ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ, วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ หมายถึง, วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ คือ, วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ ความหมาย, วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ

วันตรุษไทย ถือเป็นวันปีใหม่ในสมัยโบราณ ตรงกับวันแรม 13 - 15 ค่ำเดือน 4 และวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 รวม 3 วัน โดยถือเอาวันแรก คือวันแรม 14 ค่ำเป็นวันจ่าย เพื่อตระเตรียมสิ่งของไว้ทำบุญ วันกลาง คือวันแรม 15 ค่ำ เป็นวันทำบุญตักบาตร และมีการละเล่นสนุกสนานตาม ประเพณีท้องถิ่น ซึ่งจะเล่นกับจนถึงวันที่ 3 คือวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 4

ประเพณีทำบุญวันตรุษ

คำว่า "ตรุษ" แปลว่า ตัด หรือ ขาด ซึ่งหมายความ ว่า ตัดปีเก่าที่ล่วงมาแล้วให้ขาดไป ประเพณีตรุษนี้แต่เดิมเป็นของพวกอินเดียฝ่ายใต้ เมื่อพวกทมิฬได้มาครองเมืองลังกา ได้นำพิธี ตรุษซึ่งเป็นลัทธิศาสนาของตนเข้ามาปฎิบั ติ จึงกลายเป็นงานนักขัตฤกษ์ใหญ่ นิมนต์พระสงฆ์ มาเจริญพระพุทธมนต์ในวันแรม 14 ค่ำ วัน แรม 15 ค่ำเดือน 4 และขึ้น 1 ค่ำ เพื่อให้ เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองของตน ขนมที่จัดทำขึ้นในวันตรุษที่จะขาดไม่ได้คือ ข้าวเหนียวแดง และกะละแม มีการทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระตามประเพณี บางวัดก็จัดให้มีสวดภาณยักษ์ ประเพณีตรุษนี้คนในหมู่บ้าน ตามท้องถิ่นต่างๆ ได้ประกอบพิธีทำบุญตักบาตรที่วัด และมีการละเล่นต่าง ๆ ตามความนิยมแต่ละยุคสมัยในท้องถิ่น

ชาวไทย ได้นำแบบแผนประเพณีวันตรุษมาจากลังกา เพราะพระพุทธศาสนาจากลังกาได้เข้าเผยแพร่ในประเทศไทย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ ได้ทรงวินิจฉัย ด้วยเหตุผล 3 ประการว่า

  1. อาจได้ หนังสือที่เป็นตำรามา ซึ่งเป็นภาษาสิงหฬ และจารึก ลงในใบลานด้วยอักษรสิงหฬ แล้วมาแปลออก เป็นภาษาไทยเรา
  2. อาจมีพระเถระ ชาวลังกา ซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญในพิธี ตรุษ ได้เข้ามาในเมืองไทย แล้วมาบอกเล่า และสอนให้ทำพิธีตรุษเกิดขึ้น
  3. อาจมีพระสงฆ์ของไทยเรา ได้ไปเห็นชาว ลังกาทำพิธีตรุษ และได้มีโอกาสได้ศึกษาทำ พิธีตรุษนั้น จนมีความสามารถทำได้ แล้วก็ ได้นำเอาตำรานั้นเข้ามาสู่ประเทศไทย

ในเหตุผล 3 ประการดังกล่าว สมเด็จกรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่า "พระสงฆ์ไทย เราไปได้ความรู้ และได้นำเอาตำราตรุษมาจากลังกา น่าจะถูกต้องกว่าประการอื่น เพราะมีเรื่อง ในพงศาวดารปรากฎไว้เป็นหลักฐาน"

ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ

พิธีตรุษนี้ เข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ปรากฎว่ามี พิธีทำวันบุญตรุษ ซึ่งนางนพมาศที่เป็น สนมเอกของพระร่วงเจ้ากล่าวไว้ในหนังสือนพมาศว่า ครั้งเดือน 4 ถึงกาลพระราช พิธีพัจฉรฉินท์โลกสมมุติเรียกว่า "ตรุษ" ฝ่าย พุทธศาสนาพนักงานก็ได้ตักบาตรทราย จับด้ายมงคล สูตรใส่บลุ้งไว้ในโรงราชพิธีทั้ง 4 ทิศ พระเนตร และในพระราชนิเวศน์ จึงอัญเชิญพระพุทธปฎิมากรมาประดิษฐาน อาราธนาพระเถระผลัดเปลี่ยนกัน มาจำเริญพระปริตรในโรงราชพิธีทุกตำบลสิ้น ทิวาราตรี 3 วาระ และด้ายมงคลสูตรในราตรี เหล่า ทหารยิงปืนใหญ่รอบพระนคร ฝ่ายพราหมณ์จารย์ก็ ประมุขกันผูกพรตกระทำพระราชพิธีในเทวสถานหลวง ตั้งเครื่องพิธีกรรมสังเวยบวงสรวงพระเทวรูปทั้งมวล มีพระปรเมศวรเป็นต้น แล้วก็เปลี่ยนเวร กันอ่านอาคมในทิวาราตรีทั้ง 3 ครั้นเวลาพลบค่ำ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จยังหน้าพระลานโรงราชพิธีสว่างไปด้วยแสงโคมประทีปชวาลา ทรงสถิตย์ในมหาฬดัดพิดาน ผ้าขาวเป็นที่นั่ง แล้วก็สมาทานสิน 5 ทรงสดับพระมหาเถระเจ้า ด้วยของรัตนสูตรและอาฎานาฎิยสูตร โดยสัจจเคารพ...ครั้งรุ่งขึ้นเป็นวันสิ้นปี ก็ทรงปรนนิบัติ พระมหาเถระเจ้าด้วยของคาวหวาน อันประณีต ถวายไตรจีวรบริเวณสมณะสิ้นทุกพระองค์ แล้วก็ตั้งกระบวนแห่เป็นปัญจะพยุหะ ประพรมน้ำ พระพุทธมนต์ และโรยทรายรอบพระราชนิเวศน์นั้น กระบวนหนึ่งรอบพระนครท้องสถลมารนั้นสี่กระบวน ดูเป็นสง่างามยิ่งนัก เหล่านักเลงก็เล่น มหรรสพเอิกเกริกสมโภชบ้านเมืองเป็นการนักขัตฤกษ์ บรรดา นิกรมวลราษฎรชายหญิง ก็แต่งตั้งนุ่งห่มประดับ กายโอ่โถง พากันมาเที่ยวดูแห่ ดูงาน นมัสการพระในวันสิ้นปี และวันขึ้นปีใหม่ และหมู่พระสนมกำนัลในทั้งหลาย ก็ประดับกาย ด้วยเครื่องสรรพาภรณ์ ตามเสด็จพระร่วงเจ้า ออก ทางท้องฉนวนวัดหน้าพระธาตุ ถวายข้าวบิณฑ์ บู ชาพระรัตนตรัย แล้วประโคมดุริยดนตรีขับร้อง ฟ้อน รำสมโภชพระพุทธปฎิมากรโดยนิยม......."

ข้อความนางนพมาศที่ปรากฎนี้ พิธีตรุษได้เข้ามาในประเทศไทยนานนับเป็นร้อยๆ ปี สมัยกรุงสุโขทัยทุกคนที่เข้าร่วมพิธีต้องสวม มงคลพิสมร มือถือกระบองเพชร การนิมนต์พระสงฆ์สวดพระ อาฎานาฎิยสูตรอยู่ตลอดรุ่งก็เพื่อระงับ โรคภัยไข้เจ็บและอันตรายต่างๆ ไม่ให้เกิด แก่ประชาราชอาณาจักร เหมือนกับสมัยหนึ่งในเมือง เวสาลีครั้งพุทธกาล ได้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มีพวกมิจฉาชีพเบียดเบียนชาวเมืองทั่วไป พระ พุทธเจ้าได้เสร็จไปถึงทรงประทานบาตรน้ำพระ พุทธมนต์ให้พระอานนท์นำไปประพรมตามกำแพงเมือง พร้อมกับประทานเนื้อสวดพระอาฎานาฎิยสูตร ไปสวดแล้วโรคภัยต่างๆ ก็หายสิ้น

การที่พระสงฆ์สวดบทอาฎานาฎิยสูตรหรือสวดบทภาณยักษ์ภาพนั้น ยังมีผู้เข้าใจกันว่า สวดเพื่อให้ผีตกใจกลัว และผู้ที่มีปืนก็ยิงปืนสนั่นหวั่นไหว เป็นการไล่ผี ผู้เฒ่าผู้แก่จัดเตรียมตำปูนขมิ้นผสมกันวางไว้ข้างที่นอนไว้ให้ พวกผีญาติ ผีเรือน ตกใจกลัววิ่งกันชุลมุน ล้มลุกคลุกคลาน หัวแตก สีข้างเดาะ จะได้หยิบเอา ปูนขมิ้นทาแล้วยังเอากระบอกไม้ใส่อาหารคาว หวาน แขวนไว้ตามกิ่งไม้ โยงมาหัวบันไดที่ เรียกกันว่า "ข้าผอมกระบอกน้ำ" เอาไว้ ให้พวกผีที่กลัวเสียงสวดพระปริตรและเสียงปืน วิ่งหนีเห็นเหนื่อยจะได้หยิบกิน แล้วยังห้ามไม่ให้ผู้ใดถ่ายมูตคูถลงร่องเรือน เกรงจะไปเปรอะเปื้อนพวกผีที่วิ่งหนีชุลมุลใต้ถุน และยังเชื่อถือว่าถ้าผู้ใด ไม่สวดมงคล ผีอาจวิ่งมาชนล้ม หรือมา หลอกหลอน ทำให้เกิดเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดการ เพ้อคลั่งมีกริยาต่าง ๆ ถือกันมาจนทุก วันนี้

ประเพณีตรุษนี้ คนในหมู่บ้าน และ ตามท้องถิ่นต่างๆ ได้ประกอบพิธีทำบุญตักบาตรที่วัดและมีการละเล่นต่างๆ ตามความนิยม แต่ละยุคละสมัย ในท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีสมัย ก่อนประมาณ 40-50 ปีที่ผ่านมาแล้ว พอถึงเทศกาลตรุษ หลังจากทำบุญเช้าและตอนเพลที่วัดแล้ว พอตกเวลาบ่าย เขาจะเอา ไม้ไผ่ทั้งลำเอาผ้าแดงผูกปลาย แล้วเอาไปปักไว้ที่ลานนอกบ้านหรือกลางทุ่งนา เรียกว่าปักธงแดง เพื่อเป็นเครื่องหมายนัดพบ ของหนุ่มสาวให้มาพบกันในเวลา 5 โมง เย็น เวียนกันไปตามตำบลต่างๆ เพื่อให้มาร่วมแล่น ไม้หึ่งไม้อี่ เล่นช่วงรำ เล่นสะบ้า และเล่นระบำกันอย่างสนุกสนาน เมื่อสมัยสงครามโลก ครั้งที่สอง สมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็น นายกรัฐมนตรี ก็มีการเล่นรำวงกันเป็น ที่ครึกครื้นของหนุ่มสาวกันมาทำให้เกิดความ สามัคคีกันเป็นอย่างดีเมื่อมีกิจการใด ๆ ก็จะร่วมมือช่วยเหลือกันด้วยน้ำใจที่ เรียกว่า "ลงแขก" การละเล่นในยามตรุษ ยัง มีเนื้อเพลงที่ชาวบ้านแต่งร้องรำกันสนุน สนานรื่นเริงตอนหนึ่งว่า

".....ตอนเช้า ทำ บุญตักบาตร ทำบุญร่วมญาติ ตักบาตรร่วมญาติ กันเอย ตอนบ่ายเราเริงกีฬา เล่นมอญซ่อนผ้า เล่นสะบ้าเอย....." และยังมีเพลงพื้นเมืองที่ ควรจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์เพราะสมัยนั้นเป็น เวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ก็มีเพลง ที่เกี่ยวกับเสียงปืนที่หนุ่มสาวนำมาคิด ประดิษฐ์รองกันขึ้นว่า

"ครืน ครืน ครืน ได้ ยินเสียงปืนกระทุกใจหวัง คิดไปหัวใจ เรายัง คิดถึงความหลังก็ยังเศร้าใจเขต แคว้นในแดนไทยเรา ถูกเขามายื้อแย่ง ไป คิดขึ้นมาน้ำตาหลั่งไหล คิดขึ้นมา น้ำตาหลั่งไหล ขึ้นชื่อว่าไทยไม่วายเขา ลือ"


ขอบคุณข้อมูลจาก สนุก! แคมปัส

วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ, วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ หมายถึง, วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ คือ, วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ ความหมาย, วันตรุษไทย ประวัติประเพณีทำบุญวันตรุษ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu