ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล, แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล หมายถึง, แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล คือ, แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล ความหมาย, แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล

ชื่อสามัญ : brown widow spider, grey widow spider, brown bottom spider
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Latrodectus geometricus
วงศ์ : Theridiidae
เขตการแพร่กระจาย : พบมากในรัฐฟลอริดา แคลิฟอร์เนีย เทกซัส เทนเนสซี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและใต้ของสหรัฐอเมริกา บางส่วนของประเทศออสเตรเลีย แอฟริกาใต้  ไซปรัส มักอยู่ในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร
 
ลักษณะทั่วไปของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล  
     แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลจะมีส่วนของร่างกาย หลัก ๆ 2 ส่วน เหมือนแมงมุมทั่วไป คือ ส่วนหัวและท้อง ขนาดของตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร จะสังเกตได้ว่าท้องจะกลมป่องมีขนาดใหญ่มากกว่าหัวหลายเท่า ด้านท้องมีลวดลายคล้ายนาฬิกาทรายสีส้ม ด้านหลังมีสีน้ำตาลสลับขาวลายเป็นริ้ว ๆ ลักษณะครึ่งวงกลม โดยจะมีลายนูนบนท้องเป็นริ้วสีน้ำตาลสลับสีขาวอ่อน ๆ ตรงริ้วเป็นจุดสามจุด เรียงกันสองแถว
     อวัยวะส่วนที่สร้างใยจะยื่นจากส่วนของร่างกายอยู่ด้านหลังของท้อง โดยจะดูคล้ายกับกรวยเล็ก ๆ รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวเต็มวัยของแมงมุมเพศเมียจะมีขนาดตั้งแต่ส่วนหัวถึงปลายท้องประมาณ 0.5 นิ้ว ขายาวประมาณ 1.5 นิ้ว  แต่อย่างไรก็ตาม เพศเมียที่พร้อมจะวางไข่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของส่วนท้องจะขยายถึง 0.5 นิ้ว  เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย โดยพบว่ามีขนาดประมาณ 0.25 นิ้ว ส่วนขายาว 0.5 นิ้ว  

นิสัยของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล  
      แมงมุมชนิดนี้จะสร้างใยอย่างไม่เป็นระเบียบลักษณะพันกันยุ่งเหยิง ชอบสร้างรังอยู่ในที่ต่ำ ๆ เช่น ห้องใต้ดิน ใต้โต๊ะ เก้าอี้ ตามพื้น และที่เก็บของที่ต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนบริเวณนอกบ้านพบได้ตามกองฟืนเก่า ๆ และซอกหินที่แตก โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนเล็ก ๆ ที่สงบเงียบในรัง และจะค้นหาแมลงที่มาติดใยแมงมุมโดยการสั่นของรัง  แมงมุมชนิดนี้เป็นแมงมุมขี้ขลาด มักหลบซ่อนตัวในมุมมืด จะกัดคนก็ต่อเมื่อถูกคุกคาม
     มีพิษรุนแรงทำลายระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เวลาแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลกัด จะปล่อยพิษออกมาไม่หมด โดยจะปล่อยพิษ ออกมาในระดับ 1 ppm (1 ในล้านส่วน) ความร้ายแรงอาจจะไม่เท่าแมงมุมแม่หม้ายดำ เพราะแมงมุมแม่หม้ายดำ กัดแล้วปล่อยพิษออกมาทั้งหมด หากถูกกัดหลายตัวพร้อมกันปริมาณพิษก็จะเพิ่มมากขึ้น

วงจรชีวิตของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล
            ตัวเมียจะวางไข่ที่มีลักษณะเป็นทรงกลมหรือหยดน้ำตา ถุงไข่จะมีขนาดประมาณ 0.5 นิ้ว  ในถุงไข่แต่ละถุงจะมีไข่ประมาณ 200-400 ฟอง (หรืออาจมากกว่านี้)  ตัวเมียตัวเดียวสามารถผลิตถุงไข่ได้ประมาณ 4-9 ถุง ในช่วงที่ไม่ได้มีการผสมพันธุ์  ตัวเมียจะคอยเฝ้าคุ้มกันถุงไข่ โดยจะคอยเคลื่อนย้ายถุงไข่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งเพื่อรักษาอุณหภูมิและความชื้น ่ตัวอ่อนแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลจะออกจาก ถุงไข่ประมาณ 8-10 วัน หลังจากวางไข่ เมื่อออกมาจากถุงไข่ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ลูกแมงมุมจะกระจายตัวออกไปโดยลอยตัวไปตามกระแสลม และจะลอกคราบประมาณ 7 ครั้ง จึงกลายเป็นแมงมุมตัวเต็มวัย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และฤดูกาลของปีนั้น
     ตัวอ่อนของแมงมุมที่มีชีวิตรอดจะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 3-4 เดือน โดยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพอากาศ ความชื้น และอาหาร วงจรชีวิตของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล ตัวอ่อนจะมีชีวิตในช่วงฤดูหนาวเหมือนแมงมุมตัวเต็มวัย และจะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในช่วงฤดูใบไม้ผลิ สำหรับการผลิตถุงไข่จะเริ่มต้นหลังจากผ่านพ้นช่วงฤดูใบไม้ผลิ

สาเหตุที่แมงมุมแม่หม้ายตำตาลแพ่ระบาดในไทย
     สาเหตุการแพร่ระบาดนั้น คาดว่า จะเข้ามากับเรือสินค้าเป็นหลัก และมีรายงานด้วยว่า มีพ่อค้าบางคนนำมาขายให้คนที่ชอบเลี้ยงสัตว์แปลก โดยไม่รู้ว่าเป็นสัตว์ที่มีพิษร้ายแรง ขณะนี้ ยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า มีผู้เสียชีวิตจากการถูกแม่หม้ายน้ำตาลกัด แต่มีรายงานการถูกกัดแล้วจากหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่ผู้ถูกกัดจะมีอาการแพ้อย่างแรง แผลจะเหวอะหวะ และเป็นผื่นบวมแดงเจ็บปวด มีหนอง แผลจะหายช้ามาก เพราะพิษทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง และทำลายเม็ดเลือดขาว คนที่ถูกกัดส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าแผลดังกล่าวเกิดจากอะไร ขณะนี้ ยังไม่มีเซรุ่ม หรือยาถอนพิษ ทำได้แค่รักษาตามอาการเท่านั้น


คลิปแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล



ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล, แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล หมายถึง, แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล คือ, แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล ความหมาย, แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu