ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เทคนิคการอ่านหนังสือ, เทคนิคการอ่านหนังสือ หมายถึง, เทคนิคการอ่านหนังสือ คือ, เทคนิคการอ่านหนังสือ ความหมาย, เทคนิคการอ่านหนังสือ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เทคนิคการอ่านหนังสือ

เทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมสอบให้ได้ผล ใน 1 เดือน

          1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ ตัดทุกอย่างออกไป  

          2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง  บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง

          3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า “เราจะเป็นพยาบาล”  

          4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย  ช่วยเหลือเราหน่อย  หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม

          5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัด ก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ  ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง  ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง  อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส อย่าปล่อยให้ว่าง อ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง

          6.ข้อนี้สำคัญมาก  หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ  ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใครกำหนดให้เรา เราต้องทำได้ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้”  ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ  หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข

          7.ลงมือทำเดี๋ยวนี้

ที่มา คุณ jirachet  www.sudipan.net



คาถาก่อนเข้าห้องสอบ

          จริง ๆ ก็เป็นแค่ความเชื่อที่ทำแล้วสบายใจเท่านั้นเอง เล่นกับดวงไง หากอ่านหนังสือมาเต็มที่แล้ว อย่ากลัวข้อสอบเลย นี่เป็นแค่สิ่งที่ช่วยเสริมกำลังใจสำหรับบางคนที่อ่านมาแล้ว แต่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าหัว ก็ต้องอาศัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมกับบุญที่เคยมีมาแต่ชาติปางก่อนนะ

          - ขั้นแรก ออกจากบ้าน ไหว้พ่อ ไหว้แม่ให้งามๆ ขอพรมาสักหน่อยก็ดี 
          - ขั้นสอง เดินเข้าโรงเรียน ซึ่งในแต่ละแห่งจะมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งที่เป็นที่เคารพนับถือของคนในโรงเรียน ก็ทำความเคารพ อาจจะมีการบนบานเล็กน้อย
          - ขั้นสาม เข้าห้องสอบ ให้ก้าวเท้าซ้ายเข้าไปก่อน เข้าตำราที่ว่า “ขวาร้าย ซ้ายดี” ไง
          - ขั้นที่สี่ ทำข้อสอบ ก่อนลงมือเขียน ท่องนะโม หรือบทอะไรสักอย่าง อย่าให้ยาวนัก เดี๋ยวจะเสียเวลามากไป ขั้นนี้เล่นกับศาสนาแล้ว ( ความจริงก็เป็นวิธีที่ช่วยลดอาการตื่นเต้น เป็นการรวบรวมสมาธิน่ะ )
          - ขั้นสุดท้าย ก็ตัวใครตัวมันนะจ๊ะ ถ้าทำข้อสอบไม่ได้ ก็ปลงซะเถอะ ว่าทำบุญมาแค่นี้ อย่าหวังโพยจากเพื่อนเลย เพราะเพื่อนก็อาจจะหวังโพยจากเราอยู่ก็ได้

ที่มา https://school.eduzones.com



เวลาที่ดีสำหรับการอ่านหนังสือ

          เคยมีคนบอกว่าเวลาที่ดีที่สุด คือ ตอนเช้า เพราะร่างกายเราได้พักผ่อน รวมทั้งสมองก็ได้พัก มีการจัดระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้พร้อมกับการใส่ข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไป อันนี้เป็นเรื่องจริง แต่สำหรับคนที่ตื่นเช้าไม่ไหว เวลาดึก ๆ ที่เงียบ ๆ ก็เหมาะ คือว่ามันเงียบไง…สมองเราก็สามารถคิดสิ่งต่างๆ ได้ดี แต่อาจจะไม่เท่าตอนเช้า เพราะสมองเราต้องเหนื่อยจากการเรียนมาแล้วทั้งวัน บางคนยังมีการเรียนพิเศษตอนเย็นอีก สำหรับตัวเราเอง อ่านตอนกลางคืนสักนิด ได้เท่าไหนก็แค่นั้น 5 ทุ่มต้องเข้านอน แล้วก็ตั้งนาฬิกาปลุกตอนตี 3 ตี 4 ตี 5 แนะนำให้ตั้งนาฬิกาปลุกก่อนเวลาที่ต้องตื่นไปสักครึ่งชั่วโมง เพื่อที่เราจะได้มีเวลาเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอนก่อนสักพัก ถึงค่อยลุกไปล้างหน้าล้างตา มานั่งอ่าน ขอย้ำว่าควรทำให้ตัวเองตื่นเต็มที่ก่อนจะอ่าน เพราะไม่งั้นเดี๋ยวก็หลับคาหนังสืออีกจนได้

          เวลาที่ไม่เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือเรียนเลย คือ ช่วงบ่ายหลังจากกินข้าวเสร็จอิ่ม ๆ เคยได้ยินสุภาษิตไทยที่ว่า “พอหนังท้องตึง หนังตาก็หย่อน” ไหม ช่วงบ่ายจะเป็นช่วงที่คนเรามีความง่วงนอน อ่านไปก็หลับ ยิ่งหนังสือเรียนด้วย และไม่ควรนอนอ่านหนังสือ โดยเฉพาะบนเตียง ขอบอกว่าหลับแน่ๆ ไม่ใช่อ่านนิยายนี่ มันจะน่าติดตาม จนอยากอ่านให้จบ เรามีเพื่อนคนหนึ่ง เขาบอกว่าหนังสือเรียนคือยานอนหลับขนานเอก เห็นจะจริง อ่านไม่กี่หน้าก็หลับแล้ว

          การอ่านควรจะเป็นในสถานที่ที่สงบ เงียบ และสมองเราพร้อมที่จะรับเรื่องใหม่ ๆ นั่นแหละการอ่านถึงจะได้ผลสูงสุด



วิธีแก้ง่วง

          ความง่วงนอนนั้นมีหลายขั้น ตามที่เราแบ่งเอง ได้แก่

1. ความง่วงนอนขั้นต้น
          อาการ - เป็นความง่วงที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น จะทำให้สติของเราล่องลอยไปเที่ยวสักพัก ไม่กี่นาทีหรอก แล้วก็จะกลับมาที่เดิม อาจมีอาการอ้าปากหาวบ้างเล็กน้อย แต่จะไม่บ่อยนัก

          วิธีแก้ - ควรจะลุกขึ้นไปล้างหน้าล้างตาให้สดชื่น หรือออกแรง เช่น การบิดขี้เกียจให้ร่างกายมีความตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า พูดง่าย ๆ คือ ทำอะไรก็ได้ ที่ทำให้ร่างกายเราสดชื่นขึ้น

2. ความง่วงขั้นกลาง
          อาการ - เป็นความง่วงที่สะสมมาจากความง่วงขั้นต้น สติเริ่มหายไปเที่ยวนานขึ้น อาการหาวก็มีถี่ขึ้น อาจมีอาการสัปหงกเล็กน้อย

          วิธีแก้ - ควรจะหลับตาลงพักผ่อนสักครู่ อาจะ 10-15 นาที แล้วตื่นขึ้นมาไปล้างหน้าล้างตา เพื่อให้สดชื่น หรือไปทำอะไรสักอย่าง ไปเดินเล่น หรือฟังเพลง ดื่มนม กาแฟนี่ไม่แนะนำเท่าไรนัก เพราะ อาจเกิดอาการหลับในได้ ก็ง่วงมาก แต่ตายังค้าง เสียสุขภาพกายเปล่า ๆ น่า

3. ความง่วงขั้นรุนแรง
          อาการ - เป็นความง่วงที่ไม่อาจทัดทานได้ไหว สติแทบจะไม่มีแล้ว หัวอาจสัปหงกลงไปจูบกับโต๊ะได้ทุกเมื่อ หรืออาจเกิดอาการฟุบหลับคาหนังสือ

          วิธีแก้ - ไปนอนซะ ถึงอ่านไปก็ไม่เข้าหัวอยู่ดี เลิกทรมานตัวเองได้แล้ว ถ้ายังอ่านไม่จบก็ปลงซะ มาถึงขั้นนี้แล้ว ไม่ว่าจะทำไง สมองก็ไม่พร้อมจะรับอะไรอีกแล้วทั้งนั้นแหละน่า


เทคนิคการอ่านหนังสือ, เทคนิคการอ่านหนังสือ หมายถึง, เทคนิคการอ่านหนังสือ คือ, เทคนิคการอ่านหนังสือ ความหมาย, เทคนิคการอ่านหนังสือ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu