ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เจมส์ คลาร์ก แมเวล, เจมส์ คลาร์ก แมเวล หมายถึง, เจมส์ คลาร์ก แมเวล คือ, เจมส์ คลาร์ก แมเวล ความหมาย, เจมส์ คลาร์ก แมเวล คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เจมส์ คลาร์ก แมเวล

เจมส์ คลาร์ก แมเวล : James Clark Maxwell
เกิด        วันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831 ที่เอดินเบิร์ก (Edinburg) ประเทศสก็อตแลนด์ (Scotland)
เสียชีวิต  วันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1879 ที่เคมบริดจ์ (Cambridge) ประเทศอังกฤษ (England)
ผลงาน    - ทฤษฎีพลังงานจลน์ของความร้อน (Kinetic Theory of Heat)
              - ทฤษฎีพลังงานจลน์ของก๊าซ (Kinetic Theory of Gas)
              - ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า



ผลงาน

           ผู้ค้นพบทฤษฎีความร้อนซึ่งเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากที่สุดนอกจากนี้เขายังค้นพบว่าแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถผ่านอีเทอร์ได้ โดยมีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง

ชีวประวัติ

          แมกเวลเกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831 ที่เอดินเบิร์ก ประเทศสก็อตแลนด์ ในตระกูลที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงมาก

          หลังจากที่แมกเวลจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว เขาได้เข้าเรียนต่อวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (Edinburg University) ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่ เขาได้รู้จักกับนักฟิสิกส์ท่านหนึ่ง วิลเลี่ยม นิคอน (William Nikon) ซึ่งค้นคว้าเกี่ยวกับแสง เพื่อใช้สำหรับการถ่ายภาพเขาได้ประดิษฐ์ปริซึมแบบพาราโบลาขึ้นมา แมกเวลได้พบว่าแม่สีของแสงมี 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง เขียว และน้ำเงิน ซึ่งทฤษฎีนี้ได้นำมาใช้เกี่ยวกับการอัดภาพสี

          หลังจากจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กแล้ว แมกเวลได้เข้าเรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
(Cambidge University) จบการศึกษาด้วยปริญญาเกียรตินิยมอันดับ1หลังจากนั้นเขาได้ทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์
วิชาปรัชญาธรรมชาติที่วิทยาลัยมาริสคาล (Marischal College) ที่กรุงอะเบอร์ดีน (Aberdeen) ในระหว่างที่เขา
ทำงานอยู่ที่มาริสคาล เขาได้เข่าร่วมกับคณะดาราศาสตร์ เพื่อค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะของวงแหวนของดาวเสาร์ แมกเวลได้เสนอความเห็นว่าวงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วยดาวเคราะห์น้อย (Planetoid) จำนวนมากมายทั้งขนาดใหญ่่และขนาดเล็ก รวมตัวกันจนมีความหนาแน่นรอบ ๆ ดาวเสาร์ ซึ่งเมื่อมองจากโลกจะเห็นเป็นวงแหวน แต่นักดาราศาสตร์ในยุคนั้นเชื่อว่าวงแหวนของดาวเสาร์เป็นของแข็ง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเมื่อดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองก็จะเกิดแรงเหวี่ยงมหาศาลกระทำต่อวงแหวนนี้จนแตกหัก เมื่อทฤษฎีของแมกเวลเผยแพร่ออกไปนักดาราศาสตร์ต่างก็ให้การยอมรับ และสนับสนุนทฤษฎีของแมกเวล

        ในปี ค.ศ. 1860 แมกเวลได้ย้ายไปทำงานที่วิทยาลัยคิงส์ (King"s College) ที่กรุงลอนดอนในตำแหน่งศาสตราจารย์
วิชาฟิสิกส์ เข้าทำงานอยู่ที่นี่ได้ประมาณ 5 ปี ก็ลาออก และย้ายไปอยู่ที่เมืองเคนซิงต้น (Kensingtion) ประเทศสก็อตแลนด์
เพื่อทำการทดลองเกี่ยวกับก๊าซ ในเรื่องของการเคลื่อนที่ ความเร็ว และทิศทางการฟุ้งกระจายของก๊าซ โดยแมกเวลได้ทำการศึกษาก๊าซที่ละชนิดที่อยู่ในภาชนะ และนอกภาชนะ จากการทดลองแมกเวลได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับพลังงานจลน์ของก๊าซขึ้น แต่ด้วยในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่ง ชื่อ ลุดวิค โบลทซ์มาน (Ludwig Boltzmann) ได้ทำการค้นคว้าทดลอง
และได้ผลสรุปเช่นเดียวกับแมกเวล จึงมีชื่อเรียกทฤษฎีแห่งพลังงานจลน์นี้ว่า "ทฤษฎีแห่งพลังงานจลน์แมกเวล - โบลทซ์มานของก๊าซ (Kinetic Maxwell - Boltzmann Theory of Gas)" เข้าได้นำหลังการเดียวกันนี้มาทดลองเกี่ยวกับความร้อน
ขึ้นบ้าง และค้นพบ ทฤษฎีพลังงานจลน์ของความร้อน (Kinetic Theory of Heat) ในเวลาต่อมา

        ในปี ค.ศ. 1864 แมกเวลได้เริ่มการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่เหล็กและไฟฟ้าแมกเวลกล่าวว่า ไฟฟ้าและแม่เหล็กมีความสัมพันธ์กันเมื่อมีแม่เหล็กก็ต้องมีไฟฟ้า ดังนั้นแมกเวลจึงใช้หลักการนี้สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้น โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้แผ่รัศมีออกไป โดยใช้ความเร็วคงที่ จากการคำนวณของแมกเวลที่เกิดจากการนำอำนาจแม่เหล็กกับหน่วยไฟฟ้ามาหาอัตราส่วนกัน ผลปรากฏว่าความเร็วที่เหมาะสม คือ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที

        ในปี ค.ศ. 1871 แมกเวลได้เข้าทำงานอีกครั้งหนึ่งในตำแหน่งศาสตราจารย์ควบคุมห้องทดลองของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และด้วยความนับถือในผลงานของเฮนรี่ คาเวนดิช เขาจึงได้ริเริ่มสร้างห้องทดลองคาเวนดิชขึ้นในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับคาเวนดิชห้องทดลองนี้มีชื่อว่า ห้องทดลองฟิสิกส์คาเวนดิช

        แมกเวลเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1879 ที่เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

ที่มา https://siweb.dss.go.th


เจมส์ คลาร์ก แมเวล, เจมส์ คลาร์ก แมเวล หมายถึง, เจมส์ คลาร์ก แมเวล คือ, เจมส์ คลาร์ก แมเวล ความหมาย, เจมส์ คลาร์ก แมเวล คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu