ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ซับไพร์ม คืออะไร, ซับไพร์ม คืออะไร หมายถึง, ซับไพร์ม คืออะไร คือ, ซับไพร์ม คืออะไร ความหมาย, ซับไพร์ม คืออะไร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ซับไพร์ม คืออะไร


     ในช่วงเดือนที่ผ่านมา เวลาฟังข่าวมักจะได้ยินคำว่า แฮมเบอร์เกอร์ ไครซิส กับ ซับไพร์ม ให้สงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่ จึงเข้าไปค้นๆ ใน Net จึงได้หายสงสัย แฮมเบอร์เกอร์ ไครซิส หรือ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ตีความว่า คล้ายๆ กับวิกฤตต้มยำกุ้งของไทย เมื่อปี 2540 นี่เอง อาจจะทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาล้มครืนลงก็เป็นไปได้ แล้ววิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ของอเมริกาเกิดจากอะไร ได้คำตอบแล้วครับ เกิดจากซับไพร์มนี่เอง     
     ซับไพร์มคืออะไร? Sub-Prime แยกออกเป็นสองคำ
Sub = ต่ำกว่า Prime = มาจาก Prime Rate คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี


     Sub-Prime จริงๆ แล้วเป็นเพียงคำวิเศษณ์ (คำนำหน้าที่ใช้ขยายคำอื่น) แปลว่าคุณภาพเป็นรอง ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปขยายความอะไร เช่น หากเป็นสินเชื่อที่คุณภาพรองลงไปก็เรียกว่า Sub-Prime Loan หากเป็นสินเชื่อคุณภาพรองที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน เรียกกันว่า Sub-Prime Mortgage ในสหรัฐอเมริกา Sub-Prime Loan เป็นหนี้ที่ผู้ให้กู้ปล่อยให้กับผู้กู้ที่โดยทั่วไปไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินปกติได้ ผู้ปล่อยกู้เหล่านี้บางแห่งก็เป็นบริษัทอิสระ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงิน โดยผู้ให้กู้เหล่านี้ จะปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่หากไปขอสินเชื่อตามปกติก็จะไม่ผ่านการอนุมัติ อาจจะเป็นเพราะสัดส่วนของกระแสเงินสดที่จะนำมาชำระคืนหนี้ต่ำเกินไป อันอาจเกิดจากรายจ่ายสูง รายได้จึงไม่เหลือมากพอที่จะผ่อนจ่ายคืนหนี้ในสัดส่วนที่ผู้ให้กู้พอใจ


     ผู้ให้กู้ในกลุ่ม Sub-Prime Loan นี้ ก็จะให้กู้โดยมีหลักเกณฑ์ที่ผ่อนคลายกว่า แต่ก็ชดเชยความเสี่ยงด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า และอาจจะให้กู้ได้เป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับหลักประกัน นอกจากนี้ หากผู้กู้ชำระคืนก่อนกำหนดก็จะเสียค่าปรับสูงกว่าด้วย ผู้ให้กู้กลุ่มนี้มักจะให้กู้แก่ผู้กู้ที่มีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจึงเป็น Sub-Prime Loan เป็นส่วนใหญ่ เพราะมองเห็นว่า คนมักจะไม่ค่อยทิ้งบ้าน หากกู้แล้วก็มักจะต้องพยายามผ่อนส่ง และหลักประกันก็คุ้มวงเงินให้กู้ ซึ่งก็ทำให้ดูเหมือนว่าผู้ปล่อยกู้กลุ่มนี้มีความเสี่ยงไม่มากนัก


     ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ ได้อธิบายการเกิด Sub-Prime ให้เข้าใจง่ายๆ บางช่วงสรุปไม่ได้เลย กลัวตัดแล้ว จะเสียอรรถรสในการอ่าน ท่านอาจารย์ว่าไว้อย่างนี้ครับ


     มนุษย์ต้องการมีบ้านซึ่งเป็นปัจจัยที่ 1 เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ปกติจะไปขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาซื้อบ้าน แต่เนื่องจากบ้านมีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ มีผู้ขอกู้จำนวนมากไม่สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือธนาคารเพื่อนำไปซื้อบ้านได้ แม้ว่าจะมีหลักประกันเป็นบ้านหรือที่ดิน เนื่องจากธนาคารวิเคราะห์แล้วว่ารายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายของผู้ขอกู้ในแต่ละเดือนไม่เพียงพอที่จะมาจ่ายหนี้ได้ผู้ขอกู้จะทำอย่างไร บ้านก็อยากได้ สถาบันการเงินทั้งหลายในสหรัฐอเมริกา ที่มีบริษัทลูกเลยสบโอกาสนี้ จึงมีนวัตกรรมแบบวิศวกรรมการเงิน หรือ Financial Engineering ประดิษฐ์ตราสารหนี้แบบใหม่ขึ้นมา (ตราสารหนี้ก็เหมือนใบสัญญาเงินกู้ที่สัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ต่อปี) ที่ออกมารองรับช่องว่างนี้ โดยการเป็นคนกลางขายตราสารหนี้ ให้กับคนที่มีเงินเหลือใช้ หรือสถาบันการเงิน หรือคนที่ต้องการผลตอบแทนสูงๆ (หรือโลภนั่นเอง) โดยให้ผลตอบแทนที่สูงมาก เพื่อจูงใจให้คนมาซื้อตราสารหนี้ (Risk Premium) และนำเงินที่ได้ ไปปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่ต้องการเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูง แล้วสถาบันการเงินเหล่านี้ก็กินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย คำถาม คือทำไมสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาถึงกล้าทำเช่นนี้ ไม่กลัวความเสี่ยงหรือ ทั้งที่วิเคราะห์แล้วว่าลูกหนี้เหล่านี้ไม่น่าจะมีปัญญาเอาเงินมาใช้หนี้ได้ คำตอบก็คือ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาได้พุ่งสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการเก็งกำไร และการขยายตัวของครอบครัวเดี่ยว (ซึ่งต้องมีบ้านเป็นของตัวเอง) จึงเป็นคำตอบว่ายังไงก็ตามราคาอสังหาริมทรัพย์ที่พุ่งสูงขึ้นนี้จะมาชดเชยความเสี่ยงได้อย่างสบาย เพราะราคายังไงก็มากกว่าวงเงินกู้อยู่แล้ว และชะล่าใจว่ายังไงคนเราคงไม่ทิ้งบ้าน ไม่มีเงินก็ต้องกัดฟันผ่อนไป


    จากนวัตกรรมการเงินแบบ Financial Engineering หลังจากที่ออกตราสารหนี้ประเภทซับไพร์มนี้แล้ว ก็มีสถาบันการเงินดังๆ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา และต่างประเทศ ต่างลงทุนซื้อตราสาร ที่มีหนี้เกรดสองเหล่านี้เป็นหลักประกันกันจำนวนมาก ตราสารเหล่านี้เรียกว่า ซีดีโอ หรือ Collateralized Debt Obligation (CDO) ทำให้บริษัทหรือสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ หนี้เกรดสองเหล่านี้ ออกตราสารมาขายโดยมีหนี้ซับไพร์มเป็นหลักประกัน (ในวงเงินไม่เต็มหลักประกัน) ที่มีดอกเบี้ยสูงขึ้นไปอีก เพื่อให้มีเงินไปปล่อยกู้เพิ่มอีก และทำแบบนี้เป็นวงจรไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นซับไพร์มของซับไพร์มไปเป็นทอดๆ ซึ่งทำให้ซับไพร์มออกดอกออกผลแตกลูกหลานเหลนโหลนอย่างรวดเร็ว


    แต่ปัญหาคือ ในช่วง 4-5 ปีมานี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สถาบันการเงินเหล่านี้ก็แข่งกันทำตลาดด้วยการเชิญชวนผู้ขอกู้ทั้งหลาย ทั้งผู้กู้เดิม และผู้กู้รายใหม่มาใช้บริการกับตนเอง ด้วยการเสนอวงเงินกู้ที่สูงขึ้นตามราคาประเมินของบ้านที่เพิ่มขึ้น เช่น เดิมกู้ในวงเงิน 2 ล้านบาท เพื่อซื้อบ้านราคา 2.5 ล้านบาท อาจจะผ่อนไปบางส่วนจนเงินต้นเหลือ 1.8 ล้านบาท วันดีคืนดี ผู้ให้กู้ใจดีเหล่านี้ก็มาเสนอวงเงินกู้ให้ 3 ล้านบาท ตามราคาประเมินใหม่ผู้กู้ก็ไม่รังเกียจอยู่แล้วครับ เพราะได้เงินเพิ่มมาอีกตั้ง 1.2 ล้านบาท ก็ไป Refinance (ไปกู้รายใหม่มาโปะรายเดิม) มีเงินเหลืออีก หลังจากหักค่าปรับที่คืนเงินกู้ก่อนเวลา อย่างไรก็ตามชาวอเมริกันทั้งหลาย ซึ่งเคยชินกับการใช้เงินอนาคต ก็นำเงินสินเชื่ออีก 1.2 ล้านบาทที่ได้เพิ่มนั้นมาใช้จ่าย ซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ทีวีจอแบนเครื่องใหม่ เครื่องเสียงสุดหรู รถยนต์คันใหม่ เพราะอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิต หรือสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์


     อย่างไรก็ตามการเก็งกำไร ย่อมมีผู้ได้กำไร และแมลงเม่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาได้มาถึงจุดอิ่มตัวเมื่อปลายปี 2549

ซับไพร์ม คืออะไร, ซับไพร์ม คืออะไร หมายถึง, ซับไพร์ม คืออะไร คือ, ซับไพร์ม คืออะไร ความหมาย, ซับไพร์ม คืออะไร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu