เมื่อเข้าสู้ฤดูร้อน หลายคนจะนึกถึงการไปท่องเที่ยว รวมถึงการทำกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ แม้ว่าแสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้าจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามินดี แต่ทราบกันหรือไม่ว่า หากได้รับแสงแดดมาเกินไป จะเกิดผลเสียต่อผิวหนังและร่างกาย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว หลายอย่างนี้ มีผลเสียต่อผิวหนังในระยะเฉียบพลัน
การไหม้แดด (Sunburn Reaction)
- เกิดจากผิวหนังได้รับแสงแดดในปริมาณที่มากเกินไป โดยเป็นผลจากแสงในช่วงของยูวีบี ต่อผิวหนังในชั้นหนังกำพร้า ทำให้เซลล์บวมและมีการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสของเซลล์ได้ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังในภายหลังได้
- มักเกิดภายใน 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะภายใน 2-6 ชั่วโมงแรก หลังจากถูกแดด เช่น หลังการอาบแดด
- มีอาการแดง และอาจมีอาการบวม หรือ ปวดแสบร้อน บริเวณผิวหนังที่ถูกแสงแดดจัด หากมีอาการรุนแรงอาจพบตุ่มพองเกิดขึ้นได้ และอาจมีการลอกของผิวหนังตามมา
- ผู้ที่มีปริมาณเม็ดสีน้อย จะมีสีผิวขาว และมีแนวโน้มที่จะเกิดการไหม้แดดได้ง่ายกว่าคนสีผิวคล้ำและผู้ที่มีสีผิวเข้ม ผิวจะเปลี่ยนเป็นสีแทนได้เร็ว และมีแนวโน้มในการไหม้แดดน้อยกว่าผิวชนิดอื่นๆ
1.สีผิวคล้ำขึ้น (tanning) เกิดจากมีการผลิตและกระจายของเม็ดสีมากขึ้น เพื่อป้องกันนิวเคลียสของเซลล์ผิวหนัง จากอันตรายของแสงแดด
2.เป็นสาเหตุหนึ่งของ Photoaging หรือ Extrinsic aging (การแก่ของผิวหนัง) ทำให้ผิวหนังมีรอยย่นก่อนวัย หยาบกร้าน ไม่สม่ำเสมอ เป็นฝ้า กระ
3.เป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง แม้ว่าการเกิดมะเร็งผิวหนังจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง แต่ในปัจจุบันเชื่อว่า ผิวหนังที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการสะสมของแสงยูวีในระยะยาวอาจก่อให้เกิดมะเร็งของผิวหนังได้
4.ทำให้ภูมิคุ้มกันของผิวหนังลดลง ซึ่งเชื่อว่าทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยทั่วไปลดลงด้วย ในบางคนอาจมีแผลร้อนในในปาก หลังจากถูกแสงแดดมากรวมทั้งโรคติดเชื้อบางอย่าง อาจมีอาการกำเริบขึ้น เช่น อีสุกอีใส เริม เป็นต้น
5.ผู้ป่วยโรคผิวหนังบางชนิด จะมีความไวต่อแสงแดดมากกว่าคนปกติ เมื่อถูกแสงแดดจะทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้ ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงแสงแดด หรือใช้ครีมกันแดด เป็นประจำ
6.ยูวีบี มีอันตรายต่อดวงตา (cornea, lens and retina) ถ้าได้รับมากเกินไป
- ในระยะสั้น สามารถเกิด Photokeratitis หรือ "Snow-blindness"
- ในระยะยาว ถ้าได้รับสะสมมากเกินไป ทำให้เกิดต้อกระจกได้ และยังพบว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของสายตาสั้นในคนสูงอายุได้ (age-related near-sightedness)
- แม้จะอยู่ในอาคาร ในที่ร่ม ในวันที่ดูเหมือนมืดครึ้ม หรือเวลาไปเที่ยวชายหาด ก็ต้องป้องกันเสมอ และจำเป็นสำหรับคนทุกอายุ
- หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยเฉพาะในช่วง 10.00-15.00 น.
- ควรเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม เช่น สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เสื้อที่หนาและหลวมๆ และผ้าฝ้ายจะป้องกันรังสีดีกว่าผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์
- ควรใช้อุปกรณ์ช่วยกำบังแสงแดด เช่น ใส่หมวกปีกกว้าง (ต้องมีขอบหรือปีกกว้างขนาดอย่างน้อย 4 นิ้ว)
- เลือกใช้ครีมกันแดดที่เหมาะสม สามารถป้องกันทั้ง ยูวรเอ และ ยูวีบี และทาอย่างถูกวิธี
- แม้จะทาครีมกันแดดก็ไม่ควรออกแดดเกิน 30 นาที
- ยาบางชนิด จะทำให้ผิวหนังไว้ต่อแสงแดดมากขึ้น หากเป็นผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวอยู่ ควรป้องกันแสงแดดมากขึ้น
พยายามหลบแดดทันทีที่ทำได้ และงดการทำกิจกรรมที่ทำให้ผิวถูกความร้อนมากขึ้น เช่น ซาวน่า อบไอน้ำ หรืองดการทำงานในบริเวณที่มีความร้อนสูง หากมีอาการแดง บวม ปวด แสบร้อน ตุ่มพอง ให้ประคบผิวส่วนนี้ให้เย็นขึ้น และทายาลดอาการบวมแดง และมอยส์เจอร์ไรเซอร์ หากมีการลอกของผิวหนัง ให้ใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ หรือ ออยล์ ทา ร่างกายอาจมีอาการขาดน้ำ ดื่มน้ำชดเชยให้มากขึ้น เลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามิน และแอนติออกซิแดนท์ เช่น วิตามินซี, อี, Coenzyme Q10 เช่น ผัก ผลไม้ จะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยคืนความสดชื่นให้ผิว
ฉะนั้นเมื่อเราจำเป็นจะต้องออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านในหน้าร้อน การปกป้องผิวหนังจากแสงแดดย่อมมีความจำเป็น และควรให้ความสำคัญ เพื่อถนอมผิวของเราไปได้อีกนาน และหากเกิดปัญหาควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกครั้ง เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
แหล่งที่มา : https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/27827