ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี), สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) หมายถึง, สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) คือ, สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ความหมาย, สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
วัดระฆังโฆษิตาราม
สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
 
ภูมิลำเนาเดิม - (ไม่ปรากฏ)
วันประสูติ - (ไม่ปรากฏ)
วันสถาปนา - พ.ศ.๒๓๒๕ ในรัชกาลที่ ๑
วันสิ้นพระชนม์ - เดือน ๕ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๓๗ ในรัชกาลที่ ๑
พระชนมายุ - (ไม่ปรากฏ)
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๑ ปีเศษ



การสังคายนาพระไตรปิฎก

          พ.ศ. ๒๓๓๑ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชประสงค์จะให้รวบรวมและสังคายนาพระไตรปิฎกที่กระจัดกระจายครั้งเสียกรุงให้ถูกต้องและครบสมบูรณ์นั้น สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ก็ได้รับสั่งให้ประชุมพระราชาคณะ ที่วัดบางหว้าใหญ่ ทรงเลือกพระราชาคณะได้ ๒๘ รูป และราชบัณฑิตยาจารย์ ๓๒ คน ทำสังคายนาที่วัดนิพพานาราม(คือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) โดยจารึกลงในใบลานใหญ่ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้ปิดทองทึบทั้งหน้าปกและหลังปก ทรงโปรดให้เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับทอง” ซึ่งได้เป็นหลักของพระไตรปิฎกฉบับในสมัยหลังต่อๆ มา ซึ่งได้มีการชำระและพิมพ์ขึ้นอีกหลายครั้ง

          สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) นับว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีความรอบรู้ในศาสตร์คัมภีร์เป็นอย่างสูง เป็นประธานสงฆ์ทำสังคายนาพระไตรปิฎก นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๓๓๗ เดือน ๕ รวมเวลาอยู่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๑ ปี เศษ

ข้อมูลจาก เว็บไซต์มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์



การปกครองคณะสงฆ์

          การปกครองคณะสงฆ์ในสมัยเริ่มต้นของกรุงธนบุรีเป็นไปด้วยสันติสุข ด้วยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงอุปถัมภ์กับสนับสนุนทุกวิถีทาง แต่พอเข้าปลายยุคกรุงธนบุรี การพระศาสนาก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสติฟั่นเฟือน ทรงถอดสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ออกจากตำแหน่ง บ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนไปทุกหนแห่งจนกระทั่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(ทองด้วง)ได้เข้ามาแก้ไขเหตุการณ์บ้านเมืองให้กลับสงบลง และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แล้วทรงจัดการให้บ้านเมืองอยู่ในสภาพปกติและเจริญขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในด้านพระพุทธศาสนา ในปีที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัตินี้ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ได้รับสถาปนาดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอีกครั้งหนึ่ง การพระศาสนารุ่งเรืองขึ้นมาก


พระประวัติเบื้องต้น

          สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านก็เคยทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมาแล้วครั้งหนึ่ง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแต่ในขณะนั้นเกิดความวุ่นวายกันไปทั่วทั้งราชอาณาจักรและพระพุทธจักร ท่านจึงต้องพ้นจากตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไประยะหนึ่ง

          สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) แต่เดิมคงจะเรียกว่าพระอาจารย์ศรี ทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดพนัญเชิง อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์ วัดวาอารามถูกเผาวอดวาย  พระภิกษุสามเณรต่างก็พากันหลบภัยไปอยู่ตามวัดต่างๆ ในต่างจังหวัด  พระอาจารย์ศรีก็ได้หลบภัยไปจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนครศรีธรรมราช ที่ซึ่งพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด

          ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๒   สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงยกทัพไปปราบก๊กเจ้านคร ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองนครศรีธรรมราช จึงได้อาราธนาพระอาจารย์ศรีขึ้นมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดบางหว้าใหญ่ (ปัจจุบัน คือ วัดระฆังโฆสิตาราม) เนื่องด้วยทรงคุ้นเคย และรู้จักเกียรติคุณของพระอาจารย์ศรี มาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้น พระอาจารย์ดีทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ก่อน แต่ต่อมาภายหลัง  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบว่า พระอาจารย์ดีเคยบอกที่ซ่อนทรัพย์ ของผู้อื่นให้แก่พม่าเมื่อเวลาถูกขังอยู่ จึงโปรดให้ถอดออกจากตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช แล้วทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ขึ้นแทน


สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี), สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) หมายถึง, สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) คือ, สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ความหมาย, สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu