ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร?, ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร? หมายถึง, ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร? คือ, ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร? ความหมาย, ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร?

ชื่อชาวพม่าที่ขึ้นต้นว่า หม่องโน่น หม่องนี่ หมายความว่าอะไรครับ หรือว่าเป็นคำนำหน้านามเหมือนกับคำว่า “นาย” ของไทย

(คนไทยผู้ชอบใช้ยาหม่อง / กรุงเทพฯ)

คำตอบ

ผู้ที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับประเทศพม่าอยู่บ่อย ๆ คงจะนึกสงสัยว่า ทำไมคนพม่าจึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า หม่อง อู โก มะ ด่อ ฯลฯ เช่น หม่องเอ ด่ออองซานซูจี อูวินอ่อง มะติ่นวิน ฯลฯ จริง ๆ แล้วคำเหล่านี้ บางครั้งไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชื่อคนคนนั้น แต่เป็นคำนำหน้าเพื่อบ่งบอกวัยหรือสถานภาพทางสังคมของบุคคลนั้น เหมือนกับคำว่า เด็กชาย นาย นาง นางสาว หรือคำว่า พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ของคนไทย

คำนำหน้าชื่อของชาวพม่ามีอะไรบ้าง และใช้กับใคร ในโอกาสไหน&hellip ลองมาเรียนรู้กัน

เริ่มจากคำนำหน้าชื่อของผู้ชาย คำว่า หม่อง ที่เรามักพบเห็นบ่อย ๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ และเป็นคำที่คนไทยนิยมเรียกเพื่อสื่อความหมายถึงคนพม่า เช่น รัฐบาลหม่อง ซึ่งหมายถึงรัฐบาลพม่า อันที่จริงแล้วคำว่า หม่อง ในภาษาพม่าจะใช้นำหน้าชื่อผู้ชายพม่าที่มีอายุไม่เกิน ๑๕ ปี เหมือนกับคำว่า เด็กชายในภาษาไทย แต่บางครั้งชาวพม่าก็อาจจะใช้คำว่า หม่อง มาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อได้เช่นกัน ดังเช่น พลเอกหม่องเอ ผู้นำคนสำคัญของพม่า เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้คำว่าหม่องไม่ใช่คำนำหน้าเด็กผู้ชายแต่อย่างใด

ผู้ชายตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงประมาณ ๓๐ ปี จะใช้คำนำหน้าหรือคำเรียกชื่อว่า โก ซึ่งหมายถึง นาย ในภาษาไทย ถึงแม้ว่าจะแต่งงานแล้วแต่ถ้าอายุยังไม่เกิน ๓๐ ปี ก็ยังใช้คำว่า โก อยู่ เช่น โกหน่ายวิน หมายถึง นายหน่ายวิน นอกจากนี้ผู้ใหญ่สามารถเรียกเด็กหนุ่มที่อ่อนวัยกว่าว่า โก ก็ได้ ส่วนคนที่เราให้ความเคารพนับถือเป็นพี่ชายอาจเรียกว่า อาโก ก็ได้ ส่วนผู้ชายที่มีอายุเกิน ๓๕ ปีขึ้นไปจะใช้คำนำหน้าชื่อว่า อู หมายถึง ลุงหรืออา หรืออาจเรียกว่า อูเล เฉย ๆ โดยไม่ต้องเอ่ยชื่อก็ได้เช่นกัน

สำหรับคำนำหน้าชื่อผู้หญิงนั้นนิยมใช้คำว่า มะ หมายถึง ผู้หญิงหรือเพศหญิง เป็นคำเรียกขานแบบทั่ว ๆ ไป จะใช้นำหน้าชื่อผู้หญิงตั้งแต่เด็กจนเป็นสาว หรือเรียกชื่อผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า แต่ถ้าเป็นพี่สาวหรือผู้หญิงที่เราให้ความเคารพและสูงวัยกว่า จะเรียกว่า อามะ โดยจะไม่ใส่ชื่อตามหลังอีก

ส่วนคำว่า ด่อ จะใช้นำหน้าชื่อผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือมีคุณวุฒิในตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป อาจจะเรียกว่า อาด่อ ซึ่งหมายถึงน้าหรือป้าก็ได้ เช่น ด่ออองซานซูจี

นอกจากนี้คนพม่ายังใช้คำว่า อาโพ้ หรือ โพ้โพ้ เพื่อใช้เรียก ปู่ ตา หรือชายสูงอายุ ส่วน ย่า ยาย หรือหญิงสูงอายุ จะเรียกว่า อาพั้ว หรือ พั้วพั้ว

การเรียกชื่อของชาวพม่า โดยปรกติจะไม่เรียกชื่ออย่างเดียวเพราะเป็นการไม่สุภาพและไม่ให้เกียรติกัน ต้องมีคำนำหน้าด้วย เพราะฉะนั้นหากผู้อ่านได้เจอชาวพม่าหรือมีเพื่อนเป็นชาวพม่า ก็อย่าลืมนำคำเหล่านี้ไปใช้

ข้อมูลนี้ "ซองคำถาม" ได้มาจากบทความเรื่อง "ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร" โดย ตะวันกับปั้นดาว ใน สาละวินโพสต์ ฉบับที่ ๑๘ วันที่ ๑ ต.ค.-๑๕ พ.ย. ๒๕๔๗

"ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี"

ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร, ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร หมายถึง, ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร คือ, ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร ความหมาย, ชาวพม่าใช้คำนำหน้าชื่อกันอย่างไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu