โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial heart disease)
โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ ประกอบด้วย โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ เนื่องจาก
1. โรคที่ทำให้มีการอักเสบหลายระบบ เช่น Systemic Lupus Erythematosus (SLE)
2. การฉายแสงรังสีหรือ trauma
3. การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
4. หลังผ่าตัดหัวใจ
5. ไม่พบสาเหตุ
โรคของเยื่อหุ้มหัวใจที่พบบ่อยที่ทำให้เกิดการสูญเสียสมรรถภาพได้แก่ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แบบบีบรัด (constrictive pericarditis) การผ่าตัดเพื่อเอาเยื่อหุ้มหัวใจออก สามารถลดอาการและทำให้ผู้ป่วย ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีในระยะหลังผ่าตัด ควรใช้เวลาช่วงหนึ่งในการพักฟื้นก่อนที่จะดำเนินการประเมินสมรรถภาพของผู้ป่วย
โดยทั่วไปอาการเจ็บหน้าอกหรือการทำงานผิดปกติของหัวใจ จะไม่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ อย่างถาวร แต่ในรายที่มีสาเหตุจากเนื้องอก หรือมีการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจซ้ำกันหลายครั้ง อาจทำให้มีการเสื่อมสภาพอย่างถาวรได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรอระยะเวลาหนึ่ง หลังจากที่มีการเจ็บป่วย อย่างฉับพลันในการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพ
การวินิจฉัยโรค อาจทำได้จาก ประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจพบน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้ม หัวใจหนา หรือหินปูนในเยื่อหุ้มหัวใจจากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหรือจากการตรวจ computerized tomography หรือการตรวจ magnetic imaging หรือการตรวจสวนหัวใจ
เกณฑ์การประเมินการสูญเสียสมรรถภาพจากโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ
ระดับที่ 1 มีการสูญเสียสมรรถภาพร้อยละ 0-10 ของทั้งร่างกาย
1. มีโรคของเยื่อหุ้มหัวใจแต่ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติขณะทำกิจวัตรประจำวัน และ
2. ไม่มีอาการแสดงของหัวใจโตหรือทำงานผิดปกติหรือหัวใจล้มเหลว และไม่ได้รับการรักษาด้วยยา หรือ
3. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเอาเยื่อหุ้มหัวใจออก และไม่มีโรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัด และมีเกณฑ์ ดังกล่าวข้างต้น
ที่มา https://www.srisangworn.go.th/SSOx/SSO/Frame/Content/Chapter10-386.html