ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย), วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย) หมายถึง, วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย) คือ, วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย) ความหมาย, วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย)

          16 สิงหาคมของทุก ๆ ปีเป็น “วันแห่งสันติภาพ” วันสำคัญของชาติไทยประเภทที่ไม่ใช่วันหยุดราชการ อย่างเป็นทางการตามประกาศของรัฐบาลไทยเมื่อปี 2538 ในยุคนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก (ปี 2535 – 2538) อันเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของวันที่ 16 สิงหาคม 2488

ความเป็นมาวันแห่งสันติภาพ

          วันที่ท่านปรีดี พนมยงค์ ในพระปรมาภิไธยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประกาศสันติภาพให้แก่ประเทศไทย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงอย่างเป็นทางการ 1 วัน ถือเป็นหนึ่งในคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อประเทศไทยประการหนึ่งที่ท่านปรีดี พนมยงค์ได้บำเพ็ญไว้ ขณะดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในทางเปิด และหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในทางลับ เป็นการทำให้ประเทศไทยไม่ต้องเป็นผู้แพ้สงคราม

          นับแต่วันที่กองทัพญี่ปุ่นยาตราเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อเช้าวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ท่านปรีดี พนมยงค์ก็นัดหมายบุคคลใกล้ชิดมาหารือกันในตอนค่ำวันเดียวกันทันทีที่บ้านถนนสีลม บรรลุหลักการจัดตั้งขบวนการกู้ชาติเพื่อต่อต้านศัตรูผู้รุกรานอธิปไตยขึ้นในทันที เพราะเชื่อว่าโดยรัฐบาลไทยในขณะนั้นมีแนวโน้มที่จะยอมรับเป็นพันธมิตรกับผู้รุกรานด้วยความจำเป็น ขบวนการกู้ชาติในชั้นต้นใช้ชื่อว่าองค์การต่อต้านญี่ปุ่น !

          ภารกิจมีอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ต่อต้านญี่ปุ่นผู้รุกรานโดยพลังคนไทยผู้รักชาติทั้งในประเทศและต่างประ เทศ รวมทั้งร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร คืออังกฤษและสหรัฐอเมริกา และที่สำคัญคือจะต้องปฏิบัติการเพื่อให้สัมพันธมิตรเห็นและรับรองในเจตนารมณ์อันแท้จริงของคนไทยด้วย

          เมื่อรัฐบาลไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในวันที่ 25 มกราคม 2485 ภารกิจของขบวนการกู้ชาติก็เพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง คือจะต้องปฏิบัติการเพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยจะไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และการผ่อนหนักเป็นเบาหลังสงครามยุติ ที่ตั้งในชั้นต้นของกองบัญชาการของขบวนการกู้ชาติอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เนื่องเพราะท่านปรีดี พนมยงค์ยังคงดำรงตำแหน่งผู้ศาสน์การอยู่และอยู่ใกล้กับบ้านพักรับรองของท่านบริเวณท่าช้าง

          บ้านพักรับรองที่เคยเรียกขานกันในยุคนั้นว่า “ทำเนียบท่าช้าง” นั้นปัจจุบันได้รับการจำลองแบบมาสร้างไว้บนเนื้อที่ 150 ไร่แบ่งออกมาจากสวนน้ำบึงกุ่มที่มีอยู่ 360 ไร่ เพื่อเป็นหอเกียรติภูมิและเกียรติประวัติระลึกถึงวีรกรรมของสมาชิกขบวนการเสรีไทย อันเป็นดำริเริ่มต้นจากทายาทสมาชิกขบวนการเสรีไทยและสมาชิกขบวนการเสรีไทยที่ยังเหลืออยู่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2533 โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีพอสมควรจากกรุงเทพมหานครในยุคนั้น เพิ่งจะสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา

เหรียญสันติมาลา

          แต่เมื่อจัดสร้างเสร็จแล้ว ยังไม่ทันที่จะมีพิธีแจกเหรียญอย่างสมเกียรติ ก็เกิดการรัฐประหารอันเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของประวัติศาสตร์การเมืองไทยขึ้นเสียก่อนในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในยุคนั้น ตัดสินใจ “รับเชิญ” จากคณะทหารขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ระยะหนึ่งก่อนที่จะจำใจ “รับเชิญ” ให้ลาออกไปในเวลาไม่นาน  แต่ระหว่างที่บริหารประเทศอยู่นั้น รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์สั่งระงับการแจกเหรียญสันติมาลาและสั่งให้เอาเหรียญดังกล่าวที่ทำไว้เสร็จสรรพแล้วส่งให้กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ยุบหลอมทำเป็นเหรียญสลึงเหรียญห้าสิบสตางค์ใช้ไปให้หมด

          ท่านปรีดี พนมยงค์ลี้ภัยไปยังต่างแดน และเสียชีวิตนอกมาตุภูมิในที่สุดเมื่อปี 2526

ที่มา www.aksorn.com



อาคารเสรีไทยอนุสรณ์

          ส่วนบริเวณพื้นที่โดยรอบ และถนนด้านหน้า ก็ได้รับการขนานนามขึ้นมาใหม่ก่อนหน้านี้แล้วเพื่อให้สอดคล้องต้องกัน“สวนเสรีไทย”“ถนนเสรีไทย”ท่านปรีดี พนมยงค์กระทำการครั้งนั้นเพื่อชาติโดยแท้ ไม่มีวาระซ่อนเร้นเป็นผลประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะตัวแอบแฝงงานของขบวนการเสรีไทยเป็นไปในลักษณะเฉพาะหน้า เฉพาะกิจ เฉพาะกรณีเมื่อจบภารกิจก็ยุติบทบาทสลายกำลัง - วางอาวุธ ! 

          ต้องเข้าใจนะครับว่าเสรีไทยสมัยนั้นมีอาวุธทันสมัยจำนวนมากที่ได้รับจากฝ่ายสัมพันธมิตร ซุกซ่อนไว้ตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมการจับอาวุธลุกขึ้นสู้พร้อมกันทั่วประเทศ แต่บังเอิญสงครามยุติลงเสียก่อน วันจับอาวุธเลยไม่เกิดขึ้น และเสรีไทยก็ไม่ได้ใช้อาวุธนั้นมายึดอำนาจทางการเมือง

          ในการสวนสนามของพลพรรคขบวนการเสรีไทย ณ ถนนราชดำเนินกลางเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2488 ที่ท่านปรีดี พนมยงค์เป็นประธานในพิธีนั้น มีกองกำลังเสรีไทยเข้าร่วมประมาณ 8,000 คน พร้อมด้วยอาวุธทันสมัยที่ได้รับจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา คำปราศรัยอันเป็นประวัติศาสตร์ของท่านผู้เป็นประธานมีอยู่ตอนหนึ่งว่า 

          “เราทั้งหลายได้ถือเป็นหลักเป็นคติในการรับใช้ชาติครั้งนี้ว่า เรามุ่งจะทำหน้าที่ในฐานะที่เราเกิดมาเป็นคนไทย ซึ่งจะต้องสนองคุณชาติ เราทั้งหลายไม่ได้มุ่งหวังทวงเอาตำแหน่งในราชการมาเป็นรางวัลตอบแทนการกระทำทั้งหลาย ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือหมู่คณะใด แต่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของคนไทยทั้งมวล การกระทำคราวนี้มิได้ตั้งเป็นคณะหรือพรรคการเมือง แต่เป็นการร่วมงานกันประกอบกิจเพื่อให้ประเทศไทยได้กลับคืนสู่สถานะก่อนวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484......

          “วัตถุประสงค์ของเราที่ทำงานคราวนี้มีจำกัด และมีเงื่อนเวลาสิ้นสุด กล่าวคือเมื่อสภาพการณ์เรียบร้อยลงแล้ว ก็จะเลิก สิ่งที่เหลืออยู่ในความทรงจำของเราทั้งหลายก็คือ มิตรภาพอันดี ในทางส่วนตัวที่เราได้ร่วมรับใช้ชาติด้วยกันมา โดยปราศจากความคิดที่จะเปลี่ยนสภาพองค์การให้เป็นคณะหรือพรรคการเมือง”

          รัฐบาลในยุคนั้นประกาศพระราชกฤษฎีกาสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นมาเพื่อมอบให้แก่สมาชิกขบวนการเสรีไทย เพื่อเป็นการตอบแทนวีรกรรม ตอบแทนความเสียสละที่ร่วมรับใช้ชาติในภาวะคับขัน

วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย), วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย) หมายถึง, วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย) คือ, วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย) ความหมาย, วันแห่งสันติภาพ (วันสันติภาพไทย) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu