ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง, บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง หมายถึง, บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง คือ, บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง ความหมาย, บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง

หากคุณคือนักลงทุนหรือผู้ที่กำลังก้าวเข้าสู่แวดวงการเงินการลงทุน คุณรู้หรือไม่ว่าสิ่งแรกที่สำคัญสำหรับก้าวที่มั่นคงต่อๆไปของคุณคืออะไร

      “งบประมาณ” คือคำตอบที่อาจฟังแล้วเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ไกลตัว หลายคนจับคู่คำว่า “งบประมาณ” กับฝ่ายบัญชีของบริษัท หรือไม่ก็มองไกลไปถึงภาครัฐบาล แต่จะมีใครบ้างที่จะเข้าใจว่า คนทำงานอย่างเราๆหากนำแนวคิดเรื่องงบประมาณมาใช้ในการวางแผนทางการเงินของชีวิต ก็จะยิ่งช่วยให้เป้าหมายทางการเงินชัดเจนและเป็นจริงได้ไม่ยาก เพราะโดยหลักการแล้ว การทำงบประมาณนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการบริหารบ้านเมือง หรือการบริหารบริษัท เพื่อทำให้ผู้บริหารสามารถประเมินรายได้และค่าใช้จ่ายขององค์กรรวมถึงการวางแผนการทำงานเพื่อให้ฐานะทางการเงินเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จทางการเงินทั้งหลายก็ล้วนแต่จัดทำงบประมาณของตนเองทั้งสิ้น บางท่านถึงขนาดจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงินมาช่วยวางแผนงบประมาณให้ตนเองโดยเฉพาะก็มี

      ในทางเดียวกัน เมื่อนำหลักการการจัดสรรงบประมาณมาจัดการกับเงินของคุณ ก็จะช่วยให้คุณเข้าใกล้คำว่า “อิสระทางการเงินมากขึ้น” ซึ่งนั้นก็คือการที่คุณมีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย รู้จักควบคุมค่าใช้จ่ายของตนไม่ให้เกินระดับของรายได้ และที่สำคัญเหลือเงินออมบางส่วน เพื่อให้มีอนาคตทางการเงินที่มั่นคง นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณสามารถลดความรุนแรงของผลกระทบในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น การเจ็บป่วยร้ายแรงหรือต้องออกจากงาน

      อุปสรรคข้อเดียวของการจัดทำงบประมาณก็คือ การไม่เริ่มต้นที่จะทำหรือเลิกล้มความตั้งใจก่อนที่คุณจะทำงบประมาณให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง แต่ถ้าคุณลองสละเวลาทำงบประมาณอย่างต่อเนื่องและตั้งใจ คุณจะพบกับผลลัพธ์ที่น่าอัศจรรย์ด้วยตัวคุณเอง เช่น อาจพบว่าคุณมีเงินเหลือเก็บมากพอที่จะเป็นช่องทางของอนาคตที่มั่งคั่งได้ หรืออาจจะเห็นปัญหาทางการเงินที่คุณสร้างไว้อย่างไม่ตั้งใจก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีงานที่มั่นคง มีเงินเดือนประจำใช้จ่ายอย่างพอเพียง ไม่มีภาระหนี้สินเกินตัว และพยายามเก็บเงินประมาณ 10 % ของเงินเดือน แค่นี้คุณก็คงคิดว่านี่คือการจัดสรรงบประมาณส่วนตัวของคุณ แต่ในความจริง วิธีคร่าวๆแค่นี้คงไม่พอ เพราะการทำงบประมาณอย่างจริงจังนั้น เริ่มตั้งแต่การทำบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อหาว่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นบวกหรือเป็นลบ ซึ่งจะทำให้คุณรู้ว่าคุณมีเงินเหลือที่จะออมได้เท่าไหร่ และดูสภาพคล่องทางการเงินของตนเองหากคุณต้องใช้เงินในยามฉุกเฉิน

      ถึงเวลาที่คุณต้องลองคิดและจัดสรรงบประมาณการเงินของคุณเองตามขั้นตอนง่ายๆ คุณอาจพบว่าเงินเก็บ 10 % ในแต่ละเดือนที่คิดว่าน่าจะพอแล้วสำหรับอนาคตก็กลับไม่พอเสียแล้ว ค่าใช้จ่ายที่คิดว่าใช้อย่างประหยัดแล้ว จริงๆก็ยังสุรุ่ยสุร่ายอีกเยอะ ส่วนเงินออมโดยการฝากธนาคารที่เคยคิดว่าเป็นการออมที่ดีที่สุดแล้วก็กลับเป็นวิธีที่ให้ผลตอบแทนที่ต่ำที่สุดและมีสัดส่วนของทรัพย์สินทั้งหมดที่สูงเกินจำเป็น

      สุดท้ายก็ขอบอกนักลงทุนว่า คนรวยนั้น รวยได้ เพราะตั้งเป้าว่าจะออมเงิน เหลือเท่าไหร่ค่อยใช้จ่าย ส่วนคนที่ไม่รวยนั้น ถ้าเหลือเงินจึงค่อยออม ส่วนใหญ่มักจะไม่มีเหลือ 

โดย คุณวีระชาติ ชุตินันท์วโรดม
ที่มา TSI Investment Wiki
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
     https://www.tsi-thailand.org/
     https://www.set.or.th/

บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง, บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง หมายถึง, บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง คือ, บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง ความหมาย, บทเริ่มต้นของนักลงทุนมือทอง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu