ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น
ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น, ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น หมายถึง, ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น คือ, ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น ความหมาย, ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น คืออะไร
อากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ เดียวร้อนเดียวเย็น นอกจากการดูแลร่างกายให้รับได้กับทุกสภาพอากาศไม่เจ็บป่วยไปก่อน การใช้ธรรมะก็ช่วยให้จิตใจเย็นและสงบ ช่วยให้คลายเครียดได้ รวมไปถึงการออกกำลังกาย การแบ่งขอบเขตเรื่องงานและการพักผ่อนให้พอดีพอเหมาะ การกินอาหารก็ต้องเลือกให้เหมาะ เพราะอาหารหลายๆ อย่างนั้นมีสิ่งที่การรักษาแบบแผนไทย หรือแม้แต่แผนจีนเรียกว่าทั้งมี"ฤทธิ์ร้อน" และ "ฤทธิ์เย็น" ก็ควรให้ความสำคัญกับการกินอาหารและสมุนไพรปรับสมดุล
โดยอาหารฤทธิ์ก่อน-เย็นแบ่งได้ ดังนี้
1. อาหารฤทธิ์ร้อน ได้แก่ จำพวกอาหารทอดๆมันๆ ผลไม้บางชนิด เช่น ทุเรียน ลำไย กินมาเกินแล้วจะมีอาการร้อนใน คือ เจ็บคอ มีแผลในกระพุ้งแก้ม ตัวรุมๆ ฯลฯ รวมถึงพวกอาหารรสจัด เค็มจัดหวานจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด ก็ถือเป็นอาหารฤทธิ์ร้อนเช่นกัน
2. อาหารฤทธิ์เย็น ได้แก่ ผลไม้ที่ไม่หวานจัด ผักใบเขียวและสมุนไพร เช่น หล่อฮังก้วย ชะเอม เก๊กฮวย ดอกสายน้ำผึ้ง ปรุงด้วยวิธีต้ม นึ่ง ส่วนพวกของเย็นที่จะช่วยผ่อนคลายความร้อนได้ การกินอาหารทั้งฤทธิ์ร้อนและเย็นมากเกินไปก็ไม่ดี อย่างอาหารฤทธิ์เย็นถ้ามากไปก็ทำให้ตาแฉะมีขี้ตามาก เป็นแผลในช่องปากด้านบนหรือโคนลิ้น ตัวเย็น มือเท้าเย็น มีน้ำมูกใส นิ้วล็อกกำมือไม่ลง อุจจาระเหลวสีอ่อน เจ็บโคนลิ้น ส่วนอาการของการรับฤทธิ์ร้อนเกินนั้นก็จะมี หน้าแดง ตัวร้อน มีแผลในช่องปาก ส่งผลไปถึงการทำงานของหลอดเลือด ดังนั้น หลักในการกินต้องมีความสมดุล คงเคยได้ยินว่าเมื่อกินทุเรียน (ฤทธิ์ร้อน) โบราณก็มักบอกว่าให้กินมังคุด (ฤทธิ์เย็น) ไปแก้กัน แต่ทางที่ดีที่สุด อย่ากินในปริมาณที่มากเกินไป เดียวจะกลายเป็นต่างฝ่ายต่างแสดงฤทธิ์จนร่างกายรับไม่ไหว
ที่มา : หนังสือพิมพ์M2F
ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น, ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น หมายถึง, ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น คือ, ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น ความหมาย, ฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็น คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!