ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วรายุฑ มิลินทจินดา, วรายุฑ มิลินทจินดา หมายถึง, วรายุฑ มิลินทจินดา คือ, วรายุฑ มิลินทจินดา ความหมาย, วรายุฑ มิลินทจินดา คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วรายุฑ มิลินทจินดา

ประวัติส่วนตัวของ เจ๊ไก่ วรายุฑ มิลินทจินดา ผู้จัดละครชื่อดัง ช่อง 3

ชื่อ-นามสกุล :  นายวรายุฑ มิลินทจินดา
วันเกิด  16 มกราคม 2498
จังหวัดที่เกิด กรุงเทพมหานคร
อาชีพ  นักแสดง
บิดาชื่อ นายวิวัฒน์ มิลินทจินดา
มารดาชื่อ นางดารา มิลินทจินดา
จำนวนพี่น้อง 3 คน
ที่อยู่ปัจจุบัน 85/135 หมู่ 11 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ประวัติการศึกษา 
          พ.ศ. 25047 ระดับอนุบาลศึกษาถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศุภมาศพิทยาคม (ใกล้วัดราช-นัดดา) กรุงเทพมหานคร
          พ.ศ.2509 ระดับประถมศึกษาปีที่ 5-7 โรงเรียนวัดตองปุ กรุงเทพมหานคร
          พ.ศ.2510 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนมัธยมวัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
          พ.ศ.2513 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โรงเรียนช่างศิลป์ กรุงเทพมหานคร

ประวัติการทำงาน 
          หลังจากจบปีที่ 3 ที่โรงเรียนช่างศิลป์ คุณวรายุทฑ มลินทจินดา ได้เริ่มชีวิติการ ทำงานดังนี้
                  พ.ศ. 2516 เป็นพนักงานประจำช่างศิลป์ โรงพิมพ์ยานนาวา สาธุประดิษฐ์ มีหน้าที่จัดทำ และออกแบบการ์ด นามบัตร แผ่นปลิว และออกแบบฉลาก ฯลฯ
                  พ.ศ. 2518 ทำหน้าที่รับผิดชอบในฝ่ายช่างศิลป์และติดสติ๊กเกอร์ฉลากโรงงานน้ำปลา
                  พ.ศ. 2519 ทำหน้าที่รับผิดชอบทุกอย่างทั้งเป็นเซลล์และจัดหน้าร้านของบริษัทสีเคนีเท็กซ์ จำกัด นอกจากนี้ยังรับผิดชอบออกแบบถุงยางอนามัยให้กับบริษัทคิงส์เท็กซ์ จำกัด เนื่องด้วยจากมีผู้บริหารเป็นคนเดียวกัน
                  พ.ศ.2521 ทำหน้าที่รับผิดชอบฝ่ายศิลปกรรมด้านการออกแบบชุดชั้นในผู้หญิง จัดหน้าร้าน จัดตู้โชว์และทำแพ็คเกจเครื่องสำอางค์เพี๊ยซให้กับบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติกส์ จำกัด
                  พ.ศ.2524 ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านกราฟฟิกดีไซน์ ออกแบบ ชื่อห้องอาหาร เมนู ป้ายเวทีในงาน จัดเลี้ยงต่าง ๆ ให้กับโรงแรมมณเฑียร ต่อมาได้รับการติดต่อจากคุณ พ-วงเดือน (อินทรวุธ) ยนตรรักษ์ ให้มาทำงานเป็น ผู้ช่วยของ คุณภัทราวดี (ศรีไตรรัตน์) มีชูธน ทำให้คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ตัดสินใจลาออกจากการทำงานที่โรงแรมมณเฑียรและเริ่มเข้าสู่วงการละครโทรทัศน์ เป็นต้นมา

งานเผยแพร่ความรู้ด้านการแสดง

          คุณวรายุฑ มิลินทจินดา เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทั้งด้านกำกับการแสดง ด้านเครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า และการกำกับฉาก ดังนั้นงานของ คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ย่อมเป็นงานที่ต่อเนื่องและมีเวลาว่างที่ไม่แน่นอน แม้กระนั้นเมื่อคุณวรายุฑได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับนักศึกษา เกี่ยวกับงานที่ตนถนัด คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ก็เห็นความสำคัญทางด้านการศึกษา แม้ว่าจะไม่มีเวลาแต่ก็ยินดีรับเชิญไปบรรยายให้กับสถานศึกษาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา และสถาบันราชภัฎธนบุรี นอกจากจะให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีแล้วทางด้าน การปฏิบัติ คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ยังได้สาธิตและปฏิบัติให้ดูอย่างสมจริงพร้อม ทั้งพาไปศึกษา เทคนิคต่าง ๆ ในโรงถ่ายละครอีกด้วย

          ผลงานการจัดละครโทรทัศน์และภาพยนตร์
                พ.ศ. 2525 คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ได้ตัดสินใจลาออกจากงานที่โรงแรมมณเฑียร มาทำงานเป็นผู้ช่วยของ คุณภัทราวดี (ศรีไตรรัตน์) มีชูธน ซึ่งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ และละครเวทีที่มีความสามารถและมีชื่อเสียงมากในขณะนั้น และทำให้ได้มีโอกาส แสดงความสามารถทั้งในด้านการแสดงการแต่งหน้า การออกแบบเสื้อผ้า การจัดฉาก ช่วยกำกับการแสดงตลอดจนด้านธุรกิจต่าง ๆ ในการจัดสร้างละครอีกด้วย และ จากการที่คุณวรายุฑ มิลินทจินดา เป็นผู้มีใจรัก มีความมุ่งมั่นและรับผิดชอบ ในหน้าที่อีกทั้งยังเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้าศิลปะทุกแขนง จึงทำให้ คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ได้ร่วมจัดละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ โดยทำหน้าที่ แต่งหน้าตัวละคร จัดเสื้อผ้า และจัดฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้
                1. ละครโทรทัศน์เรื่องความรัก ทำหน้าที่จัดฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากจัดเสื้อผ้า และแต่งกายตัวละคร
                2. ภาพยนตร์เรื่องรักริษยา ทำหน้าที่จัดเสื้อผ้าและแต่งหน้าให้ผู้แสดงนำคือ คุณธิติมา สังขพิทักษ์ ซึ่งเป็นผู้แสดงนำครั้งแรกและประสบความสำเร็จได้รับรางวัล ตุ๊กตาทอง ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย คุณภัทราวดี (ศรีไตรรัตน์) มีชูธน
                3. ละครโทรทัศน์ เรื่อง เซียวฮื่อยี้ เทพบุตรผู้ไร้ทวน ทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ทำ เอฟเฟค และอาวุธลับ เนื่องจากเป็นละครประเภทกำลังภายใน ละครเรื่องนี้นำแสดง โดย คุณปัญญา นิรันดร์กุล และเมื่อแพร่ภาพทางโทรทัศน์ก็ได้รับความนิยมจาก ผู้ชมเป็นอย่างดี
                หลังจากที่ได้ประสบความสำเร็จจากการเป็นผู้จัดละคร เรื่อง ทะเลเลือด คุณวรายุฑ มิลินทจินดา ได้ผลิตละครโทรทัศน์โดยก่อตั้งบริษัท ไอแอม โปรดักชั่น จำกัด ผลิตละครโทรทัศน์อีกมากมาย และต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน ผลงานละครโทรทัศน์และได้รับรางวัลขององค์กรต่างๆ มากมาย อาทิ ปีที่ออกอากาศ เรื่อง
                พ.ศ. 2521 ประชาชนชาวแฟลต
                พ.ศ. 2522 มหึมาจอมพลัง
                พ.ศ. 2523 รางวัลที่ได้รับ ฉากดีเด่น (เมขลา) จาก "คนเริงเมือง" สมรักษ์ ณ รงค์วิชัย ผู้กำกับรายการดีเด่น (เมขลา)
                พ.ศ. 2523 ดงมนุษย์
                พ.ศ. 2523 โบตั๋น
                พ.ศ. 2523 ได้รับ รางวัล เมขลา จาก "เขาชื่อกานต์" โดยคุณสมจินต์ ธรรมทัต เป็นดาราสนับสนุนชายดีเด่น
                พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัล เมขลา จาก "ไฟอารมณ์" โดยคุณชลิต เฟื่องอารมณ์ เป็นนักแสดงชายดีเด่น 
                พ.ศ. 2524 ได้รับ รางวัล เมขลา โดยคุณบู๊ วิบูลย์นันท์ เป็นผู้แสดงตัวประกอบชายได้รับรางวัล เมขลา โดยคุณอดุลย์ ดุลยรัตน์ เป็นผู้กับการแสดงดีเด่นจาก "นางทาส"
                พ.ศ. 2524 โอ้มาดา
                พ.ศ. 2525 หลิวลู่ลม
                พ.ศ. 2525 ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองมหาชน โดยคุณวรายุฑ มิลินทจินดา เป็นดารานำฝ่ายชายยอดเยี่ยม จาก "สงครามพิศวาส"
                พ.ศ. 2525 ได้รับรางวัล เมขลา โดยอำนวย ศิริจันทร์ ดาราสนับสนุนชายได้รับรางวัลรางวัลเมขลาผู้กำกับดีเด่น โดยคุณถาวร สุวรรณ จาก "ฝันรัก"
                พ.ศ. 2525 ได้รับรางวัล เมขลา โดยคุณนิรุตต์ ศิริจรรยา ดารานำดีเด่นชายจาก "ปีกทอง" ได้รับรางวัลเมขลาบทโทรทัศน์ดีเด่น โดยคุณนลินี สีตะสุวรรณ
                พ.ศ. 2525 ถนนไปสู่ดวงดาว
                พ.ศ. 2529 ได้รับรางวัล เมขลา ดาราสนับสนุนหญิง อรสา พรหมประทานจาก "อีแตน"
                พ.ศ. 2526 ได้รับรางวัล เมขลาดาราดีเด่นชาย โดยคุณนพพล โกมารชุน ได้รับรางวัลเมขลาผู้กำกับดีเด่น โดยคุณอดุลย์ ดุลยรัตน์ จาก "น้ำตาลไหม้"
                พ.ศ. 2527 มงกุฏฟาง
                พ.ศ. 2527 เพลงพรหม
                พ.ศ. 2527 บาปปรารถนา
                พ.ศ. 2528 บ้านขนนก
                พ.ศ. 2528 บันไดเมฆ
                พ.ศ. 2530 เจ้าชายดำรงค์ฤทธิ์
                พ.ศ. 2530 ละครคน
                พ.ศ. 2531 ทายาท
                พ.ศ. 2532 เทพสองหน้า
                พ.ศ. 2534 ขุนศึกคู่บัลลังก์
                พ.ศ. 2529 ทะเลเลือด
                พ.ศ. 2529 นางเอก
                พ.ศ. 2530 เล่านินทานาย
                พ.ศ. 2530 ได้รับรางวัลเมขลานักแสดงดีเด่นชาย โดยคุณฉัตรชัย เปล่าพานิชได้รับรางวัล เมขลาและโทรทัศน์ทองคำดาราสนับสนุนดีเด่นหญิง โดยคุณปาหนัน ณ พัทลุง ได้รับรางวัลเมขลาฉากดีเด่นจาก "ปริศนา"
                พ.ศ. 2531 นายจ๋าเลขาขอโทษ
                พ.ศ. 2531 ไฟรัก
                พ.ศ. 2531 รักประกาศิต
                พ.ศ. 2531 เจ้าสาวของอานนท์
                พ.ศ. 2531 รัตนาวดี
                พ.ศ. 2532 ผู้พิชิตมัจจุราช
                พ.ศ. 2532 แก้วตาพี่
                พ.ศ. 2532 คนใช้เจ้าขา
                พ.ศ. 2533 อาถรรพ์
                พ.ศ. 2533 ใครกำหนด
                พ.ศ. 2533 เลือดสุพรรณ
                พ.ศ. 2533 วนาลี
                พ.ศ. 2534 เงาะป่า
                พ.ศ. 2534 สาวเครือฟ้า
                พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลเมขลา ดาราดีเด่นหญิง โดยคุณจินตหรา สุขพัฒน์
                รางวัลเมขลาผู้กำกับดีเด่น โดยคุณสุประวัติ ปัทมสูต
                รางวัลเมขลาบทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม โดยคุณนลินี สีตะสุวรรณ
                บทละครดีเด่น (โทรทัศน์ทองคำ)
                ฉากดีเด่น ศิลปกรรมช่อง 3 (โทรทัศน์ทองคำ)
                ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม (โทรทัศน์ทองคำ)
                ดนตรีประกอบดีเด่น (โทรทัศน์ทองคำ) สุดจิตต์ ดุริยะประณีต
                ดารานำแสดงหญิงดีเด่น (โทรทัศน์ทองคำ) จินตหรา สุขพัฒน์
                ผู้กำกับการแสดงดีเด่น (โทรทัศน์ทองคำ) สุประวัติ ปัทมสูต จาก"สี่แผ่นดิน"
                พ.ศ. 2534 รางวัลที่ได้รับ เครื่องแต่งกายดีเด่น(เมขลา) จาก "วนิดา"
                พ.ศ. 2535 คลื่นชัดใจ
                พ.ศ. 2535 รางวัลที่ได้รับจินตนาการดีเด่น (โทรทัศน์ทองคำ)
                สนับสนุนชาย (โทรทัศน์ทองคำ) วรุฒ วรธรรม
                นลินี สีตะสุวรรณ (โทรทัศน์ทองคำ)
                อลงกรณ์ (ถ.พหลโยธิน ตรงข้ามสวนจตุจักร ออกแบบเครื่องแต่งกายชาย
                พรศรี เดบูตอง (โซโก้ อัมรินทร์พลาซ่า)
                นาการ่า (ลาดพร้าว 99) ออกแบบเครื่องแต่งกายหญิง จาก "ในฝัน"
                พ.ศ. 2537 ปราสาทมืด
                พ.ศ. 2537 สายรักสายสวาท
                พ.ศ. 2537 เหมือนคนละฟากฟ้า
                พ.ศ. 2537 นิมิตแห่งรัก
                พ.ศ. 2536 คุณหญิงจอมแก่น
                พ.ศ. 2536 สิ้นสวาท
                พ.ศ. 236 รางวัลที่ได้รับส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้าน (โทรทัศน์ทองคำ) จาก "ฉุยฉาย"
                พ.ศ. 2537 ตุ๊กตาเริงระบำ
                พ.ศ. 2538 ไฟต่างสี
                พ.ศ. 2538 ร่มฉัตร
                พ.ศ. 2540 ทรายสีเพลิง
                พ.ศ. 2540 ตามหัวใจไปสุดหล้า
                พ.ศ. 2540 สองนรี
                พ.ศ. 2540 เรือนยุรา
                พ.ศ. 2541 ไฟลวง
                พ.ศ. 2540 รุ่งสามสาย
                พ.ศ. 2541 จากฝันสู่นิรันดร
                พ.ศ. 2540 เชลย
                พ.ศ. 2541 ธรณีนี่นี้ใครครอง
                พ.ศ. 2541 กัลปังหา
                พ.ศ. 2541 กะล่อนคูณสอง
                พ.ศ. 2542 สายน้อยประแป้ง
                พ.ศ. 2542 เสน่ห์นางงิ้ว
                พ.ศ. 2542 เขยลิเก
                พ.ศ. 2542 เจ้าสาวปริศนา
                พ.ศ. 2543 บ้านทรายทอง
                พ.ศ. 2543 มณีหยาดฟ้า
                พ.ศ. 2543 สายน้อยคาเฟ่
                พ.ศ. 2543 ดอกแก้วการะบุหนิง
                พ.ศ. 2543 ขอหยุดหัวใจไว้เพียงเธอ
                พ.ศ. 2545 นางร้าย
                พ.ศ. 2545 สำเภาทอง
                พ.ศ. 2545 กิเลสมาร
                พ.ศ. 2545 วิวาห์สลับรัก
                พ.ศ. 2545 รัตตมณี 220

ข้อมูลจาก สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

วรายุฑ มิลินทจินดา, วรายุฑ มิลินทจินดา หมายถึง, วรายุฑ มิลินทจินดา คือ, วรายุฑ มิลินทจินดา ความหมาย, วรายุฑ มิลินทจินดา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu