สรุปสาเหตุ และผลของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และบทเรียนที่ได้รับ?
สรุปสาเหตุ และผลของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และบทเรียนที่ได้รับ
สรุปสาเหตุ และผลของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และบทเรียนที่ได้รับ
เศรษฐกิจไทยปี 2540 ปี 2540 เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการเงินการคลัง สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 1 เกิดจากปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ คือระบบกลไกเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาด 2 เกิดจากปัจจัยที่ไม่ใช่ทางเศรษฐศาสตร์ วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์ 1 พฤติกรรมของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน 1 1 การจัดหาแหล่งเงินทุนและการบริหารสินเชื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่รัฐบาลอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนทำธุรกรรม BIBF วิเทศธนกิจ แต่แทนที่สถาบันการเงินจะระดมเงินทุนจากเงินฝากภายในประเทศ กลับนิยมกู้เงินจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ในประเทศ เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในต่างประเทศอยูในระดับต่ำและต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก รวมทั้งไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนพฤติกรรมของสถาบันการเงินดังกล่าวทำให้สัดส่วนหนี้ต่อทุนอยู่ในระดับสูง ทำให้เกิดความเสี่ยงในการบริหารสภาพคล่อง และเกิดความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ประกอบกับสถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อกระจุกตัวอยู่ในตลาดที่มีสภาพฟองสบู่ในระดับสูง คือ ตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น ดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น จึงมีผลกระทบต่อสภาพคล่องของสถาบันการเงิน รวมทั้งนำไปสู่การสะสมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินในที่สุด 1 2 พฤติกรรมของผู้บริหารสถาบันการเงินที่มีการบริหารงานในลักษณะที่คอร์รัปชั่น โดยการช่วยเหลือญาติพี่น้องหรือนักการเมืองด้วยการให้สินเชื่อในกลุ่ม ผู้บริหาร ญาติ ธุรกิจในเครือมากเกินไป หรือให้สินเชื่อในโครงการที่มีผลตอบแทนต่ำ การตกแต่งบัญชี หรือการสร้างลูกหนี้ปลอม 2 พฤติกรรมการระดมทุนของธุรกิจ เกิดขึ้นเนื่องจากมีความผิดพลาดในการระดมทุน คือมีการกู้มาก จากทั้งในและนอกประเทศ ทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนสูง ทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ธุรกิจยังได้นำเงินกู้มาลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว ธุรกิจบางธุรกิจ เช่น อสังหาริมทรัพย์กู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนเป็นสกุลภายในประเทศ โดยไม่มีการประกันความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเชื่อมั่นว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยึดมั่นกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้บริษัทอยู่ในสภาพความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะเมื่อการส่งออกหดตัว ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและเจ้าหนี้ต่างประเทศลดลง จึงทำให้ธุรกิจล้มละลายนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด 3 ธนาคารแห่งประเทศไทยบกพร่องในการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน การเปิดเสรีทางการเงินโดยให้สถาบันการเงินสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้ง่าย ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีระบบการตรวจสอบสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4 ประชาชนขาดศรัทธาในรัฐบาล ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ผลกระทบโดยรวม 1 เศรษฐกิจประเทศแย่มาก - คนว่างงานเพิ่ม ปี 2541 มี 1 13 ล้านคน - รายได้ต่อหัวลดลง 2 การพัฒนาประเทศช้ากว่าที่เคยคาดไว้ 3 สวัสดิการทางสังคมน้อยลง ผลกระทบในด้านต่างๆ 1 ด้านเศรษฐกิจ บริษัทต่างๆไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้า จากสาเหตุอำนาจซื้อที่ลดลงของประชาชน และด้วยสาเหตุนี้เองที่ส่งผลลูกโซ่ต่อการผลิตและการซื้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องอัตโนมัติ แม้ว่าวิกฤตครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ผลเสียหายที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุดคือผลกระทบกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่เป็นแก่นและหัวใจหลักของขบวนการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโตจากภายใน อันจะส่งผลต่อเนื่องสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากปัญหาการล้มละลายหรือการปิดกิจการของภาคธุรกิจทุกขนาดแล้ว ปัญหาหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากจาก วิกฤตเศรษฐกิจปี พ ศ 2540 คือ ปัญหาการว่างงานทั้งจากสาเหตุการถูกปลดออกจากการเป็นพนักงานบริษัท และปัญหาการไม่มีตลาดแรงงานรองรับนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ อย่างไรก็ตามในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจยังมีธุรกิจบางประเภทที่ได้รับผลดี หรือได้รับผลกระทบน้อยมากจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจการเงินขนาดเล็ก เมื่อพิจารณาในระดับมหภาคจะพบว่าวิกฤต 2540 ได้ส่งผลต่อภาวการณ์คลังของประเทศ คือ การเก็บภาษีอาการได้น้อยลง ซึ่งได้ส่งผลต่อเนื่องสู่การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้น้อยลงตามไปด้วย 2 ด้านสังคม ในด้านสังคม เป็นที่ทราบกันดีกว่าหลังจากเกิดปัญหาวิกฤต 2540 คนไทยโดยเฉพาะระดับกลางและระดับล่างมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงเป็นอย่างมาก เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง จำนวนคนจนมีสูงขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายรายได้มีมากขึ้น ตลอดจนปัญหาด้านการศึกษาและปัญหาด้านสาธารณสุขก็ได้มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว 3 ด้านการเกษตร - ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อย แต่จะได้ผลกระทบจากภาวะธรรมชาติ และราคาพืชผลมากกว่า - ได้เปรียบเพราะเงินบาทอ่อนตัว ราคาผลผลิตเกษตรไทยเลยดูถูกลง ทำให้ส่งออกได้มากขึ้น - ชนบทที่ไปทำงานนอกภาคเกษตร กลับมาทำเกษตรมากขึ้น - แต่การพัฒนาเกษตรยังมีปัญหาด้านงบประมาณ ราคาปุ๋ยจากต่างประเทศสูงขึ้น ปรากฏการณ์เอลนิโญ และปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม 4 เหมืองแร่ - การผลิตแร่เชื้อเพลิง เช่น ก๊าซธรรมชาติ ขยายตัว - การผลิตยิปซั่ม หินปูน ลิกไนต์ ที่ใช้ในการก่อสร้างลดลงอย่างมาก 5 ด้านอุตสาหกรรม - วัตถุดิบและดอกเบี้ยจากต่างประทศราคาแพง ค่าเงินบาทลด - ทั้งอุตสาหกรรมภายในและส่งออกชะลอตัวหมด โดยเฉพาะด้านยานยนต์ และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดยาสูบ เกิดจากเพิ่มภาษีสรรพสามิต - ด้านสิ่งทอขยายตัวน้อย เพราะอยู่ในช่วงปรับการผลิตมาเป็นเครื่องจักรที่มีราคาสูง - ค่าแรงแพงกว่าประเทศคู่แข่ง คือ จีน อินโดเนเซีย เวียดนาม 6 การก่อสร้าง ndash ลดลงอย่างมาก 7 การค้า - ลดลงอย่างมาก 8 ด้านบริการ - การท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศไทยจำนวนมาก
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!