โรคซีวีเอส มีอาการอย่างไร?
โรคซีวีเอส มีอาการอย่างไร
โรคซีวีเอส มีอาการอย่างไร
โรคซีวีเอส หรือ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม computer vision syndrome มักเกิดกับคนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น เกินสองถึงสามชั่วโมง มักจะมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย อาการทางสายตาเหล่านี้เกิดจากการจ้องดูข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป สาเหตุของโรค 1 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่ค่อยกระพริบตา ปกติแล้วเราทุกคนจะต้องกระพริบตาอยู่เสมอ เป็นการเกลี่ยน้ำตาให้คลุมผิวตาให้ทั่วๆ โดยมีอัตราการกระพริบ 20 ครั้งต่อนาที หากเราอ่านหนังสือหรือนั่งจ้องคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบจะลดลง โดยเฉพาะการจ้องคอมพิวเตอร์การกระพริบตาจะลดลงกว่าร้อยละ 60 ทำให้ผิวตาแห้ง ก่อให้เกิดอาการแสบตา ตาแห้ง รู้สึกฝืดๆ ในตา 2 แสงจ้า และแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ตาเมื่อยล้า ทั้งแสงจ้าและแสงสะท้อนมายังจอภาพ อาจเกิดจากแสงสว่างไม่พอเหมาะ มีไฟส่องเข้าหน้าหรือหลังจอภาพโดยตรง หรือแม้แต่แสงสว่างจากหน้าต่างปะทะหน้าจอภาพโดยตรง ก่อให้เกิดแสงจ้าและแสงสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ทำให้เมื่อยล้าตาง่าย 3 การออกแบบและการจัดภาพ ระยะทำงานที่ งจากจอภาพให้เหมาะสม ควรจัดจอภาพให้อยู่ในระยะพอเหมาะที่ตามองสบายๆ ไม่ต้องเพ่ง โดยเฉลี่ยระยะจากตาถึงจอภาพควรเป็น 0 45 ถึง 0 50 เมตร ตาอยู่สูงกว่าจอภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้แว่นสายตาที่มองทั้งระยะใกล้และไกล จะต้องตั้งจอภาพให้ต่ำกว่าระดับตา เพื่อจะได้มองตรงกับเลนส์แว่นตาที่ใช้มองใกล้ 4 รายงานการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2004 พบว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรคซีวีเอสคือ มุมของระดับสายตา angle of gaze กับจอคอมพิวเตอร์ อาการต่างๆ จะหายไปเมื่อมุมดังกล่าวมากกว่า 14 องศา ส่วนปัจจัยอื่นๆ จากการวิจัยพบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อาการของโรค ตาเมื่อยล้า ตาแห้ง แสบตา ตาสู้แสงไม่ได้ ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยบ่า ไหล่ คอ หรือปวดหลัง วิธีแก้ไข 1 ถ้ารู้สึกตัวว่าจ้องหน้าจอนานเกินไป ให้กระพริบตาให้บ่อยขึ้น หรือพักสายตาโดยการละสายตาจากคอมพิวเตอร์ หลังจากใช้ไปประมาณ 20 ndash 30 นาที หรืออาจใช้ยาหล่อลื่นลูกตาประเภทน้ำตาเทียม 2 จัดแสงไฟและตำแหน่งจอภาพให้เหมาะสม อย่าให้จอภาพหันหน้าเข้าหน้าต่างหรืออยู่ตรงหน้าต่าง โคมไฟที่ส่องหน้าตรงๆ ลงมาอาจทำให้เกิดแสงจ้า น่าจะเปลี่ยนเป็นหลอดไฟที่กระจายทั่วๆ ไป หรือโคมไฟที่ส่องเฉพาะกระดาษ อย่าให้แสงปะทะกับจอภาพและตาผู้ใช้ 3 ปรับคลื่นแสงที่หน้าจอ Refresh rate ซึ่งเครื่องส่วนใหญ่จะปรับอยู่ที่ 60 Hz ซึ่งขนาดนี้ทำให้เกิดแสงกระพริบทำให้ภาพบนจอเต้นกระตุ้นให้เราต้องปรับตาเพื่อโฟกัสใหม่อยู่เรื่อยๆ ทำให้ตาเมื่อยล้าได้ ควรปรับความถี่ให้อยู่ระดับ 70-80 Hz จะทำให้จอภาพเต้นน้อยลง สบายตาขึ้น
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!