๑.ยอมรับความจริง
ไม่มีใครพูดภาษาที่สองได้ตั้งแต่เกิด ทุกคนต้องใช้เวลาในการเรียนรู้กันทั้งนั้น ฉะนั้นอย่าคาดหวังว่าจะต้องเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้น
๒.เรียนรู้ทีละนิด
จากการศึกษาพบว่า การทบทวนเป็นระยะเวลาสั้นๆ อย่างเช่น ในระหว่างทานอาหารเช้า ในขณะอาบน้ำ หรือในขณะเดินทาง จะส่งผลให้คุณจดจำได้ดีกว่า
๓.ท่องศัพท์
ยิ่งคุณรู้ศัพท์มากเท่าไหร่ คุณก็สามารถพูดและเข้าใจได้มากขึ้นเท่านั้น เทคนิคในการจดจำคำศัพท์ คือ พกการ์ดใบเล็กๆที่เขียนคำศัพท์ (ที่มีคำแปลอยู่ด้านหลัง) ไปกับคุณทุกที่
๔.ฝึกหัดอย่างจริงจัง
อย่าแค่ทำปากขมุบขมิบหรือท่องเอาไว้ใส่ใจ พูดหรืออ่านออกมาดังๆ ในทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อจะได้ฝึกปากของคุณให้เคยชินกับการออกเสียง
๕.ทำการบ้าน
การทำการบ้านคือการฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาให้เป็นไปอย่างแม่นยำ จนกลายเป็ความชำนาญ และสามารถทำออกมาได้อย่างอัตโนมัติในที่สุด
๖. จับกลุ่มเรียน
หาเวลาทบทวน ทำการบ้าน หรือแค่ฝึกพูดภาษานั้นๆ กับเพื่อนๆ เป็นประจำ ซึ่งจะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องให้กันและกันได้ แถมยังทำคุณจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้นด้วย
๗.หาจุดอ่อน
คุณควรหาจุดอ่อนในการเรียนของตัวเองให้เจอ เพื่อที่จะได้เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ อย่างเช่น ถ้าคุณเป็นคนเงียบๆ และไม่ค่อยมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ก็บังคับตัวเองให้เลือกที่นั่งแถวหน้าในห้องเรียนซะ
๘. หาโอกาสในการใช้ภาษา
เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับภาษานั้นๆ ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับเจ้าของภาษาเช่าหนังที่พูดภาษานั้นๆ มาดูหรือแม้กระทั่งหาแฟนที่เป็นเจ้าของภาษานั้นซะเลย
๙. ทุ่มความสนใจ
พูดง่ายๆ ก็คือ หายใจเข้าออกก็ให้เป็นภาษานั้น เรียนรู้ภาษานั้นๆ ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างจริงจังและเต็มที่ถึงขนาดถึงขนาดถ้าฝันได้ก็อาจ ฝันเป็นภาษานั้นๆ ด้วย
๑๐. ปรึกษาผู้รู้
ถ้ามีปัญหาหรือติดขัดอะไร ก็ต้องสอบถามครูผู้สอนหรือเจ้าของภาษานั้นทันที เพื่อทำลายกำแพงที่เป็นอุปสรรคในการเรียนออกไปให้เร็วที่สุด คุณจะได้ไม่ต้องสะดุดอยู่นานเกินไปซึ่งนั้นอาจทำให้คุณเกิดความเบื่อหน่าย ได้
ที่มา พี่ทิพ
https://www.teenpath.net/teennature/Content.asp?Sub=11&ID=00114
ภาพจาก https://www.sd40.bc.ca/iep/