การแต่งกายภาคใต้?
อยากการแต่งกายของไทยภาคใต้
อยากการแต่งกายของไทยภาคใต้
ประเพณีการแต่งกายของชาวปัตตานี โดยทั่วไปชาวบ้านโดยทั่วไป ทั้งผู้ที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม มีความนิยมเหมือนกัน คือ การนุ่งผ้าถุงหรือโสร่ง คนปัตตานีนิยมนุ่งผ้าถุงหรือโสร่งทั้งหญิงและชาย ผู้ชายนุ่งผ้าโสร่งลายตาหมากรุก ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าโสร่งปาเต๊ะ เสื้อก็สวมเสื้อที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป ในความนิยมที่เหมือนกันก็จะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัด ระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม คือ ผุ้หญิงมุสลิมเมื่ออกจากบ้านจะแต่งกายแบบมิดชิด ใช้เสื้อแขนยาวและมีผ้าคลุมศรีษะ กายกูบง ผู้ชายเมื่ออกจากบ้านจะนุ่งผ้าโสร่ง สวมเสื้อแขนยาวและจะมีผ้าโพกศรีษะ ผ้าตรือแบ หรือซือแบ หากไม่ใช้ผ้าโพกศรีษะก็จะใช้หมวกที่เรียกว่า กาปีเยาะ หรือซอเก๊าะ ผู้หญิงมุสลิม นิยมนุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อบานง หรือบายอ หรือกุรง หรือเสื้อประเภทท่อนที่ตัดเย็บแบบสากลหรือเสื้อยืด ถ้าอยู่กับบ้านจะไม่ใช้ผ้าคลุมศรีษะ เมื่ออกจากบ้านจึงจะคลุมศรีษะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะ วัย และการศึกษาของแต่ละบุคคล ส่วนผู้ชายนิยมสวมเสื้อตือโละบางอ ลักษณะมีลักษณะเป็นเสื้อคอกลมอาจมีคอตั้งแบบคอจีน ผ่าหน้าครึ่งหนึ่ง ติดกระดุมโลหะ ๓ เม็ด แขนเสื้อทรงกระบอกกว้างยาวจดข้อมือแต่พับชายขึ้นมาเล็กน้อย สวมกางเกงยาวแบบสากล สวมหมวกซอเก๊าะที่ทำด้วยกำมะหยี่สีต่างๆ หรืออาจสวมหมวกกะปิเยาะซึ่งเป็นทรงกลม ในวันนักขัตฤกษ์ หรือวันสำคัญทางทางศาสนาอิสลามชายมุสลิมในท้องถิ่นนี้อาจจะแต่งกายที่เรียกว่า สลีแน ลักษณะเหมือนชุดประจำชาติมาเลเซีย ชุดเกอบังซาอัน ชุดสลีแน ประกอบด้วยเสื้อตือโละบลางอมีลักษณะเป็นเสื้อคอกลมอาจมีคอตั้งแบบคอจีน ผ่าหน้าครึ่งหนึ่ง ติดกระดุมโลหะ ๓ เม็ด แขนเสื้อทรงกระบอกกว้าง ยาวจดข้อมือ แต่พับชายขึ้นมาเล็กน้อยนุ่งกับกางเกงจีน มีผ้าซอแก๊ะขนาดสั้นกว่าใช้เป็นผ้านุ่งของผู้หญิงนุ่งทับกางเกงให้ยาวเหนือเข่า อาจเหน็บกริชที่เอว และใช้สตาแงโพกศรีษะ เป็นผ้าโพกศรีษะที่พับเป็นรูปต่างๆ เสื้อบานง ภาษามลายูกลางเรียกว่า บันดง เป็นเสื้อคอวีผ่าหน้าตลอด กลัดด้วยเข็มขัด ตัวเสื้อเน้นรูปทรง แขนยาวรัดรูปจรดข้อมือ ชายเสื้อตรงหรือแหลมเล็กน้อย ต่อมาประยุกต์เป็นอีกแบบหนึ่งคือ เสื้อคอวีลึกปิดทับด้วยลิ้นผ้าสามเหลี่ยม เสื้อแบบนี้เรียก บานงแมแด เป็นเสื้อที่ได้รับอิทธิพลจากอินโดนีเซีย นิยมใช้ผ้าลูกไม้ ผ้ากำมะหยี่ ผ้าต่วน หรือผ้าชีฟองตัดเสื้อ ใช้นุ่งกับผ้าถุงธรรมดา หรือผ้าซอแกะ ที่มา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!