อาหารสำหรับลูกแต่ละวัย?
อาหารสำหรับลูกอายุ3-6เดือนเด้กสามารถทานอะไรด้บ้าง
อาหารสำหรับลูกอายุ3-6เดือนเด้กสามารถทานอะไรด้บ้าง
นมแม่อย่างเดียวมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำเป็นต้องได้รับอาหารอื่นเสริม และเมื่อทารกเติบโตขึ้นอายุ 4-5 เดือน ทารกก็เริ่มหัดเคี้ยว ดังนั้นทารกควรจะได้รับอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวหรืออาหารอ่อน เพื่อสร้างความคุ้นเคยและสร้างลักษณะนิสัยการกินที่ดีต่อไป แรกๆ ก็จะเป็นอาหารบดละเอียด และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นอาหารที่มีเนื้อหยาบขึ้นเมื่อเริ่มมีฟันเคี้ยวได้ นอกจากนี้ยังต้องฝึกฝนกล้ามเนื้อด้วยการให้ถือช้อนถือแก้วน้ำเองบ้าง หรือหยิบอาหารชิ้นๆ กินเองได้ เมื่อลูกอายุ 4 เดือน ขึ้นไป ลูกจะต้องการอาหารมากขึ้น ทั้งปริมาณ และชนิดอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ที่เพิ่มขึ้น นอกจากจะให้ลูกดื่มนมแม่ ต่อไปเรื่อยๆ ให้นานที่สุดแล้ว พ่อแม่ควรเริ่มหัดให้ลูก ได้กินอาหารอื่น ที่เหมาะสมตามวัย ให้สอดคล้องกับความต้องการ และฝึกให้ลูก ได้พัฒนาการเคี้ยว การกลืน อีกด้วย การให้อาหาร ควรป้อนทีละน้อย ค่อยๆ เพิ่มชนิด และปริมาณ ระยะแรก บดให้ละเอีย ดและเหลว ต่อมา บดให้พยาบขึ้น เมื่ออายุ 7-8 เดือน เพื่อฝึกให้ลูก ใช้ฟันบดเคี้ยว พอลูกอายุ 1-2 ขวบ สอนให้ลูก หัดดื่มนมจากแก้ว หยิบ หรือตักอาหารกิน ด้วยตนเอง และให้กินอาหาร ร่วมสำรับกับครอบครัว อายุ 4 เดือน เริ่มให้ข้าวต้ม หรือข้าวสุก บดละเอียด ผสมน้ำแกงจืด และไข่แดงต้มสุก หนึ่งในสี่ฟอง ที่บดละเอียดแล้ว เริ่มป้อนให้ลูก วันละ 1-2 ช้อนโต๊ะ อาจสลับ หรือเพิ่มกล้วยน้ำว้าสุกบดหรือครูด มะละกอสุกครูดหรือบด 1-2 ช้อนโต๊ะ และค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้น วันละเล็กวันละน้อย อายุ 5-6 เดือน นอกจากไข่แดงต้มสุกแล้ว ควรเริ่มให้ลูกได้รับเนื้อปลา และเนื้อสัตว์อื่นๆ เช่น ไก่ หมู เนื้อวัว รวมทั้งตับสัตว์ ซึ่งสับหรือบดละเอียด ปรุงสุก คลุกเคล้ากับข้าวบด โดยไม่ต้องปรุงแต่งรส ควรเพิ่มผักบางชนิด ทั้งผักใบเขียว หรือผักสีเหลือง เช่น ผักตำลึง ผักบุ้ง ผักกาดขาว ฟักทอง ถั่วต้ม ซึ่งปรุงสุก เปื่อยนิ่มและบดละเอียด เมื่อลูกอายุ 6 เดือน ควรให้อาหารเหล่านี้ประมาณ 1 2 - 1 ถ้วย คือ 8 - 16 ช้อนโต๊ะ เป็นอาหารหลักแทนนมแม่ได้ 1 มื้อ ที่มา
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!