ภัยพิบัติทางธรรมชาติสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศและต่อมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน มนุษย์ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถระวังคาดการณ์เพื่อหลีกเลี่ยง และช่วยดูแลรักษาสภาพแวดล้อมไม่ทำลายธรรมชาติได้ เพราะหากธรรมชาติเสียสมดุลจะเร่งภัยพิบัติให้รุนแรงขึ้น
ผลการประชุมสามัญขององค์การสหประชาชาติ ค.ศ. 1989 กำหนดให้ วันพุธที่สองของเดือนตุลาคม เป็น วันลดภัยพิบัติทางธรรมชาติระหว่างประเทศ (International Day for Natural Disaster Reduction) ซึ่งได้มีการปฏิบัติต่อเนื่องมากว่า 1 ทศวรรษ ระหว่าง ค.ศ. 1990 - 1999
การประชุมสามัญขององค์การสหประชาชาติ ค.ศ. 2001 ยังคงกำหนดยืนให้ วันลดภัยพิบัติทางธรรมชาติระหว่างประเทศ เป็นวันพุธที่สองของเดือนตุลาคม เป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อสนับสนุนการลดผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตั้งแต่การระวังป้องกัน การบรรเทา และการเตรียมพร้อมรับมือต่อภัยพิบัติ
เป้าหมาย
มีเป้าหมายในการสร้างชุมชนอุบัติภัยที่ยืดหยุ่น ด้วยการเพิ่มการรับรู้ความสำคัญของการลดภัยพิบัติทางธรรมชาติเหมือนกับส่วนประกอบอันหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดความสูญเสียในด้านมนุษย์, สังคม, เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ไปกับอันตรายทางธรรมชาติรวมถึงความหายนะจากเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
หัวข้อในแต่ละปี
- ปี ค.ศ. 2000 Disaster Prevention, Education and Youth
- ปี ค.ศ. 2001 Countering Disaster, Targeting Vulnerability
- ปี ค.ศ. 2002 Disaster Reduction for Sustainable Mountain Development
- ปี ค.ศ. 2003 Living with Risk – Turning the tide on disasters towards sustainable development
- ปี ค.ศ. 2004 Learning from today’s disasters for tomorrow’s hazards
- ปี ค.ศ. 2005 Invest to prevent disaster
- ปี ค.ศ. 2006 Disaster Risk Reduction Begins at School
ที่มา www.panyathai.or.th