ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ชีววิทยาของเต่าทะเล, ชีววิทยาของเต่าทะเล หมายถึง, ชีววิทยาของเต่าทะเล คือ, ชีววิทยาของเต่าทะเล ความหมาย, ชีววิทยาของเต่าทะเล คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
ชีววิทยาของเต่าทะเล

อาหารและการกินอาหารของเต่าทะเล

          เต่าทะเล เป็นสัตว์ที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร ส่วนเต่าตนุวัยอ่อนจะกินพวกสัตว์เล็กๆ และเมื่อโตขึ้นจะกินพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเต่ากระที่จับมากทำการเลี้ยงไว้นั้นสามารถกินสัตว์ได้ โดยธรรมชาติแล้วจะไม่พบสัตว์ในกระเพาะของมันตากตัวอย่างที่ได้พบเต่าติดอวนและตายลง เนื่องจากคอหัก เมื่อผ่าดูและตรวจดูที่บริเวณกระเพาะของมัน ปรากฏว่ามีแต่พืช เช่น สาหร่าย (Sargassum sp.) และ สาหร่ายสีเขียว (green algae) อยู่เป็นจำนวนมาก ไม่พบสัตว์ในกระเพาะเต่าตนุ ซึ่งไม่เหมือนกับเต่ากระที่กินอาหารพวกสัตว์เล็กๆ เช่น แมงกะพรุน กุ้ง ปู ปลา หอย และพืช รวมทั้งตะไคร่น้ำตามแนวหิน

          ในระหว่างเวลาในตอนกลางวันจะไม่พบเต่าทะเลในบริเวณน้ำตื้น จึงสันนิษฐานได้ว่าเต่าทะเลคงจะหากินในเวลากลางคืนและช่วงเวลานั้นขึ้น แต่ในบางครั้งพบเต่าทะเลในบริเวณน้ำที่มีความลึกประมาณ 13-15 เมตร ในช่วงเวลากลางวัน และด้วยเต่าทะเลเป็นสัตว์ที่ใช้ปอดในการหายใจจึงทำให้บ่อยครั้งที่พบเต่ทะเลขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ เมื่อเต่าทะเลขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำก็จะสามารถปรับหรือลดความดันของบรรยากาศายในได้รวดเร็วและไม่เป็นอันตราย อันเป็นคุณสมบัติพิเศษกว่าสัตว์น้ำชนิด ยกเว้นสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนำบางชนิดเท่านั้น นอกจากนี้เต่าทะเลยังมีสัญชาติญาณอีกหลายประการที่น่าสนใจ เช่น การรู้ทิศทางของทะเลในการขึ้นมาวางไข่ หรือแม้แต่ลูกเต่าทะเลที่เพิ่งออกจากไข่และหลุมใหม่ๆ จะมีความสามารถรู้ทิศทางในการลงสู่ทะเลได้ถูกต้อง และความสามารถที่สำคัญอีกอย่างของเต่าทะเลก็คือการรู้เวลาว่าเมื่อใดเป็นเวลาน้ำขึ้นและน้ำลง ซึ่งทำให้เต่าทะเลสามารถระบุเวลาที่เหมาะสมได้ เป็นต้น



สถานที่เต่าทะเลวางไข่

          สถานที่และบริเวณที่เต่าทะเลแต่ละชนิดใช้ในการวางไข่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เต่าทะเลจะขึ้นไปวางไข่ในบริเวณหาดทรายที่อยู่เหนือระดับน้ำขึ้น และหาดนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นทรายขาวและสะอาด ซึ่งเต่าทะเลจะสร้างรังไข่เหนือระดับที่ขึ้นสูงสุด แต่ก็มีเต่าทะเลบางตัวที่ขึ้นวางไข่ไกลจากระดับน้ำขึ้นสูงสุดถึง 200 เมตร



การผสมพันธุ์ของเต่าทะเล

          การผสมพันธุ์ของเต่าทะเลเป็นการผสมพันธุ์แบบภายใน (Internal Fertilization) การผสมพันธุ์ในแต่ละครั้งของเต่าทะเลใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และจะอยู่ในช่วงเวลาน้ำขึ้น โดยที่เต่าทะเลเพศผู้จะใช้อุ้งเท้า (Forelimp) ประกบจับด้านหลังของเต่าทะเลเพศเมีย หลังจากนั้นเต่าทะเลเพศผู้จะขึ้นคล่อมอยู่บนหลังเต่าทะเลเพศเมีย โดยใช้ระยางค์ทั้งสี่จับแน่นพร้อมกันนั้น เต่าทะเลเพศผู้และเพศเมียจะยื่นอวัยวะเพศของทั้งสองมาพบกัน และเต่าทะเลเพศผู้ก็จะถ่ายน้ำเชื้อเข้าสู่อวัยวะเพศเมียเข้าสู่ท่อมดลูกซึ่งแยกออกเป็นสองท่อ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 สัปดาห์แม่เต่าตัวนั้นก็จะขึ้นมาวางไข่

          อวัยวะของเต่าและเพศเมีย จะสามารถเห็นได้ชัดเจนในขณะวางไข่ ซึ่งจะมีลักษณะยื่นยาวออกมา และจะหดเมื่อทำการวางไข่เสร็จ ตัวอย่างเช่น เต่าตนุที่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดไม้ขาว ในคืนของวันที่ 29 พฤศจิกายน 2507 ออกไข่ 132 ฟอง และสามารถวัดอวัยวะเพศเมียได้ มีขนาดของความยาวประมาณ 6 นิ้วฟุตเศษ อวัยวะส่วนนี้ประกอบด้วยผิวหนังที่มีความยืดหยุ่น



เพศ และลักษณะของเพศในเต่าทะเล

          เต่าทะเลเพศผู้และเพศเมียแยกอยู่กันคนละตัว (Sex Dimorphism) และอวัยวะสืบพันธุ์จะอยู่ภายนอกลำตัว ที่เรียกว่า Intromittent Organ ซึ่งลักษณะเพศของเต่าทะลเจะสามารถเห็นได้ชัดเจนหรือไม่ชัดเจนก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเต่าทะเล เพศของเต่าทะเลจะอยู่ท้ายสุดของลำตัวมีลักษณะคล้ายหาง อวัยวะเพศผู้จะมีลักษณะใหญ่ ยาว และโค้งลงเล็กน้อยกว่าอวัยวะเต่าทะเลเพศเมีย ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมในการผสมพันธุ์ กระดองหนังของเพศเมียจะมีลักษณะโค้งออกด้านข้างเล็กน้อยในเต่าทะเลบางชนิด ส่วนเต่าทะเลเพศผู้จะมีกระดองหลังที่นูน และมีส่วนแคบยาวกกว่าเต่าทะเลเพศเมีย ระยางค์คู่หน้าของเต่าทะเลเพศผู้จะมีลักษณะยาวกว่าเต่าทะเลเพศเมีย ลักษณเพศของเต่าทะเลจะยังไม่ปรากฏให้เห็นชัดในระยะวันอ่อนของเต่าทะเล



การสร้างรังและการวางไข่

          แม่เต่าทะเลที่ขึ้นวางไข่จะมีอายุประมาณ 15-18 ปีขึ้นไป และเชื่อว่าเต่าที่มีอายุถึง 100 ปีก็สามารถขึ้นมาวาไข่ได้เช่นกัน แม่เต่าทะเลใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในการขุดทรายเพื่อทำหลุมวางไข่ เต่าทะเลที่พร้อมจะวางไข่จะขึ้นมาทำการวางไข่บนหาดทรายในเวลาเดือนมืดและมีคลื่นลมแรง ฟ้าคะนอง และมีฝนตก และเมื่อแม่เต่าทะเลขึ้นมาบนหาดทรายแล้วก็จะหาที่ๆ เหมาะสมขุดหลุมทำรังวางไข่ โดยที่บริเวณนั้นและขณะนั้นจะต้องปราศจากสิ่งรบกวนที่จะทำอันตรายต่อตัวมัน เมื่อได้สถานที่เหมาะสมก็จะเริ่มใช้ขาหน้าทำการขุดหลุม หลังจากนั้นก็จะลงไปหมอบในหลุมแล้วใช้ระยางค์คู่หลังทำการขุดต่อไป โดยที่มันจะหันหรือหมุนตัวเองไปตามทิศทางที่ต้องการจะเอาทรายขึ้นโดยรอบ เมื่อมันเห็นว่าหลุมที่ขุดมีความลึกพอสมควร คือประมาณ 60 ซม. แต่บางหลุมอาจจะมีความลึกถึง 1-2 เมตร หรือบางหลุมก็ตื้นประมาณ 15 ซม. ก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่บริเวณนั้นว่ามีสภาพเป็นอย่างไร เมื่อแม่เต่าขุดหลุมได้ขนาดที่ต้องการแล้ว มันจะคลานไปข้างหน้าเพื่อให้เหลือที่ในการวางไข่

          ในการวางไข่นั้นแรกเริ่มมันจะขับนั้นเมือกออกมารองรับที่ก้นหลุม เพื่อเป็นการช่วยในการหล่อลื่นและเพื่อห้องกันการสูญเสียน้ำในใข่ขณะวางไข่ กล่าวคือ ไข่เต่าทะเลในระยะที่ผิวยังบางอยู่นั้น เมื่อมาถูกกับน้ำเมือก จะทำให้น้ำเมือกเกาะไข่และแห้งเป็นฝุ่นสีขาวนวลหุ้มอยู่ช่วยในการระเหยของน้ำจากภายใน จากนั้นแม่เต่าก็จะวางไข่ และในขณะนี้เองที่น้ำตาของมันจะไหลออกมา ซึ่งชาวบ้านเข้าใจว่าเต่าทะเลร้องไห้ แต่ทั้งนี้เป็นเพราะทรายเข้าตา หรือเป็นเพราะความเจ็บปวดในการวางไข่ก็เป็นได้ ในระยะการวางไข่นี้จะใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที ขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ที่แม่เต่าไข่ออกมา หลังจากวางไข่เรียบร้อยแล้ว มันจะทำการกลบและทับหลุมที่วางไข่ด้วยทรายจนมีสภาพเหมือนเดิม โดยการใช้ระยางคู่หลังทำการกลบหลุม ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที ก่อนที่กลับลงสู่ทะเล แต่มีแม่เต่าบางตัวที่ขึ้นมาวางไข่แล้วไม่ยอมกลับทะเล ซึ่งส่วนมากจะเป็นเต่าทะเลที่มีอายุมาก บางตัวจะมีการขุดหลุมหลอก บางตัวจะรอเฝ้าไข่ถึงรุ่งเช้า และบางตัวจะมีการขุดหลุมแต่ไม่มีการวางไข่ในหลุมนั้น อาจมาจากการถูกรบกวนที่กำลังจะวางไข่ หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ก็ตาม

จำนวนไข่ของเต่าทะเล

          จากการศึกษาพบว่าเต่าทะเลที่มีอายุน้อยจะออกไข่ได้น้อย ส่วนเต่าทะเลที่มีอายุมากจะมีการออกไข่ได้มากกว่า จากข้อมูลที่ทำการสำรวจที่ จังหวัดภูเก็ต พบว่าแม่เต่าทะเลวางไข่เฉลี่ยแล้วประมาณ 120 ฟองต่อหนึ่งครั้ง และมีจำนวนมากที่สุด 226 ฟอง ต่ำสุด 3 ฟอง และบางหลุมไม่พบไข่เต่าเลย



การดูอายุของเต่า

          อายุของเต่าทะเลมิได้ตัดสินกันที่ขนาดตัวของเต่าทะเล แต่จะพอใช้การสังเกตจาก ในเต่าทะเลที่มีอายุมาก สีของเกล็ดจะมีสีคล้ำ และมีพวกหอยนางลม เพรียง และสิ่งแปลกปลอมเกาะติดที่กระดองหลัง และสังเกตอายุของเต่าทะเลได้จากการดูจำนวนไข่ที่เกิด ในเต่าที่มีอายุมาก ๆ อาจจะไม่สามารถออกไข่ได้เลย ส่วนในเต่าที่อายุน้อยจะสามารถออกไข่ได้ไม่มาก หรือได้จำนวนที่มาก็เป็นได้ นอกจานี้ ขนาดของไข่ก็สามารถบอกอายุได้ ถือถ้าเป็นไข่ของเต่าทะเลที่มีอายุมากแล้ว จะมีขนาดของไข่ที่ใหญ่กว่าในแม่เต่าที่มีอายุน้อยๆ



ระยะที่ไข่ใช้ในการฟักตัว

          ในความเชื่อของคนทั่วไปเต่าทะเลจะฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากการวางไข่ของแม่เต่าทะเล แต่จากการศึกษาพอที่จะสรุปได้ คือ

          o เต่ากระจะใช้เวลาในในการฟักตัวเร็วกว่าเต่าชนิดอื่น คือประมาณ 45-53 วัน
          o เต่าตนุจะใช้เวลาในการฟักเป็นตัว ประมาณ 47-58 วัน
          o เต่าหญ้าจะใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 60 วัน
          o เต่ามะเฟือง ใช้เวลาในการฟักเป็นตัว ประมาณ 58-65 วัน

          หลังจากที่ลูกเต่าทะเลฟักออกจากไข่จะยังไม่ออกจากหลุมทันที จนกว่า 2-3 วันผ่านไป ลูกเต่าทะเลจึงจะหันหัวขึ้นในลักษณะเตรียมโผล่พ้นพื้นทราย ตัวใดไม่สามารถโผล่พ้นทรายได้ก็จะตาย และโดยสัญชาติญาณเมื่อลูกเต่าโผล่พ้นทรายมาก็จะลงสู่ทะเลทันที ซึ่งเป็นในช่วงเวลากลางคืน

          จากการศึกษาลูกเต่าวัยอ่อนอายุประมาณ 2-4 สัปดาห์ พบว่าเมื่อทำการปล่อยลูกเต่าแล้ว ลูกเต่าจะเริ่มว่ายน้ำแข่งกันออกสู่ทะเลลึก แต่มีบางตัวที่ว่ายหลบซ่อนอยู่ตามโขดหินและหมู่ปะการัง และจาการศึกษายังพบอีกว่าลูกเต่าตนุที่มีอายุ ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป ลูกเต่าจะมีกระดองที่แข็งและว่ายน้ำได้ว่องไว จะมีขนาดความยาวประมาณ 4-5 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะที่ปลอดภัยจาการเป็นอาหารของปลาและนก

          นอกจากนี้เรื่องเต่าทะเลที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ลูกเต่าทะเลที่มีขนาดเล็กกว่า 1 กก. จะไม่พบเห็นอยู่ตามธรรมชาติ



ศัตรูของไข่และลูกเต่าทะเล

          ศัตรูของไข่และลูกเต่าทะเลบนพื้นบกที่สำคัญก็มี คน สุนัขที่ใช้เท้าหน้าขุดหลุม ส่วนแรน (ตะกวดชนิดหนึ่ง) จะใช้หางขุดทรายเอาไข่และลูกเต่าทะเลวัยอ่อนมากินเป็นอาหาร และส่วนในระยะที่ลูกเต่าทะเลออกจากหลุมและลงสู่ทะเลก็อาจตกเป็นเหยื่อแก่นก ปลาใหญ่และฉลาม

ที่มา www.talaythai.com

 


ชีววิทยาของเต่าทะเล, ชีววิทยาของเต่าทะเล หมายถึง, ชีววิทยาของเต่าทะเล คือ, ชีววิทยาของเต่าทะเล ความหมาย, ชีววิทยาของเต่าทะเล คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu