ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day), วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day) หมายถึง, วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day) คือ, วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day) ความหมาย, วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day)

          สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีหลายประเภทและหลายระดับ รวมเป็นขบวนการสหกรณ์ของประเทศนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแตกต่างกันไป มองในภาพรวมเรียกได้ว่าเป็น "ขบวนการสหกรณ์โลก" มีการประชุมสมัชชาสหกรณ์ระหว่างชาติเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2438 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีมติก่อตั้ง องค์กรสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (องค์การ ICA : International Co-operative Alliance) เพื่อประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ.2538 องค์การ ICA จึงได้ปรับปรุงและ ประกาศหลักการสหกรณ์เป็น 7 ประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

           นอกจากนี้ องค์การ ICA ได้ประกาศให้สหกรณ์ทั่วโลกร่วมเฉลิมฉลองวันสหกรณ์สากลตั้งแต่ปี พ.ศ.2465 ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535 มีมติให้ วันเสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมทุกปี เป็น " วันสหกรณ์สากล "



ความเป็นมาของสหกรณ์

          ระหว่างศตวรรษที่ 18-19ได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรปมีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ คือเกิดภาวะการว่างงานและเศรษฐกิจตกต่ำ ทั่วไปการเปลี่ยนแปลง อย่างใหญ่หลวงครั้งนี้เริ่มต้นจากประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษต้องประสบกับปัญหา ความเดือดร้อนอย่างมากมาย จากการที่นายทุนใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน มีการปลดคนงานออกจากโรงงาน ส่วนผู้ประกอบ การรายย่อย ต้องเลิกล้มกิจการไป สภาพสังคมทั่วไปมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายนายทุน และทางฝ่ายกรรมการ นายทุนพยายามแสวง หากำไรจากการลงทุนมากที่สุดโดยการเอารัดเอาเปรียบ ฝ่ายกรรมกรทุกวิถีทาง

           จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ บรรดากรรมกรที่ถูกบีบคั้นทั้งหลายจึงเริ่มแสวงหาหนทาง ที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ยากของพวกตนประกอบกับเวลานั้นมีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความคิดอยากให้สังคมดีขึ้น จึงได้เสนอแนวทางปรับปรุงสภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม โดยการร่วมมือระหว่างผู้ที่เดือดร้อนให้รู้จักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แนวความคิดดังกล่าวได้ก่อให้เกิดระบบสหกรณ์ขึ้นในเวลาต่อมา

          บุคคลแรกที่สอนให้คนทั่วไปรู้จักคำว่า "สหกรณ์" คือ โรเบอร์ต โอเวน ชาวอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิด การสหกรณ์ขึ้นในโลก และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการสหกรณ์ เดิมโอเวนเป็นคนที่ยากจน แต่ความเฉลียวฉลาด และรู้จักวิธีการทำมาหากินจึงทำให้เขาได้มีโอกาสเป็นผู้จัดการและมีหุ้นส่วนเป็นเจ้าของโรงงาน เขาเป็นนายจ้าง ที่มีความหวังดีต่อกรรมกร จึงได้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ทั่วไปของคนงานให้ดีขึ้น  หลังจากนั้นโอเวนได้หาวิธีช่วยเหลือกรรมกรอื่นๆ โดยสอนให้รู้จักการช่วยตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อขจัดปัญหา ความเดือดร้อนต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการของระบบสหกรณ์ โอเวนเสนอให้จัดตั้ง "ชมรมสหกรณ์" (Co-operative Community) ให้ชมรมสหกรณ์นี้ผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆใช้เองโดยไม่ใช้เครื่องจักร ทรัพย์สินของชมรม เป็นของส่วนรวม เพื่อมิให้สภาพนายทุนปะปนอยู่ในชมรมการจัดตั้ง ชมรมสหกรณ์นี้ จะต้องใช้เงินทุน และที่ดินเป็นจำนวนมากและโอเวนก็ได้พยายามเผยแพร่แผนการจัดตั้งชมรมสหกรณ์ เพื่อให้คนทั่วไป ได้เข้าใจสหกรณ์ในฐานะสมาคมเพื่อเศรษฐกิจ

          แต่โอเวนยังไม่สามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ในประเทศอังกฤษได้เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพสังคมในสมัยนั้น โอเวนจึงได้เดินทางไปประเทศอเมริกา และทดลองจัดตั้ง ชมรมสหกรณ์ ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ นิวฮาโมนี รัฐอินเดียนา สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2368 ให้ชื่อว่า นิวฮาโมนี (New armony) แต่ได้ล้มเลิกไปในระยะเวลาต่อมา เนื่องจากไม่ได้คัดเลือกสมาชิกและไม่มีกิจกรรมเพียงพอให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย  นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการปกครองและศาสนา อย่างไรก็ตามแนวความคิดของโอเวนก็มีอิทธิพลต่อ นักปฏิรูปทางเศรษฐกิจ เขาได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับความร่วมมือร่วมใจระหว่างมนุษย์ ในอันที่จะช่วยตนเอง และช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันเพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น 

          อีกท่านหนึ่งคือนายแพทย์วิลเลี่ยม คิง อาศัยอยู่ในเมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้นิยมให้ความคิด ทางสหกรณ์ของโอเวน แต่เห็นว่าโครงการของโอเวนต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เป็นจริงได้ยาก นายแพทย์คิงจึงเริ่มต้นจากการชี้แจงให้คนงานรวมทุนกันคนละเล็กละน้อยตั้ง "สมาคมการค้า" (Trading Asosiciation) ในรูปสหกรณ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2370 เป็นรูปร้านสหกรณ์จำหน่ายสินค้า แต่มีข้อแตกต่างไปจากร้านสหกรณ์ในปัจจุบันคือ กำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของร้าน สหกรณ์นี้จะไม่นำมาแบ่งปันกันแต่จะเก็บสมทบ ไว้เป็นทุนเพื่อใช้ขยายงานของร้านสหกรณ์ต่อไป จนสามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ตามแบบโอเวนได้ ซึ่งจากการกระทำ ดังกล่าวทำให้ร้านค้าแบบสหกรณ์ในรูปแบบนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการ เก็บกำไรทั้งหมดไว้ไม่จ่ายคืน แก่สมาชิก ทำให้สมาชิกไม่ศรัทธาสหกรณ์ อย่างไรก็ตามกิจการของนายแพทย์คิง ก็คล้ายกับร้านสหกรณ์ในปัจจุบัน ฉะนั้นในวงการร้านสหกรณ์สมัยนี้จึงให้เกียรติแก่ท่านมาก 

          ต่อมาเมื่อมีสมาชิกเพิ่มและธุรกิจการค้าขยายใหญ่ขึ้นก็ได้มีการทำธุรกิจกับบุคคลภายนอกด้วย นักสหกรณ์รอชเดล หรือที่เรียกกันว่า"ผู้นำแห่งรอชเดล" ได้กำหนดหลักปฎิบัติไว้ 10 ประการ ซึ่งมีสาระสำคัญ หลายประการที่ถูกยึดถือ เป็นหลักสหกรณ์สากลมาจนถึงปัจจุบันแม้เวลาจะล่วงเลยมาเป็นเวลานานแต่ร้านสหกรณ์รอชเดลก็ยังคงอยู่และกลายเป็นร้านที่มีขนาดใหญ่ ยิ่งกว่านั้นวิธีการของร้านสหกรณ์สำหรับผู้บริโภค แบบนี้ ได้เผยแพร่หลาย ออกไปสู่ ประชาชนกลุ่มอื่นๆปัจจุบันร้านสหกรณ์ที่ถือหลักการสำคัญๆอย่างเดียวกันนี้ มีอยู่ในประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก

          ส่วนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ เช่น สหกรณ์ที่ช่วยเหลือสมาชิกให้กู้ยืมเงินไปทำทุน หรือสหกรณ์เครดิตหรือ สหกรณ์สินเชื่อก็เช่นเดียวกันสหกรณ์เหล่านี้เกิดจากความขัดสน และความเดือดร้อนของเกษตรกรและกรรมกร เนื่องจากหาเงินกู้ยืมมาประกอบการทำมาหากินได้ยาก และแม้ว่าจะกู้มาได้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพงจนไม่สามารถ หารายได้มาให้เพียงพอกับการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นได้ เป็นเหตุให้มีหนี้สินมาก

          เมื่อปี พ.ศ. 2393 นายเฮอร์มัน ชูลซ์ ชาวเยอรมัน ผู้พิพากษาแห่ง เมืองเดลิตซ์ ได้คิดจัดตั้งสหกรณ์ ประเภทหาทุนขึ้นในหมู่ชาวเมือง ผู้เป็นช่างฝีมือและพ่อค้าขนาดเล็กโดยรวบรวมขึ้นเป็นองค์การเพื่อ จัดหาทุนให้สมาชิกกู้ยืม และในปี พ.ศ. 2405 นายฟริดริค วิลเฮล์มไรฟไฟเซน ชาวเยอรมัน นายกเทศมนตรี เมืองเฮดเอสดอร์ฟ ได้จัดตั้งสหกรณ์ หาทุนขึ้นในหมู่ชาวชนบท ซึ่งเป็นเกษตรกรโดยจัดเป็นองค์การเพื่อจัดหาทุน ให้แก่สมาชิกกู้ยืมเช่นเดียวกัน ในเวลาต่อมาการรวมกันเป็นสหกรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ก็ได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ อันเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่างในการจัดตั้งสหกรณ์แก่ชาวบ้านและชาวเมืองมา จนถึงปัจจุบัน



สหกรณ์แรกของโลก

          ความลำบากยากแค้นของผู้ใช้แรงงานในโรงงานทอผ้า ณ เมืองรอชเดล ประเทศอังกฤษที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ จากการซื้อสินค้าเชื่อรวมกับดอกเบี้ยสูง และการจ่ายค่าจ้างเป็นสิ่งของเป็นแรงผลักดันให้มีการรวมตัวกันแสวงหาทางรอดตามวิธีสหกรณ์ คือ ร้านสหกรณ์ รอชเดล โดยสมาชิกผู้ก่อตั้ง มีข้อตกลงร่วมกันในหลักเกณฑ์ที่เรียกว่า กฎ 10 ประการ และกฎนี้เป็นแม่บทของหลักการสหกรณ์ สหกรณ์นี้จึงได้รับ การขนานนามว่าเป็น สหกรณ์แรกของโลก

          การดำเนินงานของ สหกรณ์ รอชเดล ไม่เพียงแต่ช่วย เหลือซึ่งกันและกันในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะด้านการศึกษา เพราะเป็นที่เข้าใจกันในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการศึกษาเพราะเป็นที่เข้าใจกันดีว่าผู้ใช้แรงงานมีความรู้น้อย การศึกษาจึงเป็นความจำเป็น โดยได้เปิดสอนในวิชาการต่าง ๆ แก่สมาชิกในยามว่าง ก็คือ เวลากลางคืน จึงเรียกว่า   " โรงเรียนกลางคืน "

ที่มา https://clt.or.th/main.html


วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day), วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day) หมายถึง, วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day) คือ, วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day) ความหมาย, วันสหกรณ์สากล (International Cooperatives Day) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu