะอาดฟันเพื่อป้องกันและรักษาโรคเหงือกอักเสบ หลักการดังกล่าวนี้ยังใช้กันมาจนปัจจุบัน ส่วนการรักษาโรคฟันในประเทศไทย ตำรายาโบราณกล่าวถึงยารักษาฟันไว้หลายขนาน เช่น การบูรผสมเกลือ เปลือกสะเดาแช่น้ำปัสสาวะ เปลือกยางรักแช่ต้มกับเกลือ เป็นต้นเข้าใจว่าจะรักษาโรคฟันชนิดที่ไม่ร้ายแรงนัก การบำบัดรักษาทางทันตกรรม แผนปัจจุบันในประเทศไทย มีขึ้นพร้อมกับที่มิชชันนารีเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาและนำวิทยาการนี้เข้ามาเผยแพร่ด้วย เล่ากันว่าเมื่อประมาณ พ ศ ๒๓๘๐ เจ้าพระยาพระ คลังได้ขอให้หมอสอนศาสนานำเครื่องมือมาถอนฟันที่บ้านของท่าน และให้คนรับใช้ทดลองถอนดูก่อน ครั้นเมื่อคนรับใช้ถอนฟันออกแล้ว เจ้าพระยาพระคลังก็ยังไม่ตกลงใจที่จะถอนฟันของท่าน ประวัติการรักษาฟันออกจะยืดยาว ขอเล่าย่อ ๆ ไว้เพียงเท่านี้ก่อน “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!