เหล็กไหล เกิดจากอะไร ศักดิ์สิทธิ์จริงไหม?
เหล็กไหล เกิดจากอะไร ศักดิ์สิทธิ์จริงไหม
เหล็กไหล เกิดจากอะไร ศักดิ์สิทธิ์จริงไหม
เหล็กไหลเกี่ยวข้องกับความเชื่อของคนไทยมาช้านานในแง่อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเหล็กไหลของแท้นั้นคืออะไร xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๕ อธิบายคำว่าเหล็กไหลไว้ว่า คือโลหะชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษขนาดเอาไฟเทียนลนก็จะไหลย้อนกลับออกมา แต่ความเชื่อของชาวบ้านไปไกลกว่านั้น คือเชื่อว่าเหล็กไหลมีอิทธิฤทธิ์วิเศษ เช่น อธิษฐานให้ยืดหดได้ ยิงด้วยปืนจะยิงไม่ออก เป็นต้น ส่วนเหล็กไหลในกระบวนการการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นเพียงสะเก็ดดาวหรือเศษของลูกอุกกาบาตที่พุ่งชนโลก และหลอมละลายลงเมื่อเกือบประมาณ ๑ ล้านปีก่อน เหล็กไหลมีคุณสมบัติคล้ายนิล สามารถนำไปเจียระไนเป็นเครื่องประดับได้ บางคนนำไปประดิษฐ์เป็นดวงเนตรของพระประธานในโบสถ์ เคยมีคนเล่าว่า มีผู้ค้นพบวัตถุประหลาดสีดำ และสามารถตัดให้ขาดด้วยเทียนไขและน้ำผึ้ง บางคนสรุปทันทีว่านั่นคือเหล็กไหล ครั้นเกิดการวิเคราะห์และพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยนำบางส่วนของวัตถุประหลาดนั้นไปบด พบว่าวัตถุดังกล่าวมีลักษณะคล้ายแก้วซิลิเกต อันเกิดจากหลอมละลายของชั้นดินและชั้นทรายในเปลือกโลก มิใช่เหล็กไหลตามชื่อที่นิยมเรียกขานกัน เหล็กไหลจึงเป็นวัตถุมงคลชนิดหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ มิได้เกิดจากเนรมิตแต่อย่างใด ส่วนความพิสดารพันลึกในการทำพิธีตัดเหล็กไหลด้วยเทียนหรือเส้นผมนั้นเป็นเรื่องสนองจินตนาการที่คนมีล่วงหน้า หรือเป็นการใช้ทักษะมายากลมากกว่าอย่างอื่น เหตุจูงใจนั้นก็ชัดเจนว่า ยิ่งทำให้วัตถุชิ้นนั้นพิสดารมากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งมีราคาสูงขึ้นเท่านั้น บทสรุปที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างนี้ ช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยครับ ที่มา วิทยาศาสตร์รอบตัว จาก สสวท บทความ tabid 93 articleType ArticleView articleId 159 aspx
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!