วันตรุษอีด หรือวันอีด เป็นวันเฉลิมฉลองในศาสนาอิสลาม โดยในวันนี้จะมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ร่วมกันทำพิธีละหมาดวันอีดที่สนามหรือในมัสยิด เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง รับประทานอาหารร่วมกัน เป็นต้น
มุสลิมที่พูดภาษามลายูจะเรียกวันนี้ว่า ฮารีรายอ (ภาษามลายูปาตานี ) หรือ Hari Raya ในภาษามลายูกลาง แปลว่า วันใหญ่ หรือ วันอีด (ทับศัพท์จากภาษาอาหรับ) ศาสนพิธีตรุษอิดิลฟิตรี ปฏิบัติกันตามหัวเมืองทั่ว ๆ ไป วันอีดมี 2 วันในแต่ละปีคือ
- อีดุลฟิฏริ (สะกดไม่มาตรฐาน อีดิลฟิตรี) ในวันที่ 1 เชาวาล จะมีเลี้ยงอาหารให้แก่ญาติมิตร หลังจากนมาซอีด
- อีดุลอัฎฮา ในวันที่ 10 ซุลฮิจญะหฺ จะมีการเชือดสัตว์พลี (กุรบาน)
"อีด" หรือวาระแห่งการเฉลิมฉลองทางศาสนาตามที่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ.ล) ได้ประกาศไว้ มี 2 วัน คืออีดิลฟิตริ์และอีดิลอัฎฮา อีดิลฟิตริ์ ตรงกับวันที่ 1 เดือนเชวาล(เดือนที่ 10 ตามปฏิทินอิสลาม) เป็นโอกาสเฉลิมฉลองเนื่องจากเสร็จสิ้นจากการถือศีลอดในเดือนรอมะฎอน ที่เรียกว่าอีดิลฟิตริ์เนื่องจากมีกิจกรรมสำคัญควบคู่กับอีดนี้คือ "ซะกาตฟิตเราะห์" ซึ่งมุสลิมทุกคนที่มีชีวิตอยู่ในวันอีดและมีฐานะที่จะทำได้ต้องบริจาคทานเป็นอาหารหลักประจำถิ่น (ถ้าบ้านเราก็บริจาคเป็นข้าวสาร) เวลาบริจาคที่ดีที่สุดก่อนละหมาดอีด
ข้อปฏิบัติในวันอีด
- อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด (การอาบน้ำในวาระสำคัญนี้เรียกว่า อาบน้ำสุนัต)
- แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดที่มีอยู่และถูกต้องตามหลักการอิสลามคือปกปิดร่างกายมิดชิด
- ปะพรมน้ำหอม เนื่องจากจะต้องไปเข้าร่วมกิจกรรมและพบปะผู้คนจำนวนมาก และท่านศาสดาเองก็ชอบของหอม
- รับประทานอาหารเช้าเล็กน้อย (ปกติธรรมเนียมของบ้านเรา แต่ละบ้านจะทำอาหาร ขนมนมเนยแจกเพื่อบ้าน)
- บริจาคซะกาตฟิตเราะห์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้าครอบครัว โดยบริจาคให้แก่ผู้ยากไร้ในละแวกบ้าน ปัจจุบันนี้มัสยิดต่าง ๆ รับเป็นผู้ดำเนินการโดยแต่ละครอบครัวในชุมชนมัสยิดนำซะกาตไปมอบให้มัสยิดดำเนินการแจกจ่ายแทน
- ไปร่วมละหมาดอีดที่มัสยิดหรือที่ลานกว้างที่นัดหมายกัน ให้ทุกคนทั้งชาย หญิง เด็ก ไปร่วมกัน แม้แต่หญิงมีประจำเดือนที่ห้ามละหมาดก็ให้ไปร่วมด้วย การเดินทางไปมัสยิดให้ไปทางหนึ่ง กลับอีกทางหนึ่ง
- ที่มัสยิด ทุกคนจะร่วมกันกล่าวตั๊กบีร ร่วมละหมาดอีด 2 ร่อกะอัตและฟังคุตบะห์(เทศนา) เสร็จแล้ว จับมือ สวมกอดแสดงความรักและการให้อภัยซึ่งกันและกันในสิ่งที่ได้เคยล่วงเกินกัน และร่วมกันรับประทานอาหาร
- เยี่ยมเยียนผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพและญาติพี่น้องทั้งที่บ้านและที่สุสาน
การประกอบวันอีดในประเทศไทย
ในวันอีดจะมีการประกอบศาสนกิจ(จังหวัด สงขลาจังหวัด ปัตตานี จังหวัด นราธิวาส จังหวัด ยะลา จังหวัดสตูล เป็นส่วนใหญ่ และจังหวัดอื่น ๆ ตามกันไป มีหลักการว่าพระราชพิธีตรุษอีด จะประกอบในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ซาอุดิอารเบีย กาตาร์ โอมาน และรัฐอิสลามอื่น ๆ โดยมีพระมหากษัตริย์ในประเทศนั้นจะเสด็จเป็นองค์ประธานด้วยพระองค์เอง พระพิธีตรุษอีดจะประกอบกันใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีผู้สืบเชื้อสายจากกษัตริย์หรือรายานัครี โดยแต่ละจังหวัดมีดังนี้
- สงขลา ประธานในพิธีจะสืบเชื้อสายจาก สุลต่าน สุลัยมาน(พ.ศ. 2163 - 2213) เจ้าเมืองสงขลา โดยมีตระกูลหลัก ๆ คือ เทพวารินทร์ พิทักษ์คุมพล ฯลฯ
- ยะลา ประธานในพิธีจะสืบเชื้อสายจาก ตวนกู สุลัยมาน (2452) ตวนลือเบ็ฮ ลงรายา (พ.ศ. 2442 - 2452)
- นราธิวาส ประธานในพิธีจะสืบเชื้อสายจาก ตวนกูงัฮ ชัมชุดดิน (2452)
- ปัตตานี ประธานในพิธีจะสืบเชื้อสายจาก ตวนกู อับดุลกาเดร์ กามารุดดิน (พ.ศ. 2442 - 2452) นิ โวะ {2452 (ต้นตระกูล พิพิธภักดี และอับดุล บุตร)} ตวนกู อับดุลมุตตอเล็ป (2452)
- สตูล ประธานในพิธีจะสืบเชื้อสายจาก ตวนกู กูเด็น - ตวนกู ฎียาอุดดีน - ตึงกู บิสนู