หัวหน้ากรุ๊ป O
1. ต้องสานต่อความสัมพันธ์ด้านความไว้วางใจ
หัวหน้ากรุ๊ป O มักชอบคบหาผู้คนด้วยความจริงใจ ไม่มีการปรุงแต่ง ดังนั้น ก่อนอื่นควรเปิดใจกว้างและขอคำปรึกษาหารือกับหัวหน้ากรุ๊ป O ในทุกเรื่องทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวรับรองได้ว่าหัวหน้ากรุ๊ป O ที่ชอบให้การดูแลเอาใจใส่คนอื่น จะต้องรีบให้การปรึกษาราวกับเป็นพ่อแม่ของท่านทีเดียว แต่ถ้าหัวหน้าให้คำปรึกษาเสร็จแล้วก็เป็นอันจบเท่านั้น จะทำให้หัวหน้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง
ทางที่ดีควรรายงานผลจากการปฏิบัติตามคำแนะนำให้หัวหน้าทราบด้วยเป็นการสานต่อความสัมพันธ์ด้านความไว้วางใจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
2. แสดงท่าทางขอรับการอบรมชี้แนะจากหัวหน้า
หัวหน้ากรุ๊ป O ส่วนใหญ่จะชอบการให้คำแนะนำสั่งสอนคนอื่นเป็นอย่างมาก แต่ถ้าลูกน้องคนใดวนเวียนถามแต่เรื่องเก่าเรื่องเดิมจะทำให้หัวหน้าคิดไปว่า "ลูกน้องไม่ได้ตั้งใจฟังคำแนะนำสั่งสอนเลย และจะปักใจลงไปว่าเป็นลูกน้องที่ใช้ไม่ได้"
ในขณะขอรับคำแนะนำนั้น อย่าลืมแสดงความเคารพอย่างจริงใจเป็นอันขาด และถ้าลูกน้องเป็นฝ่ายอธิบายโน่นนี่ขึ้นมาบ้าง จะทำให้หัวหน้าอารมณ์เสียทันที แม้ในบ้างครั้งหัวหน้าชักจะพูดเลยเถิดนอกเหนือไปจากเรื่องที่ถามจนเกินไป ลูกน้องก็ต้องตั้งใจฟังเป็นอย่างดีด้วย
3. คอยปฏิบัติตามและแสดงให้เห็นความตั้งใจจริง
"ทำตามผมนะ" หัวหน้ากรุ๊ป O ชอบที่จะคอยให้ลูกน้องคอยทำตามตนเอง ดังนั้น ลูกน้องควรทำตามหัวหน้าตั้งแต่ต้นจนจบ และต้องแสดงออกให้เห็นถึงความตั้งใจจริงด้วย เช่น ถ้ามีงานที่ต้องทำโดยไม่ได้พักผ่อนก็ต้องทำ และแม้แต่การไปเที่ยวหรือดื่มสังสรรค์ก็ต้องคอยติดตามไป
แม้จะอยู่ดึกถึงเช้าก็ตามเหล่านี้จะมีผลทำให้หัวหน้ากรุ๊ป O เริ่มมองเห็นว่า "คุณมีความตั้งใจจริง" และจะค่อย ๆ พึงพอใจมากขึ้นตามลำดับ
หัวหน้ากรุ๊ป A
1. ทำงานอย่างประณีต
หัวหน้ากรุ๊ป A ส่วนใหญ่จะชื่นชอบความสมบูรณ์แบบและต้องการลูกน้องที่ทำงานได้อย่างเพียบ พร้อมสมบูรณ์แบบ ดังนั้น ถ้าต้องการให้หัวหน้ากรุ๊ป A หันมามองพิจารณาตนเองเป็นพิเศษ ต้องพยายามทำงานให้สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็นการ "พูดง่าย แต่ทำยาก" ดังนั้น อีกทางหนึ่งที่จะทำให้หัวหน้าหันมาพิจารณาตนเป็นคนพิเศษ คือ ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด
สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องไม่ใจร้อน พยายามทำงานอย่างประณีตและหัวหน้ากรุ๊ป A ที่มีนิสัยระมัดระวังรอบคอบเสมอนั้น ไม่น่าที่จะยัดเยียดงานให้ลูกน้องทำจนเกินกำลังอยู่แล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็ตามควรจะเตือนตนให้ทำงานให้มีคุณภาพเข้าไว้ ไม่ควรทำงานแบบสุกเอาเผากินเด็ดขาด
2. แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน
หัวหน้ากรุ๊ป A ส่วนใหญ่จะเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตของคนในโลกนี้ และมีความต้องการให้ลูกน้องมีจิตสำนึกในกฎระเบียบการทำงานเช่นเดียวกับตน กับหัวหน้ากรุ๊ป A นั้นแทนที่จะอวดอ้างสรรพคุณตนเองว่า "ผมมีความสามารถหลายอย่าง" เปลี่ยนเป็นการแสดงให้เห็นความตั้งใจ "รับผิดชอบงานอย่างเต็มที่" จะดีกว่า
หัวหน้ากรุ๊ป A ใช่ว่าจะคอยจับผิดแต่ลูกน้องเท่านั้น ถ้าลูกน้องมีอาการป่วยไข้ไม่สบาย จะแสดงความมีน้ำใจไต่ถามด้วยความห่วงใยทันทีว่า "เป็นอะไรไปเหรอ" และให้การดูแลเอาใจใส่อย่างอกเข้าใจ แต่การเอ่ยคำ "ขอบคุณ" จากใจจริงก็เป็นสิ่งที่ทำให้หัวหน้ากรุ๊ป A พอใจ
3. ห้ามทำในสิ่งที่กระทบกระเทือนถึงศักดิ์ศรีของหัวหน้า
หัวหน้ากรุ๊ป A มักให้ความสนับสนุนคนอื่นโดยเก็บอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวของตัวเองเอาไว้ใน กรอบที่แน่นหนา ภายนอกดูเป็นคนสงบนิ่งและเยือกเย็น แต่ความรู้สึกภายในนั้นอ่อนแรงและมีความทะนงมากที่สุดในบรรดากรุ๊ปเลือดทั้งหมด
ดังนั้น ถ้ามีการกระทบกระทั่งในเรื่องศักดิ์ศรีและความทะนงเข้า จะรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง และระเบิดอารมณ์ออกมาอย่างโกรธจัด ด้วยเสียงอันดัง
เมื่ออยู่ต่อหน้าบุคคลที่สาม จึงห้ามพูดถึงความผิดพลาดของหัวหน้า และห้ามแสดงความไม่เห็นด้วยหรือขัดแย้งกับหัวหน้าอย่างเด็ดขาด ถ้าต้องการแสดงความไม่เห็นด้วย ควรแสดงออกมาเมื่ออยู่กันเพียง 2 คน ด้วยท่าทางที่อ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อแสดงการขอโทษกับสิ่งที่ตัวเองพูด
หัวหน้ากรุ๊ป B
1. ควรหมั่นรายงานความเป็นไปของงานที่ได้รับมอบหมาย
หัวหน้ากรุ๊ป B จะรักอิสระไม่ชอบการผูกมัด จึงมอบหมายงานให้ลูกน้องทำอย่างอิสระ แต่นิสัยด้านหนึ่งของคนกรุ๊ป B คือ ความขี้อิจฉา ดังนั้น การที่ลูกน้องทำงานเองทั้งหมดจนเสร็จเรียบร้อย โดยไม่รายงานขั้นตอนความเป็นไปให้ทราบ จึงทำให้หัวหน้ากรุ๊ป B ไม่พอใจและอารมณ์เสียที่ลูกน้องมองไม่เห็นความสำคัญของตน
ดังนั้น แม้หัวหน้ากรุ๊ป B บอกว่า "ช่วยทำให้หมดเลยนะ" ก็ตาม ลูกน้องควรจะรายงานผลความคืบหน้าของงานเป็นระยะ ๆ อันเป็นการแสดงออกถึงการให้ความสำคัญกับหัวหน้างานนั่นเอง
2. หมั่นเข้าหาและชื่นชมยกย่องเพื่อให้มีอารมณ์ดี
หัวหน้ากรุ๊ป B นั้นมักจะอารมณ์ดีขึ้น เมื่อได้รับคำชม หรือคำยกยอ ซึ่งถ้าหัวหน้ากรุ๊ป O หรือ A คงจะหันหน้าหนีด้วยความเลี่ยน แต่หัวหน้ากรุ๊ป B จะปลื้มกับคำชมหรือการยกยอเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะการชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นความสามารถที่โดดเด่นของคนกรุ๊ป B และจะเป็นจุดสำคัญในการเอาชนะใจหัวหน้ากรุ๊ปนี้ที่ได้ผลเป็นอย่างดี
3. ประชาสัมพันธ์ตนเอง
หัวหน้ากรุ๊ป B มักไม่ชอบความธรรมดา หรือรูปแบบธรรมดาทั่ว ๆ ไป และมักจะคิดว่าการที่ลูกน้องดูเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบไปเสียทุกอย่าง นั้นน่าเบื่อ จึงมักจะใช้การสนับสนุนลูกน้องที่มีความดิ้นรนพยายามทำในสิ่งที่แปลกแหวกแนว ออกไป หัวหน้ากรุ๊ป B นั้น มักจะเข้าถึงความรู้สึกหรือความเป็นไปของลูกน้องได้ไม่ดีเท่าหัวหน้ากรุ๊ป A ดังนั้น
วิธีเข้าหาหัวหน้ากรุ๊ป B ที่ดีอีกวิธีหนึ่ง คือ การประชาสัมพันธ์ตนเองโดยการแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่โดดเด่น และถ้ามีความคิดเห็นต่างจากหัวหน้าก็ควรพูดคุยกันให้ชัดเจน หัวหน้ากรุ๊ป B มักจะพอใจลูกน้องที่สามารถทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้
หัวหน้ากรุ๊ป AB
1. มีความสามารถในการทำงาน
หัวหน้ากรุ๊ป AB จะชอบทำงานมากและจะชื่นชอบลูกน้องที่ทำงานเร็ว แต่ไม่ได้ชอบคนที่มีความขยัน เช่นคนปกติธรรมดาทั่วไป วิธีทำหรือขั้นตอนการทำงานไม่ใช่ปัญหา สิ่งสำคัญคือผลงาน นอกจากนั้น หัวหน้ากรุ๊ป AB จะชอบทำงานมากมายหลายอย่างจึงมีจุดอ่อนอยู่ที่คำพูดที่ว่า "ผมยินดีรับผิดชอบเรื่องนี้อย่างเต็มที่ครับ"
ดังนั้น จึงทำให้หัวหน้ากรุ๊ป AB มีงานในความรับผิดชอบมากมาย เมื่อมีลูกน้องมาช่วยแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบให้เบาบางลงบ้าง จึงจะรู้สึกสบายใจขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผลงานที่รับไปนั้นต้องออกมาดีเสมอ เพราะหัวหน้ากรุ๊ป AB จะไม่สนใจลูกน้องที่ทำงานไม่เก่ง
2. อย่าเอาเวลางานไปใช้ในเรื่องส่วนตัว
หัวหน้ากรุ๊ป AB จะแยกแยะเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกันโดยเด็ดขาด และไม่ชอบที่จะให้ความสนิทสนมกับลูกน้องคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ ทั้งยังไม่ชอบที่จะรับฟังหรือช่วยแก้ปัญหาส่วนตัวของลูกน้อง จึงควรสร้างความสัมพันธ์อยู่ห่าง ๆ กับหัวหน้ากรุ๊ป AB จะดีกว่า
และไม่ควรนำเวลางานไปใช้ในเรื่องส่วนตัว หัวหน้ากรุ๊ป AB จะโกรธมาก ถ้ารู้ว่าลูกน้องนำเรื่องส่วนตัวเข้ามาปรึกษาหารือด้วย
3. ห้ามพูดโกหก
หัวหน้ากรุ๊ป AB นั้นมีความรู้สึกไวในการรับรู้เรื่องความถูกต้อง จึงสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องโกหก ดังนั้น ถ้าทำงานผิดพลาดขึ้นมาควรจะยอมรับผิดอย่างซื่อสัตย์
การจะเข้าหาหัวหน้ากรุ๊ป AB นั้นสิ่งที่สำคัญคือความจริงใจและความซื่อสัตย์
ที่มาข้อมูลและภาพ postjung.com