วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด, วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด หมายถึง, วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด คือ, วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด ความหมาย, วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด คืออะไร
การดูแลแผลหลังถูกน้ำกรด จาก @DrRungsima อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช "จากที่มีข่าวฉีดน้ำกรดใส่คนเดินถนนอยู่ในช่วงนี้ เนื่องจากการป้องกันตนจากคนโรคจิตหรือประสงค์ร้ายต่อทรัพย์สินที่ปะปนมาในฝูงชนนั้นทำได้ยาก การปฐมพยาบาลตนเองหรือผู้เคราะห์ร้ายในเหตุการณ์ และการดูแลแผลหลังจากนั้นน่าจะเป็นไปได้กว่า ว่านจึงสอบถามไปทางคุณหมอรังสิมา อาจารย์แพทย์ผิวหนังรพ.ศิริราช ถึงวิธีดูแลแผลหลังถูกน้ำกรด ได้ความมาดังนี้ค่ะ ขอบคุณคุณหมอรังสิมาเป็นอย่างยิ่งมา ณ ที่นี้
เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณหมอรังสิมา ให้คำตอบว่า เมื่อถูกน้ำกรดฉีดใส่ ถ้าเป็นกรดชนิดเข้มข้นสูงจะมีอาการแสบร้อนทันที แต่ถ้าความเข้มข้นไม่สูงมาก อาจจะแสบร้อนหลังโดนฉีดประมาณ 10 วินาที ถ้าสงสัยว่าถูกน้ำกรดฉีดใส่ อย่าตกใจ ให้ควบคุมสติไว้ก่อน อย่าพยายามเอามือไปป้ายออกหรือขยี้ กรดจะยิ่งกระจายไปโดนผิวหนังเป็นบริเวณกว้างขึ้น ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้น้ำสบู่อ่อน ๆ ล้างทันที เพื่อทำลายฤทธิ์ของกรด แต่ถ้าไม่มีให้น้ำสะอาดล้างก็ได้ แต่ไม่ควรถูบริเวณที่ถูกกรดสาดใส่
การล้างผิวหนังบริเวณที่ถูกกรด ควรใช้น้ำสบู่ หรือน้ำสะอาดปริมาณมากค่อย ๆ เทใส่แผล โดยระวังไม่ให้โดนผิวหนังบริเวณใกล้เคียงเท่าที่จะทำได้ การถูผิวหนังบริเวณที่ถูกกรดสาดใส่อาจทำให้กรดกระจายไปที่ผิวหนังบริเวณใกล้เคียง หรือทำให้ผิวหนังที่ไหม้จากกรดลอกออก เสี่ยงต่อการเป็นแผลเป็น
หลังจากล้างแผลจนบรรเทาอาการแสบร้อนแล้ว ควรใช้ผ้าสะอาดพันหรือปิดทับบริเวณแผลเอาไว้ ไม่ให้เกิดการเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือสิ่งของภายนอก แล้วรีบไปพบแพทย์เร็วที่สุดที่จะทำได้ เพื่อตรวจประเมินอาการ และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ถ้าน้ำกรดที่ใช้สาดมีความเข้มข้นไม่สูงมาก ภายใน 1-2 วัน แผลที่ถูกน้ำกรดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ ให้ทำแผลทุกวัน อย่าพยายามลอกสะเก็ดออก หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ หรือถ้ามีอาการบวมแดง เจ็บ มีตุ่มหนองบริเวณแผล ต้องรีบกลับไปพบแพทย์ทันที โดยทั่วไปสะเก็ดแผลที่โดนน้ำกรดความเข้มข้นไม่สูงสาด จะลอกออกเองได้ในเวลา 7-10 วัน โดยไม่ทำให้เกิดแผลเป็น (ถ้าไม่มีการติดเชื้อ)
ถ้าน้ำกรดที่ใช้สาดมีความเข้มข้นสูง แผลที่ถูกสาดอาจไหม้ลึกถึงผิวหนังแท้ ทำให้เกิดการติดเชื้อ มีหนองบริเวณแผลตามมา ควรทำแผลทุกวัน แผลจากการถูกสาดน้ำกรดชนิดเข้มข้นสูง เสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นมาก จึงควรดูแลรักษาด้วยแพทย์ บางกรณีอาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
ที่สำคัญที่สุดคือ ควรระวังเป็นอย่างยิ่งไม่ให้กรดเข้าตา หรืออย่าเอามือที่สัมผัสกับกรด หรือผิวหนังที่ถูกกรด มาขยี้ตาเป็นอันขาด การที่กรดมาสัมผัสกับกระจกตา จะทำให้เกิดภาวะกระจกตาขุ่น และมีผลต่อการมองเห็นได้
น่าจะครบถ้วนเรื่องการดูแลแผลหลังถูกน้ำกรดฉีดใส่แล้วนะคะ สาว ๆ ไปไหนระวังตัวด้วยนะคะ ช่วงนี้มีข่าวคนถูกน้ำกรดฉีดใส่บ่อย ๆ ค่ะ"
ที่มา : wan-nam.com/acid-burn-treatment/ ภาพจาก : https://news.sanook.com/1122499/โรคจิตฉีดน้ำกรดอาละวาด-เปิด-5-จุดเสี่ยง-กทม/
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด, วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด หมายถึง, วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด คือ, วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด ความหมาย, วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกน้ำกรด คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!