แด่...ยิตซ์ฮัก ราบิน?
อยากให้ ldquo ซองคำถาม rdquo ช่วยลงคำปราศรัยครั้งสุดท้ายของนายยิตซ์ฮัก nbsp ราบิน ก่อนจะถูกลอบสังหาร ไพฑูรย์ กรุงเทพฯ
อยากให้ ldquo ซองคำถาม rdquo ช่วยลงคำปราศรัยครั้งสุดท้ายของนายยิตซ์ฮัก nbsp ราบิน ก่อนจะถูกลอบสังหาร ไพฑูรย์ กรุงเทพฯ
อดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล นายยิตช์ฮัก ราบิน เกิดเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ ศ ๒๔๖๕ในกรุงเยรูซาเลม บิดามารดาเป็นชาวยิวเกิดในรัสเซีย ราบินได้รับการศึกษาขั้นต้นในกรุงเทล อาวีฟ และจบการศึกษาจากวิทยาลัยการเกษตรคาดูรีที่อยู่ในเขตกาลิลีตอนล่างเมื่อ พ ศ ๒๔๘๓ ด้วยคะแนนสูงมาก พ ศ ๒๔๘๔ ราบินเข้าเป็นอาสาสมัครของพาลมัค กองกำลังป้องกันตนเองก่อนจะมีการสถาปนาประเทศอิสราเอล เพื่อต่อสู้กับกองทัพอังกฤษที่ปกครองดินแดนปาเลสไตน์อยู่ในขณะนั้น จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตการเป็นทหาร และได้มีบทบาทมากมาย ยกตัวอย่างเช่น พ ศ ๒๔๙๑ เป็นผู้บัญชาการกองทัพน้อยฮาเรล เป็นผู้นำทหารเข้าเมืองเยรูซาเลมขณะที่ยังถูกล้อมอยู่ในระหว่างสงครามเพื่ออิสรภาพของอิสราเอล พ ศ ๒๔๙๒ ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในจำนวนผู้แทนที่ไปเจรจาสันติภาพเป็นครั้งแรกกับอียิปต์ พ ศ ๒๕๑๐ เป็นแม่ทัพนำกองทัพเข้าสู่สงคราม ๖ วันเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล ทำให้เยรูซาเลมตะวันออกกลับมาเป็นของอิสราเอล ทั้งยังได้พื้นที่ในเขตเมืองเก่า เขตเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซา และที่ราบสูงโกลาน หลังจากลาออกจากกองทัพได้ไม่นานก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำกรุงวอชิงตัน ดี ซี ๒ มิถุนายนพ ศ ๒๕๑๗ ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาแห่งชาติให้เป็นผู้นำประเทศ และด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ราบินสามารถตกลงกับรัฐบาลอียิปต์ได้เป็นผลสำเร็จ ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอียิปต์กับอิสราเอลในปี พ ศ ๒๕๑๘ อันส่งผลให้อิสราเอลและสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในสัญญากันอีกฉบับหนึ่งด้วย มกราคม พ ศ ๒๕๒๘ ราบินเสนอให้รัฐบาลอิสราเอลถอนกำลังออกจากเลบานอน และตั้งเขตปลอดภัยเพื่อสันติภาพขึ้นในหมู่บ้านตลอดแนวชายแดนทางตอนเหนือ พฤษภาคม พ ศ ๒๕๓๒ รัฐบาลอิสราเอลรับข้อเสนอของราบินมาเป็นต้นแบบของสัญญาสันติภาพกับปาเลสไตน์ ที่ได้กลายมาเป็นพื้นฐานของการประชุมที่แมดริด และความพยายามที่จะสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน ๑๓ กรกฎาคม พ ศ ๒๕๓๕ ยิตช์ฮัก ราบิน รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นวาระที่ ๒ โดยเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๑ ของอิสราเอล ๑๓ กันยายน พ ศ ๒๕๓๖ จับมือกับนายยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์ พีแอลโอ ในพิธีลงนามในปฏิญญาว่าด้วยหลักการสำคัญแห่งเขตการปกครองตนเองของชาวปาเลสไตน์ ณ ทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตัน ดี ซี สหรัฐอเมริกา ยังผลให้ปาเลสไตน์ได้เขตปกครองตนเองในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ๒๔ กรกฏาคม พ ศ ๒๕๓๗ ลงนามร่วมกับกษัตริย์ฮุสเซนในกรุงวอชิงตัน ดี ซี เพื่อยุติภาวะสงครามระหว่างอิสราเอลกับราชอาณาจักรจอร์แดนที่มีมานานถึง ๔๖ ปี ๒๖ ตุลาคม พ ศ ๒๕๓๗ นายราบินลงนามในข้อตกลงสันติภาพกับกษัตริย์ฮุสเซน ซึ่งมีขึ้นที่เมืองชายแดนระหว่าง อิสราเอลกับจอร์แดน ส่งผลให้ยิตช์ฮัก ราบิน ยัสเซอร์ อาราฟัตและชิมอน เปเรส ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี พ ศ ๒๕๓๗ ร่วมกัน ๔ พฤศจิกายน พ ศ ๒๕๓๘ ถูกนายยิกัล อาเมียร์ นักศึกษาชาวยิวหัวรุนแรงลอบสังหาร ขณะมีอายุได้ ๗๓ ปี คำปราศรัยสุดท้ายของนายยิตช์ฮัก ราบิน ในการชุมนุมเพื่อสันติภาพและต่อต้านความรุนแรง ณ จัตุรัสคิงส์ ในเมืองเทลอาวีฟ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ ศ ๒๕๓๘ มีดังนี้ “ ข้าพเจ้าเป็นทหารมา ๒๗ ปี ได้ต่อสู้มานานจนไม่มีเวลาให้โอกาสสันติภาพ บัดนี้ข้าพเจ้าเชื่อว่าโอกาสของสันติภาพได้มาถึงแล้ว โอกาสอันยิ่งใหญ่ที่จะต้องไขว่คว้าไว้ ข้าพเจ้าเชื่อเสมอมาว่าคนส่วนใหญ่ต้องการสันติภาพ และพร้อมที่จะเสี่ยงเพื่อสันติภาพ และท่านที่มารวมกันอยู่ ณ ที่นี้มาเพื่อแสวงหาสันติภาพเช่นเดียวกับผู้อื่นที่ไม่สามารถมาอยู่ ณ ที่นี้ได้ ท่านเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าประเทศต้องการสันติภาพอย่างแท้จริงและปฏิเสธความรุนแรง ความรุนแรงกำลังทำลายรากฐานของประชาธิปไตยของอิสราเอล เราต้องปฏิเสธและประณามความรุนแรง ความรุนแรงไม่ใช่วิถีทางของประเทศอิสราเอลประชาธิปไตยเป็นแนวทางของเรา สันติภาพมิใช่เป็นเพียงการสวดอ้อนวอน แม้ว่าจะเริ่มต้นจากการสวดมนต์ แต่ก็ต้องมาจากแรงบันดาลใจที่มาจากความเป็นจริงที่ชาวยิวมีอยู่ แต่กระนั้นสันติภาพก็มีศัตรูผู้พยายามจะทำร้ายเรา ทำลายสันติภาพ เราได้พบเพื่อนแท้ในกลุ่มชาวปาเลสไตน์บนเส้นทางแห่งสันติภาพ นั่นคือ พีแอลโอ ผู้ที่เคยเป็นคู่สงครามของเรามาก่อนแต่บัดนี้ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว ไม่มีทางเดินใดที่มาสู่อิสราเอลโดยไม่มีความเจ็บปวด แต่ทางเดินสู่สันติภาพก็น่ายินดีกว่าสงคราม การชุมนุมนี้เป็นการประกาศให้ชาวอิสราเอลทุกคน ชาวยิวทั่วโลก ชาวอาหรับ และชาวโลกทั้งหลายได้ทราบว่า ประเทศอิสราเอลต้องการสันติภาพและสนับสนุนสันติภาพ ” ไม่กี่นาทีหลังจากนั้น นายยิตช์ฮัก ราบิน ก็ถูกยิงเสียชีวิตโดยที่มีแผ่นเนื้อเพลง A Song for Peace อยู่ในกระเป๋าเสื้อ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!