คาราโอเกะ?
อยากทราบประวัติความเป็นมาของคาราโอเกะ รังสันต์ nbsp เชิดบุญชัย กรุงเทพฯ
อยากทราบประวัติความเป็นมาของคาราโอเกะ รังสันต์ nbsp เชิดบุญชัย กรุงเทพฯ
คนญี่ปุ่นรู้จักคาราโอเกะครั้งแรกเมื่อปี ค ศ ๑๙๗๖ คำว่า Kara แปลว่า ว่างเปล่า ไม่มีอะไร O-Ke มาจาก Orchestra เป็นการย่อภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษเข้าด้วยกัน หมายถึง เทปที่มีแต่เสียงดนตรี ไม่มีการขับร้อง แต่เดิมนั้นคาราโอเกะนิยมใช้กันในหมู่บริษัทมิวสิกโปรดักชันเมื่อให้นักร้องในสังกัดออกไปแสดงที่ใด จะได้ไม่ต้องนำนักดนตรีไปด้วย ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองและยุ่งยากในการขนย้ายเครื่องดนตรี เพียงนำเทปบันทึกเสียงดนตรีไปเปิดก็สามารถร้องได้เลย หลังจากนั้นบริษัทไพร์โอเนียร์แห่งประเทศญี่ปุ่นนำไปดัดแปลงใช้เป็นแบบเลเซอร์ดิสก์ จัดจำหน่ายเป็นที่แพร่หลายในปี ค ศ ๑๙๗๗ เป็นปีแรกที่คาราโอเกะเริ่มบูมในญี่ปุ่นตามสแน็กบาร์ ร้านอาหารต่าง ๆ ในญี่ปุ่นนิยมกันมากขึ้นเพราะคนญี่ปุ่นมีนิสัยชอบร้องเพลงอยู่แล้ว จนกระทั่งปัจจุบันคนญี่ปุ่นก็ยังหลงใหลความบันเทิงประเภทนี้อยู่ ปี ค ศ ๑๙๘๔ มีบริษัทแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นได้นำเอาคาราโอเกะไปดัดแปลง เรียกว่า Karaoke-box มีลักษณะเป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ใช้แล้วนำไปวางไว้ในที่ว่าง จัดแต่งข้างในให้มีเก้าอี้นั่งร้องเพลงได้ประมาณ ๔-๕ คน มีจอภาพติดตั้งเครื่องเสียง ภายในไม่ได้ตกแต่งหรูหรามากนัก จำหน่ายอาหารราคาไม่แพง เปิดบริการ ๒๔ ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม คาราโอเกะบ็อกช์จะมีเฉพาะเมืองเล็ก ๆ เท่านั้น หัวเมืองใหญ่ ๆ จะเป็นห้อง จากสถิติการสำรวจปี ค ศ ๑๙๙๑ คาราโอเกะระบาดเผยแพร่ไปทั่วญี่ปุ่น มีประมาณ ๗๐ ๐๐๐ ร้าน คนที่นิยมคาราโอเกะมีประมาณ ๕๒ ล้านคน ในประเทศญี่ปุ่นมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลงสำหรับคาราโอเกะในปี ค ศ ๑๙๘๘ โดยให้เพลงที่ผลิตตั้งแต่ ปี ค ศ ๑๙๘๘ หากจะนำไปทำเป็นคาราโอเกะ ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของ คาราโอเกะกลายเป็นความบันเทิงรูปแบบใหม่ในภูมิภาคแถบเอเชียอาคเนย์ ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ไต้หวัน ฮ่องกง นิยมกันมาก รวมทั้งประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกาด้วย “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!