คอนแทคเลนส์?
จริงหรือไม่ว่า ลีโอนาร์โด ดาวินชี nbsp เป็นผู้คิดค้นคอนแทคเลนส์ ฟังแล้วน่าทึ่งมาก อุษณีย์ กรุงเทพฯ
จริงหรือไม่ว่า ลีโอนาร์โด ดาวินชี nbsp เป็นผู้คิดค้นคอนแทคเลนส์ ฟังแล้วน่าทึ่งมาก อุษณีย์ กรุงเทพฯ
บุคคลแรกที่เสนอเรื่องคอนแทคเลนส์ คือ บุคคลที่เป็นทั้งนักวาดภาพ ประติมากร สถาปนิก และวิศวกร ที่ชื่อ ลีโอนาร์โด ดาวินชี หนังสือเรื่อง Code on the Eye ของเขาที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่ ๑๖ พูดถึงการแก้ไขปัญหาสายตาสั้นโดยการใช้หลอดสั้น ๆ บรรจุน้ำและปิดปลายด้านหนึ่งด้วยเลนส์แผ่นเรียบ ปลายอีกด้านปล่อยไว้ให้แนบกับตา น้ำจะสัมผัสกับนัยน์ตาและช่วยหักเหแสง ทำหน้าที่เหมือนเลนส์โค้งนั่นเอง วิธีของดาวินชี เป็นหลักการที่ใช้กับคอนแทคเลนส์กันทุกวันนี้ นัยน์ตาของมนุษย์บอบบางมาก วัตถุที่จะมาสัมผัสได้จะต้องมีความเรียบอย่างยิ่ง ดังนั้นในช่วงหลายศตวรรษที่ยังใช้กระจกเป็นเลนส์จึงยังมีปัญหาความระคายเคืองอยู่มาก เพราะถึงแม้จะฝนกระจกให้เรียบที่สุดก็ยังมีความหยาบอยู่ ในทศวรรษที่ ๒๒๒๓-๒๒๓๓ ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยใส่วุ้นเคลือบตาไว้ก่อน แล้วจึงใส่เลนส์ที่มีขนาดพอดีกับตา วิธีนี้ไม่ได้ผลเนื่องจากเลนส์จะหลุดออกจากตาอยู่เสมอ คอนแทคเลนส์ที่ใช้การได้ดีพัฒนาขึ้นในปี ๒๔๒๐ โดยด็อกเตอร์ เอ อี ฟิค ชาวสวิส เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง hard lens ซึ่งแน่นอนว่ามีความหนา และไม่สบายตา กระจกที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์มีทั้งชนิดที่เป่าขึ้นและแบบหลอมให้มีความโค้งตามต้องการและมีผิวเรียบ แล้วจึงตัดให้มีขนาดพอดีกับตา คอนแทคเลนส์สมัยนั้นไม่ได้ใส่ไว้แค่บริเวณตาดำ แต่จะคลุมทั้งลูกนัยน์ตา เลนส์ของเขาช่วยให้เห็นภาพได้ชัดสมบูรณ์แบบ และผู้สวมใส่ต้องฝึกความอดทนแต่สถานเดียว กระจกยังคงเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์ชนิดแข็งอยู่จนถึงปี ๒๔๗๙ ในปีนั้นบริษัทไอ จี ฟาร์เบน ของเยอรมนีได้ผลิตเพลกซิกลาส ซึ่งเป็นเลนส์พลาสติกแบบแข็งออกมา และได้กลายเป็นวัตถุดิบใหม่ที่ได้รับการยอมรับในหมู่ผู้ผลิต จนช่วงกลางทศวรรษที่๒๔๘๓-๒๔๙๓ ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุชาวอเมริกันผลิตเลนส์ขนาดเล็กพอดีกับตาดำอย่างทุกวันนี้ จากนั้นจึงได้มีการออกแบบเลนส์แบบต่าง ๆ เรื่อยมา การผลิตคอนแทคเลนส์ทุกวันนี้ยังยึดหลักการที่ว่า คอนแทคเลนส์ที่ดีจะต้องอุ้มน้ำได้มาก โดยเฉพาะเลนส์ที่อุ้มน้ำได้ถึงร้อยละ ๘๐ด้วยเชื่อว่าน้ำจะช่วยให้ไม่เคืองตาและเพิ่มออกซิเจนให้เยื่อตา ทั้งที่ความจริงแล้วเลนส์ที่มีน้ำน้อยจะให้ภาพที่ชัดและถูกต้องกว่า “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!