ตํานานสมเด็จนเรศวรมหาราช ภาค 4ศึกนันทบุเรง
ตำนานสมเด็จพระนเรศวร
ภาค 4
ศึกนันทบุเรง
(สหมงคลฟิล์ม,พร้อมมิตร
โปรดักชั่น)
กำหนดฉาย:
11 สิงหาคม
2554
แนว:
อิงประวัติศาสตร์
กำกับ:
หม่อมเจ้า
ชาตรีเฉลิม ยุคล
อำนวยการสร้าง:
หม่อมกมลา
ยุคล ณ อยุธยา คุณากร
เศรษฐี
นักแสดงนำ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
-
พ.ท.
วันชนะ
สวัสดี
สมเด็จพระเอกาทศรถ
-
พ.ท.
วินธัย
สุวารี
ออกพระราชมนู
-
นพชัย
ชัยนาม
ออกพระชัยบุรี
-
ปราบต์ปฎล
สุวรรณบาง
ออกพระศรีถมอรัตน์
-
พ.ท.
คมกฤช
อินทรสุวรรณ
พระมหาเถรคันฉ่อง
-
สรพงษ์
ชาตรี
สมเด็จพระมหาธรรมราชา
-
ฉัตรชัย
เปล่งพานิช
พระเจ้านันทบุเรง
-
จักรกฤษณ์
อำมะรัตน์
พระมหาอุปราชา
-
นภัสกร
มิตรเอม
มังจาปะโร
-
ชลัฏ
ณ สงขลา
ลักไวทำมู
-
สมชาติ
ประชาไทย
มณีจันทร์
-
ทักษอร
ภักดิ์สุขเจริญ
เลอขิ่น
-
อินทิรา
เจริญปุระ
พระสุพรรณกัลยา
-
เกรซ
มหาดำรงค์กุล
นักแสดงกลุ่มใหม่ในภาค
3
และภาค
4
รัตนาวดี
-
อคัมย์สิริ
สุวรรณศุข
อังกาบ
-
ศิรพันธ์
วัฒนจินดา
เจ้าจอมมารดาสาย
-
วิชุดา
มงคลเขตต์
มูเตอ
-
เกศริน
เอกธวัชกุล
ท้าวโสภา
-
พิมพรรณ
ชลายนคุปต์
เสือหาญฟ้า
-
ดอม
เหตระกูล
เสือหยก
-
พันธกฤต
เทียมเศวต
นันทกะยอสู
-
เขมชาติ
โรจนะหัสดิน
ไชยกะยอสู
-
พ.ต.ต.
จตุรวิทย์
คชน่วม
พระศรีสุพรรณธรรมาธิราช
-
ดิลก
ทองวัฒนา
พระยาพะเยา
-
เฉลิมชัย
มหากิจศิริ
พระยาพะสิม
-
ครรชิต
ขวัญประชา
นรธาเมงสอ
-
ชลิต
เฟื่องอารมย์
พญาละแวก
-
เศรษฐา
ศิระฉายา
พระยาจีนจันตุ
-
ชูชาติ
ทรัพย์สุทธิพร
สีหตู
-
วรุฒ
วรธรรม
ขุนรามเดชะ
-
ฐากูร
การทิพย์
ไอ้ขาม
-
ศุภกรณ์
กิจสุวรรณ
ล่ามจีน
-
รอง
เค้ามูลคดี
ครูบาเฒ่า
-
ถนอม
นวลอนันต์
จ่าศรีพรม
-
จันทนา
สิริผล
พลับพลึง
-
ไอรินทร์
สุรังค์สุริยกุล
ชาวบ้าน
-
ค่อม
ชวนชื่น
ชาวบ้าน
-
จเร
เชิญยิ้ม
ชาวบ้าน
-
แป๋ว
ทรงแสง
เรื่องย่อ
ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ภาค
4
ศึกนันทบุเรง
ภาพยนตร์
ตำนานสมเด็จพระนเรศวร
ในทุกบทตอนที่ผ่านมาตราบถึงตอนที่
4
"ศึกนันทบุเรง"
ล้วนมุ่งฟื้นอดีตอันเป็นวีรกรรมของวีรกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอยุธยา
ซึ่งได้ทรงประกอบพระราชภารกิจอันเป็นคุณูประการต่อแผ่นดินเป็นสำคัญ นั่นคือการประกาศเอกราชและการรักษาเอกราช
หลักฐานในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและพงศาวดารพม่าระบุตรงกันว่า
ภายหลังการประกาศเอกราชในปี
พ.ศ.
2127 แล้วนั้น
พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้โปรดให้กรีฑาทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาคืนเป็นเมืองขึ้นถึง
4
ครั้งคราว
คือ ในคราวศึกพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่เมงนรธาสอ
ในปี พ.ศ.
2127/28 ศึกนันทบุเรงปี
พ.ศ.2129
ศึกมหาอุปราชาในปี
พ.ศ.2133
และศึกยุทธหัตถีในปี
พ.ศ.
2135 ในศึกทั้ง
4
ครั้ง
ตามกล่าว
ศึกที่นำพาให้ราชอาณาจักรอยุธยาต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์อันสุ่มเสี่ยงต่อการสิ้นสูญแผ่นดินคือศึกนันทบุเรง
กระนั้นก็ดี เมื่อออกนามศึกนันทบุเรง
จะมีคนไทยน้อยคนที่เคยได้ยินหรือระลึกได้
แต่หากระบุถึงวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่ว่าจะเมื่อครั้งออกปล้นค่ายพม่า
จนเป็นที่มาของเรื่องพระแสงดาบคาบค่าย
หรือการออกรบบนหลังอาชาจนสังหารลักไวทำมูทหารเอกข้างหงสาวดี
ทั้งหมดเป็นวีรกรรมที่ล้วนอุบัติในคราวศึกนันทบุเรงทั้งสิ้น
ด้วยเหตุประการฉะนี้
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม
ยุคลจึงมุ่งพลิกฟื้นวีรกรรมแห่งการปกป้องเอกราชของวีรกษัตริย์ผู้เรืองนามพระองค์นี้ในคราวศึกนันทบุเรงให้ปรากฏบนแผ่นฟิล์ม
เพื่อจารึกเกียรติประวัติครั้งนั้นไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย
และเพื่อความสมบูรณ์ของมหากาพย์การสร้างตำนานสมเด็จพระนเรศวร
ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรตอน
"ศึกนันทบุเรง"
ดำเนินเรื่องตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์โดยนำแสดงที่มาแห่งศึกซึ่งยึดโยงจากผลการปราชัยของหงสาวดีในคราวศึกพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่
ความพ่ายแพ้ครั้งนั้น
ทำให้พระเจ้านันทบุเรงทรงตระหนักในพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรและในความเข้มแข็งของกองทัพอยุธยา
จึงทรงตัดสินพระทัยยกทัพใหญ่เป็นทัพกษัตริย์มาย่ำยีราชธานีสยาม
ให้ราบเป็นหน้ากลองเพื่อเป็นการแก้มือและเพื่อรักษาซึ่งพระเกียรติยศมิให้เป็นที่ดูแคลนแก่เหล่าเจ้าประเทศราชในขอบขัณฑสีมาพุกามประเทศ
ภาพยนตร์ได้ตีแผ่ให้เห็นว่าศึกนันทบุเรงครั้งนั้นพม่ายกเข้ามาเป็นทัพกษัตริย์
กองทัพจึงมีความสมบูรณ์ยิ่งใหญ่น่าเกรงขามกว่าทุกศึก
หลักฐานข้างพม่าระบุว่ากองทัพพระเจ้านันทบุเรงประกอบด้วยช้าง
3,200
ทัพม้า
12,000
และไพร่ราบซึ่งมีจำนวนถึง
252,000
ในกองทัพนี้ยังมีนายทัพผู้ปรีชาสามารถตามติดมาร่วมรบ
ไม่ว่าจะเป็นพระมหาอุปราชา
มังจาปะโร
หรือแม้แต่ลักไวทำมูทหารกล้า
ภาพยนตร์ยังได้ตีแผ่ให้เห็นว่า
กิตติศัพท์ความยิ่งใหญ่ที่น่าเกรงขามของทัพหงสาวดีที่ยกเข้ามาครั้งนั้นส่งผลให้เจ้าเมืองกรมการเมืองในขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักรอยุธยาข้างฝ่ายเหนือประหวั่นพรั่นพรึงถึงกับสมคบคิดกันแปรพักตร์เข้าสมานสมัครพระเจ้านันทบุเรงรบสมเด็จพระนเรศวร
เป็นเหตุให้สมเด็จพระนเรศวรต้องเผชิญทั้งศึกนอกและศึกใน
สถานการณ์กลับยิ่งบีบคั้นให้คับขันยิ่งขึ้นเมื่อพระศรีสุธรรมราชา
พระอนุชาเจ้ากรุงละแวกซึ่งขัดพระทัยสมเด็จพระนเรศวรแต่กาลก่อน
ได้ยุยงให้พระเชษฐาตัดสัมพันธไมตรีกับอยุธยาจนเป็นเหตุให้ละแวกกลายมาเป็นหอกข้างแคร่
ที่พร้อมจะกระหน่ำซ้ำเติมกรุงสยามให้ย่อยยับหากมีอันพลาดท่าเสียทีในศึกนันทบุเรง
ภาพยนตร์ได้ลำดับให้เห็นถึงภัยรอบด้านที่บีบรัดให้สมเด็จพระนเรศวรทรงต้องเผชิญศึกอย่างโดดเดี่ยว
แต่เคราะห์กลับทับทวีคูณเมื่อสหายศึก เช่น
เลอขิ่น และกำลังเมืองคัง
ซึ่งร่วมกรำศึกกันมาแต่เบื้องต้นคิดถอนตัวตีจากเนื่องจากพิษรักระหว่างรบ
ที่จบลงด้วยความร้าวฉานระหว่างเลอขิ่นกับพระราชมนูขุนศึกคู่พระทัย
ความขัดแย้ง
ด้วยเหตุส่วนตัวได้บานปลายกลายเป็นภัยของแผ่นดินในคราวคับขันเมื่ออยุธยา
ต้องเผชิญศึก
ซึ่งประมาณได้ว่าเป็นมหาสงครามภายใต้โทสจริตของพระเจ้านันทบุเรง
ด้วยข้อจำกัดที่รุมเร้าหลายประการ
ผสานกับจำนวนไพร่พลที่เป็นรองหงสาวดี
อยู่หลายขุม
ทำให้สมเด็จพระนเรศวรทรงจำต้องปรับยุทธศาสตร์การตั้งรับทัพหงสาวดีเสียใหม่
โดยทรงใช้พระนครศรีอยุธยา
ซึ่งมีทำเลที่ตั้งที่ได้เปรียบเป็นฐานบัญชาการรบแต่เพียงแห่งเดียว
โดยทรงส่งกำลังออกไปปักปราการ
วางแนวป้องกันมิให้พม่าเข้ามาปลูกค่ายใกล้ขอบคูพระนครและกำแพงเมือง
ทั้งยังแต่งกำลังเป็นกองโจรเข้าปล้นค่ายข้าศึกอย่างอาจหาญ
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ได้ทรงถ่ายทอดยุทธนาการครั้งสำคัญนั้นลงบนแผ่นฟิล์มได้อย่างเต็มตาตื่นใจโดยเฉพาะตอนที่สมเด็จพระนเรศวรทรงคาบ
พระแสงดาบขึ้นปีนปล้นค่ายพม่า
ภาพห่าธนูเพลิงที่สาดซัดและกองทัพนับพันนับหมื่น
ปีนพะองขึ้นชิงค่าย ทั้งหมด
คือ
ความอลังการที่ผู้ชมจะได้สัมผัสในตำนานสมเด็จพระนเรศวรตอนศึกนันทบุเรงนี้
เมื่อศึกเหนือเสือใต้รุมกระหน่ำ
ขุนนางผู้ใหญ่ขาดสามัคคีคิดคดคำนึงแต่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง
จอมทัพผู้รั้งราชบัลลังก์และความอยู่รอดของแผ่นดินก็มาพลาดท่าต้องศาสตรากลางสมรภูมิศึก
ยอดทหารเอกกรุงศรีถูกขุนศึกผู้ชาญณรงค์กว่าจับเป็นเชลย
ชะตากรรมกรุงศรีอยุธยา
และสมเด็จพระนเรศวรจะลงเอยฉันใด
เชิญท่านร่วมเป็นประจักษ์พยานในภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรภาค
4
ศึกนันทบุเรง
แหล่งที่มา : https://movie.kapook.com/view27864.html