ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

|ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด, |ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด หมายถึง, |ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด คือ, |ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด ความหมาย, |ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
|ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด


      ต้อหิน เป็นโรคที่มีการทำลายของขั้วประสาทตาอย่างช้าๆ ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากมีการเพิ่มความดันลูกตาที่สูงผิดปกติ ความดันลูกตาที่สูงจะไปกดเส้นประสาท ทำให้ขั้วประสาทตาค่อยๆ เสื่อมลงมีผลทำให้ตามัว ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด โดยปกติคนเรามีน้ำหล่อเลี้ยงภายในลูกตา การสร้างและขับน้ำออกนี้ต้องสมดุลกัน ความดันลูกตาจึงจะปกติ ถ้าเกิดการเสียสมดุลของการสร้างและขับน้ำในลูกตา จะมีผลทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น
ประเภทของต้อหิน
  1. เป็นแต่กำเนิด
  2. เป็นภายหลัง ชนิดเฉียบพลัน ชนิดเรื้อรังแบบมุมเปิด (ชนิดที่พบมากที่สุด) ชนิดเรื้อรังแบบมุมปิด
1. เป็นแต่กำเนิด เด็กมักมีอาการน้ำตาไหลมาก, สู้แสงไม่ได้, บีบตาบ่อยๆ สังเกตว่ามีตาดำขุ่นขาว และขนาดใหญ่มากกว่าปกติ หากพ่อแม่สังเกตพบความผิดปกติควรรีบมาปรึกษาแพทย์
2. เป็นภายหลัง
      2.1 ชนิดเฉียบพลัน เกิดจากความดันลูกตาขึ้นสูงทันที ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามาก ตาแดง ปวดศีรษะ ตามัวลงอย่างรวดเร็ว อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจทำให้ตามัวลงมากจนตาบอดได้ มักเกิดในผู้ป่วยที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
      2.2 ต้อหินเรื้อรังแบบมุมเปิด ต้อหินชนิดนี้จะมีความดันตาขึ้นทีละน้อย และโรคจะดำเนินเป็นไปอย่างช้าๆ มุมม่านตาเปิดมักไม่มีอาการเจ็บปวด มักเป็น 2 ตา ในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการผิดปกติ จนโรคเป็นมาก ขั้วประสาทตาถูกทำลายไปเรื่อยๆแล้วจึงพบมีอาการปวดตาบ้าง ตามัวลงจนบอดได้
      2.3 ต้อหินชนิดเรื้อรังแบบมุมปิด ต้อหินชนิดนี้ โรคจะดำเนินไปอย่างช้าๆ ความดันลูกตาขึ้นทีละน้อย มุมม่านตาปิดเป็นหย่อมๆ ความดันลูกตาค่อยๆ สูงขึ้น ตรวจขั้วประสาทตาพบมีการทำลายขั้วประสาทตา ผู้ป่วยมาด้วยตามัว หรือปวดตา 
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน
  • มีประวัติในครอบเป็นต้อหิน (โรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์)
  • เบาหวาน 
  • ไมเกรน 
  • สายตาสั้น 
  • ประวัติอุบัติเหตุ 
  • มีความดันโลหิตสูง 
  • มีประวัติการใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ 
  • การอักเสบเรื้อรัง เช่น ม่านตาอักเสบ 
      ดังนั้นผู้ป่วยที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรได้รับการตรวจตาและวัดความดันลูกตาครั้งแรกเมื่ออายุ35 ปีขึ้นไป และในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ก็ควรได้รับการตรวจเพื่อจะได้ตรวจพบโรคนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ และทำการรักษาในลำดับต่อไป
การรักษาโรคต้อหินทำได้หลายวิธี คือ
  • การใช้ยา
  • การยิงแสงเลเซอร์
  • การผ่าตัด การเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรค โดยอยู่ในดุลยพินิจของจักษุแพทย์ว่าจะใช้วิธีใดจึงจะได้ผลดีกับผู้ป่วยมากที่สุด
แหล่งที่มา : https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/27834

|ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด, |ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด หมายถึง, |ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด คือ, |ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด ความหมาย, |ต้อหิน| อย่าปล่อยไว้ เสี่ยงตาบอด คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu