น้ำยาเช็ดกระจก?
ส่วนประกอบของน้ำยาเช้ดกระจก nbsp
ส่วนประกอบของน้ำยาเช้ดกระจก nbsp
น้ำยาเช็ดกระจกจัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ซักล้าง จึงมีสารลดแรงตึงผิวเป็นองค์ประกอบหลักผสมกับสารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลาย ซึ่งแต่ละยี่ห้อมีส่วนผสมหลักคล้ายคลึงกัน โดยทุกชนิดจะใช้ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ isopropyl alcohol ในปริมาณ 1 0-4 0 ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไวไฟ และมีกลิ่นฉุนมาก สารเคมีที่นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในน้ำยาเช็ดกระจกอีกชนิดคือ บิวทิลเซลโลโซลฟ์ butyl cellosolve เป็นตัวทำละลายเคมีที่ละลายน้ำได้ water-soluble solvent มักใช้กับคราบมัน หรือทำให้มัน มีชื่อทางเคมีว่า 2-บิวทอกซีเอทานอล 2-butoxyethanol หรือ เอทาลีนไกลคอลโมโนบิวทิลอีเทอร์ ethylene glycol monobutyl ether สำหรับสารลดแรงตึงผิวที่ใช้ในน้ำยาเช็ดกระจกคือ sodium lauryl ether sulfate SLES หรือ sodium laureth sulfate ใช้ในปริมาณ 0 1 - 0 6 เป็นสารทำให้เกิดฟอง น้ำยาเช็ดกระจกบางชนิดที่ไม่ใช้ sodium lauryl ether sulfate เป็นสารลดแรงตึงผิว จะใช้ cocamidopropyl betaine แทน น้ำยาเช็ดกระจกบางยี่ห้อมีการนำ ammonium hydroxide มาใช้ประมาณ 0 1 ammonium hydroxide ที่ความเข้มข้นสูงกว่า 25 มีค่า LD50 หนู 350 มิลลิกรัม กิโลกรัม มีความเป็นพิษมาก มีฤทธิ์ทำให้เกิดแผลไหม้ และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนเป็นอันตรายต่อเยื่อเมือก ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ดวงตา ผิวหนัง การสูดดมทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและจมูก ซึ่งต้องระวังอันตรายมากกว่า มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อับเสบ การบวมน้ำของถุงลมและปอด ถ้าเข้าตาสามารถทำให้ตาบอดได้ อ่านอันตรายของสารเคมีในน้ำยาเช็ดกระจกได้ ที่นี่ ที่มา อ โชติมา วิไลวัลย์ www chemtrack org
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!