ผลจากการศึกษาหลายฉบับแสดงให้เห็นว่าการรักษาความฟิตขณะตั้งครรภ์อาจเกี่ยวพันกับความเจริญเติบโตและสุขภาพของ ทารก ตัวอย่างเช่น การศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์ประเทศแคนาดาแนะนำให้ออกกำลังแบบแอโรบิกตอนตั้งครรภ์จะทำให้หัวใจ ของทารกมีสุขภาพดีมากขึ้น และการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ประเทศนิวซีแลนด์ที่เชื่อมโยงการออกกำลังกายตอนตั้งครรภ์ กับการคลอดทารกที่น้ำหนักพอดี นั่นหมายความว่านอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การทำตัวให้กระปรี้กระเปร่าตอนตั้งครรภ์มีประโยชน์ทั้งต่อตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ด้วย
ดร.พอล ฮอฟแมน จาก The University of Auckland กล่าวถึงผลการศึกษาว่า "การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำจะ ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องน้ำหนักเกินพิกัดของว่าที่คุณแม่ รวมถึงทารกในครรภ์ด้วย เนื่องจากทารกแรกคลอดที่ตัวโตมีความเสี่ยง น้ำหนักตัวเกินพิกัดในอนาคตด้วยเช่นกัน"
ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากการคลอดทารกน้ำหนักเกินคือ เพิ่มความเสี่ยงอาการแทรกซ้อนตอนคลอด เช่น ทารกติดคาอยู่ใน ช่องคลอดและฝีเย็บ (ผิวระหว่างช่องคลอดกับทวาร) ฉีกขาด อย่างไรก็แล้วแต่ ใช่ว่าแม่ที่มีลูกตัวโตจะมีอาการแทรกซ้อนไป หมดทุกคน แต่สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทารกตัวโตส่วนใหญ่มักเกิดจากแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินพิกัดหรือแม่เป็นโรคเบาหวานตอนตั้งครรภ์
กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษจึงแนะนำให้สตรีมีครรภ์หมั่นออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำ เช่น เดินเร็วๆ และว่ายน้ำ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
ที่มาข้อมูลและภาพ bloggang.com