ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การทำ EIA?, การทำ EIA? หมายถึง, การทำ EIA? คือ, การทำ EIA? ความหมาย, การทำ EIA? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

การทำ EIA?

มีโครงการประเภทใดบ้างที่จะต้องทำ EIA nbsp ดูจากอะไรที่จะต้องทำ EIA

คำตอบ

                  การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment EIA หมายถึง “ การวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการหรือกิจการประเภทต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อม หรือสภาพแวดล้อมที่อาจจะมีผลกระทบต่อโครงการหรือกิจการนั้น ทั้งในทางบวกและทางลบ เพื่อเป็นการเตรียมการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการหรือกิจการนั้นๆ ” โครงการที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม                   อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 และมาตรา 51แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ ศ 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ซึ่งดำเนินโครงการหรือกิจการหรือจะดำเนินการขยายโครงการหรือกิจการ จำนวน 22 โครงการ ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาและเห็นชอบก่อนดำเนินโครงการ โครงการหรือกิจกรรมที่ต้องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน 22 โครงการ ดังนี้ โครงการหรือกิจกรรม ขนาด 1 เขื่อนเก็บน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ ที่มีปริมาตรเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100 ล้าน ลบ ม หรือ มีพื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป 2 การชลประทาน ที่มีพื้นที่การชลประทานตั้งแต่ 80 000 ไร่ขึ้นไป 3 สนามบินพาณิชย์ ทุกขนาด 4 ระบบทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษ หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับการทางพิเศษ หรือระบบ ขนส่งมนชนที่ใช้ราง ทุกขนาด 5 การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ทุกขนาด 6 นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยนิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ทุกขนาด 7 ท่าเรือพาณิชย์ สามารถรับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป 8 โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป 9   การอุตสาหกรรม       1 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้วัตถุดิบ และ หรือการแยกก๊าซธรรมชาติในกระบวน การผลิต       2 อุตสาหกรรมกลั่นนำมันปิโตรเลียม       3 อุตสาหกรรมแยกหรือแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ       4 อุตสาหกรรมคลอแอลคาไลน์ ที่ใช้โซเดียมคอลไรด์ เป็นวัตถุดิบในการผลิตโซเดียมคาร์บอเนต โซเดียมไฮดรอกไซด์ กรอไฮโดรคอลริค คลอรีน โซเดียมไฮโพคลอไรด์ และปูนคลอรีน       5 อุตสาหกรรมเหล็กและ หรือเหล็กกล้า       6 อุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์         7 อุตสาหกรรมถลุงแร่หรือหลอมโลหะ ซึ่งมิใช่อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า             8 อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ   ตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป ทุกขนาด ทุกขนาด ที่มีกำลังผลิตสารดังกล่าวแต่ละชนิดหรือรวมกันตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป ทุกขนาด   ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป                                           ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป 10 โครงการทุกประเภทที่อยู่ในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ กำหนดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น   1บี ทุกขนาด 11 การถมที่ดินในทะเล ทุกขนาด 12 อาคารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ   ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรือชายหาด   หรือที่อยู่ใกล้   หรือในอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานประวัติศาสตร์   ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาคารที่มีขนาด 1 ความสูงตั้งแต่   23   เมตรขึ้นไป หรือ 2 ที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใด ในหลังเดียวกัน ตั้งแต่   10 000   ตร ม ขึ้นไป 13 การจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือเพื่อประกอบการพาณิชย์   จำนวนที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 500   แปลงขึ้นไป หรือ เนื้อที่เกินกว่า   100   ไร่ 14 โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล 1 กรณีตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรือชายหาด ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2 กรณีโครงการที่ไม่อยู่ในข้อ 1 1 ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป 2 ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 60 เตียงขึ้นไป 15 อุตสาหกรรมผลิตสารออกฤทธิ์   หรือ สารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์โดยกระบวนการทางเคมี ทุกขนาด 16 อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมีโดยกระบวนการทางเคมี ทุกขนาด 17 ทางหลวงหรือถนน   ซึ่งมีความหมายตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ที่ตัดผ่านพื้นที่ดังต่อไปนี้ 1   พื้นที่เขตรักษาพันธสัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามกฎหมาย ว่า ด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2   พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ 3 พื้นที่เขตลุ่มน้ำชั้น 2 ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว 4   พื้นที่เขตป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ 5   พื้นที่เขตฝั่งทะเลในระยะ   50   เมตรห่างจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด ทุกขนาดที่เทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานต่ำสุดของทางหลวง ชนบทขึ้นไป โดยรวมความถึงการก่อสร้างคันทางใหม่เพิ่มเติมจากคันทางที่มีอยู่ 18 โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศ ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่   80   ห้องขึ้นไป 19 อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่   80   ห้องขึ้นไป 20 โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม เฉพาะสิ่งปฎิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ทุกขนาด 21 อุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาลดังต่อไปนี้ 1 การทำน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 2 การทำกลูโคล เดกซ์โทรส ฟรักโทส หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน 1 ทุกขนาด 2 ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 20 ตันต่อวันขึ้นไป 22 การพัฒนาปิโตรเลียม 1 การสำรวจและ หรือผลิตปิโตรเลียม 2 ระบบการขนส่งปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ 1 ทุกขนาด 2 ทุกขนาด ข้อมูลเพิ่มเติม

การทำ EIA, การทำ EIA หมายถึง, การทำ EIA คือ, การทำ EIA ความหมาย, การทำ EIA คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu