หน้าที่สำคัญของวัยเรียนนอกจากการไปโรงเรียน เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์จากห้องเรียนแล้ว ยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือ เพิ่มพูนความรู้ด้วยการอ่านหนังสือ
โดยเฉพาะในช่วงที่มีการสอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเก็บคะแนน หรือเลื่อนชั้น ทั้ง ๆ ที่รู้ดีว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเรียน แต่หลายคนก็พ่ายแพ้ให้กับความขี้เกียจของตัวเอง ขี้เกียจอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน เพราะไม่ว่าจะจับหนังสือครั้งแล้วครั้งเล่า ก็พาให้เบื่อหรือเผลอหลับไป ดังนั้นในวันนี้ จึงขอนำวิธีสร้างแรงบันดาลใจ และวิธีเอาชนะความขี้เกียจ มาฝากกัน
1. คิดถึงภาพความสำเร็จ
การอ่านหนังสือเป็นแหล่งความรู้และจุดเริ่มต้นของอนาคต หากความรู้ความเข้าใจความฝันที่หวังเอาไว้คงไม่วันเป็นจริงได้ ฉะนั้นเมื่อรู้สึกขี้เกียจคิดถึงภาพอนาคตและความสำเร็จของตัวเองเอาไว้ แล้วจะมีกำลังใจในการอ่านหนังสือมากขึ้น อีกทั้งควรท่องเอาไว้ว่าสิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นได้ด้วยสมองสองมือของเราเอง ไม่ใช่ได้มาจากความโชคดีแต่อย่างใด
2. คิดถึงคนรอบข้าง
ถ้าได้คะแนนหรือเกรดไม่ดี ไม่ใช่แค่ตัวเราที่เสียใจเท่านั้น คนรอบ ๆ ตัวโดยเฉพาะพ่อแม่ก็รู้สึกไม่ต่างกัน และอาจจะเสียใจมากกว่าด้วยซ้ำ ดังนั้นในวันที่ขี้เกียจไม่อยากอ่านหนังสือควรคิดถึงรอยยิ้มและความสุขของพ่อแม่เอาไว้ หากไม่อยากให้พวกเขาต้องเสียใจเริ่มอ่านหนังสือตั้งแต่ตอนนี้เลยดีกว่า
3. ติวหนังสือกับเพื่อน ๆ
อ่านหนังสือคนเดียวคงรู้สึกเหงาไม่น้อย อีกทั้งยังอาจเผลอหลับได้ง่าย ๆ ดังนั้นใครที่รู้ว่าตัวเองมีนิสัยแบบนี้ลองชวนเพื่อน ๆ มาติวหนังสือด้วยกันซะเลยดีกว่า เพื่อทำให้บรรยากาศในการอ่านหนังสือน่าสนใจ และทำให้ตัวเองอยากอ่านหนังสือมากขึ้น โดยเฉพาะในเวลาที่เห็นเพื่อน ๆ ก้มหน้าก้มตาอ่านกัน หลังจากที่อ่านเสร็จแล้ว ผลัดกันถามตอบจะช่วยให้จำได้แม่นยำขึ้น
4. ผ่อนคลายก่อนอ่านหนังสือ
สมองที่เหนื่อยล้าและร่างกายที่อ่อนเพลียมีส่วนทำให้รู้สึกขี้เกียจได้เช่นกัน ฉะนั้นก่อนอ่านหนังสือสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองด้วยการทำตามใจตัวเองสักวัน อย่างเช่น ออกไปช้อปปิ้ง เที่ยวกับเพื่อน ทานข้าวกับครอบครัว ซื้อขนมหวานอร่อย ๆ มาทานสักชิ้นสองชิ้น เพื่อให้สมองและร่างกายได้พักผ่อนจากความตึงเครียดทั้งหลาย และเรียกพลังสำหรับการอ่านหนังสือกลับคืนมา
5. อ่านเรื่องที่สนใจก่อน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความขี้เกียจนั่นเป็นเพราะรู้สึกว่าสิ่งที่เรียนยากและคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงหากตั้งใจเรียนไม่มีอะไรเกินความสามารถ ดังนั้นลองถามตัวเองก่อนว่าสนใจ และชอบเรื่องใดเป็นพิเศษบ้าง แล้วเริ่มต้นการอ่านจากบทเรียนหรือวิชานั้น เพราะความชอบและความสนใจจะทำให้ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องง่ายและทำได้ดี ทั้งนี้เพื่อสร้างกำลังใจและแรงบันดาลใจให้กับตัวเองก่อนจะเปลี่ยนไปอ่านวิชาที่ไม่ถนัด
6. เขียนตารางเวลาอ่านหนังสือ
ความขี้เกียจจะทำให้ผัดวันประกันพรุ่งและเลื่อนเวลาอ่านหนังสือไปเรื่อย ๆ ดังนั้นเปลี่ยนวิธีเสียใหม่ โดยเขียนตารางเวลาสำหรับอ่านหนังสือในแต่ละวันอย่างน้อย 2