ประเพณีบุญข้าวหลาม
ประเพณีบุญข้าวหลาม, ประเพณีบุญข้าวหลาม หมายถึง, ประเพณีบุญข้าวหลาม คือ, ประเพณีบุญข้าวหลาม ความหมาย, ประเพณีบุญข้าวหลาม คืออะไร
การทำบุญข้าวหลาม ของชาวลาวเวียง ยังคงทำกันตามประเพณีดั้งเดิม และผสมผสานกับประเพณีไทยก็คือ การปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองที่วัดเขาดงยาง (วัดสุวรรณคีรี) เขต ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา กลางเดือน 3 ชาวบ้านลาวเวียง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดดงยาง ประมาณ 4 - 6 กิโลเมตร ต้องเดินทางด้วยเท้าไปปิดทอง โดยใช้เส้นทางผ่านบ้านหัวสำโรง ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว ซึ่งมีชาวไทยเชื้อสายเขมร ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก ประเพณีบุญข้าวหลามจึงแพร่หลายสู่บ้านหัวสำโรง และรับเป็นประเพณีของชนกลุ่มตน เป็นประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม ของชาวชุมชนหัวสำโรง ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา มาจนถึงทุกวันนี้
พิธีกรรม
วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ชาวบ้านทุกบ้านจะเผาข้าวหลาม เพื่อนำไปถวายพระในเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ตอนสายจะพากันเดินไปขึ้นเขาดงยาง ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๖ กิโลเมตร เพื่อปิดทองรอยพระพุทธบาทบนเขาดงยาง และนำข้าวหลามไปรับประทานบนเขา
ช่วงเวลาจัดงาน
ประเพณีบุญข้าวหลาม เป็นประเพณีของชาวลาวเวียงและลาวพวนในอำเภอพนมสารคาม ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายลาว ที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวไทยเชื้อสายเขมร
ประเพณีนี้อาจเป็นสิ่งที่ยึดถือสืบต่อกันมาแต่ก่อนเมื่อครั้งยังอยู่ในประเทศลาวจึงเท่ากับเป็นการรักษาประเพณีดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งเท่ากับเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาทางหนึ่ง
แหล่งที่มา : วิกิพีเดีย
ประเพณีบุญข้าวหลาม, ประเพณีบุญข้าวหลาม หมายถึง, ประเพณีบุญข้าวหลาม คือ, ประเพณีบุญข้าวหลาม ความหมาย, ประเพณีบุญข้าวหลาม คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!