เด็กอายุ 3 สัปดาห์สำลักบ่อยเป็นอะไรมั้ย?
เด็กอายุ 3 สัปดาห์สำลักบ่อยเป็นอะไรมั้ย
เด็กอายุ 3 สัปดาห์สำลักบ่อยเป็นอะไรมั้ย
อาการสำลักอาหาร ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นได้ในเด็กเล็ก ส่วนน้อยที่เกิดขึ้นในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ แต่ไม่ใช่ว่าเด็กเล็กที่อายุไม่ถึงขวบจะไม่สำลักอาหารหรือนม ในทารกก็สามารถเกิดได้เช่นกัน เราจึงเสนอวิธีการช่วยเหลือลูกเบื้องต้นเพื่อที่จะช่วยลูกให้หายสำลักได้ทันท่วงที ค่ะ ป้องกันไม่ให้ลำสัก - เริ่มจากการจัดท่าทางในการป้อนอาหาร คือ ควรให้อาหารลูกในท่านั่ง ประคองศีรษะให้ตั้งตรง พยายามให้อาหารในท่าที่ถนัด และจัดท่าทางให้ลูกในท่าที่สามารถรับอาหารได้ไม่ลำบาก - พยายามอย่าให้ลูกเล่นของที่มีลักษณะกลมๆ เช่น ลูกปัด ลูกอม หรือของเล่นที่มีสีหลุดลอกง่าย เพราะของเล่นเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการสำลักได้ - อาหารบางชนิดที่เป็นอาหารชนิดใหม่ เด็กอาจไม่ชอบ ทำให้ไม่ยอมกลืนอาหารและมักคายออกมา จนสำลักได้ ดังนั้น คุณแม่ควรพิจารณาอาหารเสริมที่จะนำมาป้อนให้ลูกน้อยด้วยค่ะ วิธีช่วยเหลือเมื่อทารกสำลัก 1 เมื่อลูกสำลัก ให้จับลูกคว่ำหน้าลงโดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าหน้าอก และใช้ฝ่ามือข้างที่ถนัดพยุงศีรษะของเด็กเอาไว้ โดยระวังอย่าให้มือไปปิดจมูกหรือปากของเด็ก 2 วางแขนข้างที่พยุงเด็กไว้บนต้นขา จากนั้นใช้มือตบลงบนสันหลังตรงกระดูกสะบัก 4 ครั้งติดๆ กัน 3 หากอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมไม่ออกมา ให้คุณแม่จับเด็กหงายขึ้น และวางบนแขนที่อยู่บนหน้าตัก ให้ศีรษะลูกชี้ลงไปที่พื้น 4 ใช้นิ้ว 3 นิ้วของแม่กดบริเวณใต้ตอลิ้นปี่เบาๆ กดประมาณ 4- 5 ครั้ง 5 ตรวจดูสิ่งแปลกปลอมในช่องปากของเด็ก หากพบให้เอาออก และทำการช่วยหายใจ - จับหน้าผากลูก และเชยคางขึ้น เพื่อให้ทางเดินหายใจเปิด - ใช้ปากประกบไปที่ ปากและจมูกของเด็ก เป่าลมและสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก ซึ่งหากเป่าได้ถูกต้องหน้าอกจะยกขึ้น จากนั้นยกปากออก สังเกตการยุบตัวลงของหน้าอก ทำซ้ำแบบนี้ 2 ครั้ง การปฐมพยาบาลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เหมาะสำหรับการช่วยเหลือเด็กทารกและเด็กเล็กค่ะ แต่หากเป็นเด็กโตจะใช้วิธีอื่นที่ยากกว่านี้หน่อย ซึ่งหากคุณแม่ปฏิบัติเบื้องต้นตามที่กล่าวมาแล้ว ไม่พบอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมในช่องปาก ให้เรียกรถพยาบาลเพื่อการช่วยเหลือที่ทันท่วงทีค่ะ
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!