โรคหัวใจ เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิต ที่สำคัญของคนไทย โดยแนวโน้มนี้เพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากการใช้ชีวิตของคนไทยในปัจจุบันเอื้อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น สาเหตุเนื่องจากอาหารการกินที่ประกอบไปด้วย ไขมันที่ไม่มีประโยชน์ ลักษณะการดำเนินชีวิตที่ไม่ได้ออกกำลังกายนั่งอยู่กับที่ ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงภายในที่มีอยู่ทำให้เกิด ไขมันไปสะสมในหลอดเลือดทีละน้อย ๆ ในที่สุดมีผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น จนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ หรือบางครั้งไขมันที่สะสมอยู่แตกเข้าไปในหลอดเลือด ที่ให้เกิดการหลุดตันของหลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดทันทีที่เรียกว่า ฮาร์ทแอ็คแทค ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เสียชีวิตฉับพลัน
ทำไมต้องเป็นศูนย์หัวใจพญาไทเพอร์เฟคฮาร์ท
โรงพยาบาลพญาไท และสถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท เล็งเห็นความสำคัญของโรคหัวใจ จึงได้จัดทีมแพทย์หัวใจที่มีความชำนาญ ในแต่ละด้าน มาดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ โดยเน้นการทำงานเป็นทีม ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง ทันเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง ร่วมกับเทคโนโลยีการรักษาทางหัวใจที่ทันสมัยที่สุด ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจ เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจมีความปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อน และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ้
ทำไมต้องตรวจหัวใจ
ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งนึงไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคหลอดเลือด เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคหัวใจมักไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่มาก อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจหลัก ๆ คือ อาการ เจ็บแน่นหน้าอก หรืออาการเหนื่อยง่าย เพราะฉะนั้นคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจควรจะได้รับตรวจหัวใจ ใครคือผู้ที่มีความเสี่ยงกับโรคหลอดเลือดหัวใจบ้าง
1. ผู้ชาย
2. สูบบุหรี่
3. อายุมาก
4. เบาหวาน
5. ความดันโลหิตสูง
6. ไขมันในเลือดสูง
7. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
8. อ้วน
9. ขาดการออกกำลังกาย
การตรวจหัวใจมีอะไรบ้าง
1. การตรวจคลื่นหัวใจ ( EKG) เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะสามารถบอกความผิดปรกติของหัวใจได้อย่างคร่าว ๆ ถ้าไม่มีอาการ จะวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจได้เพียง 30% เท่านั้น แต่ถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกฉับพลัน จะให้การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
2. การตรวจคลื่นหัวใจร่วมกับการเดินสายพาน ( Exercise stress test) เป็นการตรวจคลื่นหัวใจในขณะที่เดินสายพาน เป็นการตรวจสมรรถภาพหัวใจร่วมกับการทดสอบการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ การตรวจนี้ให้ความไวและความจำเพาะต่อโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดีกว่าคลื่นหัวใจธรรมดา
3. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ( Echocardiography) เป็นการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจแบบมีสี และสามารถดูเลือดที่ผ่านเข้าออกหัวใจ เหมาะสำหรับการดูลักษณะทางกายภาพของหัวใจ เช่นดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ดูลักษณะการรั่วและตีบของลิ้นหัวใจ และอื่น ๆ
4. การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินสายพานร่วมกับคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ( exercise stress echocardiography) เป็นการนำเอาการเดินสายพานพร้อมกับการติดคลื่นหัวใจ ร่วมกับการทำ ultrasound หัวใจพร้อม ๆ กัน ทำเพื่อตรวจสมรรถภาพหัวใจ จะให้ความไวและความจำเพาะได้ดีกว่าการตรวจ การเดินสายพานอย่างเดียว ความไวและความจำเพาะต่อโรคหลอดเลือดหัวใจจากการตรวจวิธีนี้สูงมากกว่า 90%
5. การตรวจดูการตีบและความแข็งตัวของหลอดเลือดที่บริเวณขาทั้งสองข้าง ( Ankle brachial index, ABI) เป็นการตรวจความดันที่แขนและขาพร้อม ๆ กัน พร้อมกับดูความแข็งของหลอดเลือดด้วย การตรวจนี้เป็นการตรวจแบบง่าย ๆ แต่มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจมาก เพราะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงที่ขามีขนาดใกล้เคียงกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ถ้ามีหลอดเลือดที่ขาตีบมักจะมีหลอดเลือดที่หัวใจตีบร่วมด้วย
6.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ( Holter monitor 24 hours) การตรวจนี้จะมีประโยชน์สำหรับคนที่มีอาการใจเต้น ใจสั่น หน้ามืดเป็นลมหรือวูบ ผู้ป่วยจะได้รับการติดคลื่นหัวใจ แบบพกพาและนำติดตัวกลับบ้านไปเหมือนติดเครื่องวิดิโอกลับบ้าน ไปดูว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในระหว่างที่ไม่ได้อยู่กับแพทย์ และนำเครื่องกลับแกะรหัสในเครื่องคอมพิวเตอร์อีกที
ขอขอบคุณ